ผู้เขียน หัวข้อ: พระครูมงคลรังษี (หลวงปู่ครูบาก๋ง) วัดศรีมงคล อ.ท่าวังผา จ.น่าน  (อ่าน 12044 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด


ชาติภูมิ

พระครูมงคลรังสี นามเดิมชื่อ พรมา นามสกุล ไชยปาละ บิดาชื่อ นายธนะวงศ์ ไชยปาละ มารดาชื่อ นางอูบแก้ว ไชยปาละ เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๕ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๑๓ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ณ บ้านดอนมูล ตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว จังหวัดน่าน
มีพี่น้องร่วมบิดามารดา จำนวน ๔ คน
พระครูมงคลรังสี
นายยืน ไชยปาละ (ถึงแก่กรรม)
นางบัวเขียว พินิจทะ (ถึงแก่กรรม)
นางตึง ไชยปาละ อายุ ๗๐ ปี

การศึกษา

การศึกษาเบื้องต้น หลวงปู่ได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประชาบาลบ้านดอนมูล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จากนั้นก็ได้เรียนหนังสือไทยล้านนา และไทยกลาง ณ วัดดอนมูล จากพระในวัดเป็นผู้สอนให้จนสามารถอ่านออกเขียนได้คล่อง

การบรรพชา

บรรพชาเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๕๙ ขณะเมื่ออายุได้ ๑๔ปี โดยมีพระอิทธิยศเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านดอนมูล

การอุปสมบท

อุปสมบทเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี หลวงปู่ต้องไปคัดเลือกทหาร จึงได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณไว้ว่า “ถ้าข้าน้อยได้คัดเลือกชั้นที่ ๑ ก็จะขอเป็นทหารรับใช้ชาติตลอดไป แต่ถ้าข้าน้อยคัดเลือกได้ชั้นที่ ๒ ก็จะขออุปสมบทเป็นพระภิกษุตลอดชีวิต จะไม่ขอลาสิกขาเพศ จะขออยู่รับใช้พระศาสนาจนดับขันธ์ คงสืบเนื่องจากบุญวาสนา ซึ่งหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัดมาโดยตลอด จึงคัดเลือกได้ที่ ๒ในวันรุ่งขึ้นของวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๖๖ หลวงปู่จึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนมูล โดยมีพระอิทธิยศ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระพรหมวาท เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอินต๊ะวงศ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้นามฉายา ว่า “มงคโล ภิกษุ”


การศึกษาและการปฏิบัติธรรม

เมื่อได้อุปสมบทแล้ว หลวงปู่ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน และถวายตัวเป็นศิษย์ครูบาหลวงพุทธวงศ์ ครูบาอุปละ ครูบาญาณะวัดสวนดอก ครูบาก๋าอาธะวัดไฮ่สบบั่ว ครูบากิตต๊ะวงศ์ ครูบาอินต๊ะ ครูบาบ้านส้าน ครูบาขัตติยะ วัดร้อง ได้ศึกษาและปฏิบัติอยู่เป็นเวลา ๒ ปี จึงได้อำลาครูบาและอุปัชฌาย์ โดยแจ้งความจำนงที่จะออกไปบำเพ็ญเพียร ตามป่าเขาลำเนาไพรด้วยตนเอง เพื่อให้กายวิเวก ได้ออกธุดงค์ไปตามป่าเขาในจังหวัดน่าน แล้วออกทะลุป่าดงใหญ่ไปยังจังหวัดเชียงราย เชียงตุง แล้ววกกลับมาทางเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตามป่าเขาอันเงียบสงบ และในป่าช้าใช้หลุมฝังศพเป็นที่ปฏิบัติธรรมอยู่เป็น เวลา ๖ ปี


