:059:บทความนี้เป็นแนวคิด สำหรับการใช้ชีวิตประจำวัน ในสังคมอันหลายหลาก ซึ่งมาจากคำปรารภของ "cho" จึงจัดให้
:054:มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม คือต้องมีการรวมกลุ่ม และอยู่ร่วมกัน เป็นกลุ่มก้อน ตามเชื่อชาติและสายพันธ์ และภูมิภาค จากกลุ่มเล็กไปสู่กลุ่มใหญ่ และเมื่อมากคนก็มากความ เพราะทุกคนต่างเคารพความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งความคิดเหล่านั้นเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่สามารถจะคิดได้ เพราะความคิดเป็นเรื่องของภายใน อยู่ในใจไม่มีใครรู้ แต่ที่เกิดมีปัญหาก็เพราะว่าการนำเสนอ การแสดงความดิคเห็นออกมา
ต่อสาธารณะ เพราะอาจจะไปกระทบกับความคิดเห็นของผู้อื่น
หลักการในการแสดงความคิดเห็นนั้น มันต้องเริ่มที่เรา คือตัวเราต้องหาเหตุผลมารองรับความคิดของเราเสียก่อน (ทำไมเราต้องมีความคิดเห็นเป็นอย่างนี้อย่างนี้ และจะมีผลอย่างไรถ้าเรานำเสนอไป) และเมื่อเรานำเสนอไป เราต้องทำใจต่อผลกระทบที่ตามมา(ถ้ามีความเห็นที่แตกต่างกัน) เราต้องเคารพในสิทธิส่วนบุคคลของเขา ที่เขาสามารถจะคิดเห็นที่แตกต่างไปจากเราได้ แล้วเอาความคิดที่แตกต่างกันมาประสานหาจุดที่ลงตัว โดยใช้เหตุและผล (คงความคิดของทั้งสองฝ่ายไว้ อย่าไปทำลายหรือตัดทิ้ง)แล้วมองหาสิ่งที่เป็นจุดกลางระหว่างความคิดทั้งสองฝ่าย แล้วเราจะได้ความคิดที่ลงตัว (ไม่มีฝ่ายใดเสีย มีแต่ได้ทั้งสองฝ่าย)
สรุปแล้วมันก็คือเราต้องมีสติ ในการคิดการกระทำ คือต้องคิด ก่อนที่จะพูด (ต้องสรุปความคิดของเราให้ได้ก่อนที่จะนำเสนอ) ถ้าเราไม่เผลอสติ การคิดการกระทำก็จะมีความรอบคอบยิ่งขึ้น และจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้มากขึ้น เมื่อเราเข้าใจตัวเราได้แล้ว เราก็จะเข้าใจผู้อื่นได้เช่นกัน
ความคิดเห็นของแต่ละคนนั้น เกิดจากวัยวุฒิ คุณวุฒิ พื้นฐานของครอบครัว สังคมรอบข้าง และอารมณ์ความรู้สึกของเขาในขณะนั้น
ถ้าเราเข้าใจในเรื่อง"จิตวิทยาของมนุษย์"เราจะเข้าใจในเหตุผลของแต่ละคนที่แตกต่างกัน และสิ่งนั้นจะไม่สร้างความแตกแยก จากความเห็นที่แตกต่าง แต่จะเป็นพลังในการขับเคลื่อนไปสู่ความก้าวหน้า เพราะว่าเราจะได้มุมมองใหม่ๆ ในความที่แตกต่างกัน และมันจะเกิดการพัฒนาทาง
ความคิดขึ้นต่อไป"ความขัดแย้งคือแรงหลัก...ที่จะผลักให้กงล้อก้าวไกล"
:054:เชื่อ เมื่อคิด พินิจ และศึกษา
มั่น คงมา เมื่อเห็น เป็นเหตุผล
ศรัทธา มี อย่างเพียงเห็น เป็นของตน
สามัคคี จะชี้ชน สู่ทางชัย
:054:อ่อน เมื่อพบ ลมแรง อย่าแข็งขืน
น้อม แล้วยืน ขึ้นสู้ สู่วันใหม่
ถ่อม ลงหา ประชา อย่างมงาย
ตน ควรมี ความหมาย ต่อสังคม...
:059:เชื่อมั่น-ศรัทธา-สามัคคี-อ่อนน้อม-ถ่อมตน
ด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต
รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๒๗ น. ณ ศาลาน้อยริมฝั่งโขง ชายแดนประเทศไทย