การเผยแพร่ธรรมและการปกครอง

สืบเนื่องมาจากหลวงปู่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรมอย่างเคร่งครัด ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ คณะศรัทธา ชาวบ้านก๋ง ในขณะนั้น มีจำนวน ๑๕ หลังคา ได้ส่งตัวแทนไปนมัสการหลวงปู่ โดยแจ้งความจำนงให้หลวงปู่ทราบว่า “มานิมนต์หลวงปู่ไปประจำที่วัดบ้านก๋ง เพราะเป็นวัดร้าง ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษา ให้ชาวบ้านได้ทำบุญสนทานกันหลายสิบปีแล้ว ศีลธรรมของชาวบ้านเริ่มเสื่อม มีการฉกชิง วิ่งราว ปล้นสดมภ์ ฉุดคร่าอนาจารอยู่เสมอ” หลวงปู่จึงรับนิมนต์และมาอยู่จำพรรษาบนกุฏิร้างมุงหญ้าคา ซึ่งมีอยู่หลังเดียวเท่านั้นในบริเวณวัด ตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมผุพัง เป็นป่าทึบมืดครึ้ม มีเสือลายพาดกลอน และเสือโคร่ง ปรากฏให้เห็นอยู่เสมอ แต่ด้วยกระแสแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ได้แผ่เยือกเย็นไปทั่วบริเวณกว้าง ความโหดร้ายและปรากฏตัวให้เห็นก็สูญหายไปในที่สุด ชาวบ้านที่รุ่มร้อนเบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันเกินกว่าที่ผู้ใหญ่บ้านจะปกครองได้ ด้วยบุญบารมีแห่งเมตตาธรรมของหลวงปู่ที่ได้อบรมชาวบ้านทุกวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ แต่มีชาวบ้านบางคนยังขาดความสามัคคี เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นพกแต่ความโลภะ โทสะ และโมหะ หลวงปู่จึงได้สร้างพระพุทธรูปและประกาศแก่ชาวบ้านให้ทุกคนนำปอยผมของแต่ละคนมามอบให้ แล้วหลวงปู่ก็นำเอาปอยผมของทุกคนบรรจุไว้ในฐานพระ ในพิธีบรรจุปอยผมไม่ว่าเด็กเล็กชายหญิง คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าคนแก่ มาพร้อมเพียงกันทุกคน แล้วหลวงปู่ก็ประกาศว่า ต่อแต่นี้ไปชาวบ้านก๋งผู้ใดขืนกระทำความชั่ว พระพุทธรูปจะไม่ให้ความคุ้มครองเป็นอันขาด แต่ถ้าผู้ใดทำความดีละความชั่ว ให้หมั่นเข้าวัดรักษาศีล ฟังธรรม พระพุทธรูปจะให้ความคุ้มครองแก่เขาเหล่านั้น ให้มีแต่ความสุข ความเจริญ อายุยืนนาน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปรากฏว่าบ้านก๋งเริ่มเป็นดินแดงแห่งความร่มเย็น ชาวบ้านต่างก็มี เมตตาธรรม มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว เลิกอบายมุขทั้งหลายจนหมดสิ้น ทั้งกลับมาฝึกกรรมมัฎฐานกันทั้งหมู่บ้าน จนทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของหลวงปู่ขจรขจายไปทั่วทุกหมู่บ้านทั้งจังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๘ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยความสำนึกในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เพื่อต้องการให้กุลบุตรของพุทธศาสนิกชนได้บรรพชาและอุปสมบทสบทายาทพุทธศาสนา หลวงปู่ต้องเดินทางไปทำการบรรพชาและอุปสมบทให้ด้วยความลำบากตรากตรำในท้องที่ตำบลยม ตำบลอวนและตำบลศิลาเพชร ซึ่งเป็นท้องที่ป่าเขาลำเนาไพร ทุรกันดาร ต้องเดินทางนอนพักแรมกลางป่า บางครั้งก็ต้องใช้ม้าเป็ นพาหนะในการเดินทาง
เมื่อวันที่ ๕ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่พระครูมงคลรังสี ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นโทในนามเดิม เจ้าคณะตำบลยม

การทะนุบำรุงวัด

เนื่องจากวัดก๋งเป็นวัดรกร้างมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษาเมื่อหลวงปู่ได้รับนิมนต์ชาวบ้านมาอยู่จำพรรษาประจำที่วัดแล้ว หลวงปู่ได้เริ่มปลูกฝังจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจของชาวบ้านก่อน ต่อมาเมื่อชาวบ้านคลายความรุ่มร้อน ชาวบ้านมีศีล มีเมตตาต่อกัน มีหลวงปู่เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน หลวงปู่ก็ได้ชักชวนชาวบ้านบูรณะซ่อมแซม และสร้างกุฏิ พระวิหาร พระอุโบสถ ชาวบ้านจะช่วยกันบริจาคทรัพย์และร่วมแรงกันทำการก่อสร้าง หลวงปู่จะบริจาคทรัพย์ส่วนตัว สมทบทุนในการก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ โดยมิได้หวังสะสมไว้เป็นของส่วนตัว จนกระทั่งในบั้นปลายของชีวิตบรรดาสานุศิษย์ต่างก็มีความประสงค์จะให้หลวงปู่ได้พักผ่อน ทุกคนต่างก็ร่วมมือกันสร้างกุฏิหลังใหม่ สร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ เป็นการน้อมถวายแก่หลวงปู่ เพื่อเป็นบุพการีบูชา อยากจะให้หลวงปู่มีชีวิตยาวนานเป็นมิ่งขวัญของสานุศิษย์ทั่วหน้า

 

อวสานแห่งชีวิต

หลังจากคณะศิษย์ได้สร้างกุฏิ และได้ทำการถวายแด่หลวงปู่แล้ว ก็มีการสร้างพระเจดีย์บรรจุพระธาตุ ซึ่งหลวงปู่ได้ทนุถนอมไว้เป็นเวลาอันยาวนาน พิธีบรรจุได้กระทำพร้อมกับวันสืบชะตาอายุครบ ๘๗ ปี ของหลวงปู่ เสร็จการจัดงานนมัสการพระธาตุแล้ว หลวงปู่เริ่มมีอาการป่วยเกี่ยวกับหลอดลมและความชราภาพ พระอาจารย์มนตรี ธมมเมธี ก็ได้พาไปตรวจรักษาหลายครั้ง จนกระทั่งเกินขีดความสามารถของแพทย์ที่จะทำการเยียวยา และให้การรักษาได้ แต่หลวงปู่มิได้แสดงอาการเจ็บปวดหรือบ่นแม้แต่น้อย คงมีสุขภาพจิตสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้เรียกศิษย์ผู้ใกล้ชิด พร้อมกับสั่งพระอาจารย์มนตรีไว้ทุกประการ และขอมอบสังขารให้สานุศิษย์เก็บไว้ที่วัดศรีมงคล ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่ได้บูรณะซ่อมแซม ได้ทำการฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมนานัปการ ได้สร้างชาวบ้านให้เป็นชาวพุทธ ในวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงปู่ได้ขอร้องให้สานุศิษย์นำหลวงปู่ไปส่งที่วัด เมื่อหลวงปู่ได้ถึงวัด ชาวบ้านก็ได้มาต้อนรับอย่างคับคั่งหลวงปู่อยู่ ๒-๓ วัน หลวงปู่ก็จากไปด้วยอาการอันสงบ ต่อหน้าสานุศิษย์ผู้ที่เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข เคยบุกป่าผ่าดอยมาด้วยกัน ในวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒ เวลา ๐๑.๓๐ น. 



ครูบาท่านไม่ธรรมดาครับ มรณะภาพ ตั้งแต่ปี 32 สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย ต่อมาได้รับพระราชทานเพลิงศพไปในปี 42

พระเครื่องของหลวงปู่...บางส่วน









ขอขอบคุณ...nanamulet.com

ออฟไลน์ ~@เสน่ห์เอ็ม@~

  • ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย พระคุณบิดามารดาผู้มีพระคุณ แล ครูบาอาจารย์ผู้เกื้อหนุน สาธุ..
  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 5894
  • เพศ: ชาย
  • ศิษวัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
กราบมนัสการ พระครูมงคลรังษี(หลวงปู่ครูบาก๋ง) ด้วยครับ

ขอบคุณพี่ธรรมมะรักโขมากครับ สำหรับข้อมูลและความรู้ดีๆ แบบนี้