เชือกคาดเอวหลวงพ่อโชติ รุฬหผโล วัดตะโน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
**ขอซักนิดนึง หลวงพ่อโชติท่านพื้นเพเป็นคนทางฉะเชิงเทรา ภายหลังต่อมาใด้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดตะโน พระเครื่องที่ท่านสร้างมีความเชื่อกันว่าพุทธคุณสูง ผู้ใหญ่หลายคนเล่าให้ฟังว่าท่านเสกพระบนพื้นกระดานจนพระที่ท่านเสกปลิวว่อนไปหมด
เชือกคาดเอวที่ท่านสร้างขึ้นมาท่านสร้างตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ.2480 กว่าฯขึ้นไป และแจกให้ทหารไปรบ ใครก้อตามที่ใด้รับเชือกคาดจากท่านไปต่างแคล้วคลาดรอดกลับมาทุกราย ตำราเท่าที่ทราบเชือกที่นำมาทำนั้นต้องเป็นผ้าห่อศพ และต้องเป็นศพตายโหง ตายวันเสาร์ เผาวันอังคารจึงจะครบถ้วนตามตำราเก่า เมื่อใด้แล้วต้องนำไปซักน้ำค้างกลางหาว (อันนี้ผมไม่สามารถแปลความหมายใด้) 2 ครั้ง จึงนำมาลงอักขระปลุกเสกและถักเข้าด้วยกัน ตรงปลายเป็นตัวผู้ตัวเมีย ปลุกเสกเสร็จแล้วจึงโยนเข้ากองไฟเส้นไหนไม่ไหม้จึงถือว่าใช้ใด้
ศิษย์ที่สืบทอดวิชาเชือกคาดของท่านมาเท่าที่ทราบก้อมีหลวงปู่พวง ภัททติสโส เจ้าอาวาสรูปต่อมา และท่านพึ่งละสังขารไปไม่นานนี้ ผมเคยใด้คุยกับท่านฯว่าเคยสร้างเชือกคาดเหมือนกันแต่ไม่เยอะนัก สมัยผมไปขอความเมตตาให้ท่านทำท่านอายุมากแล้วทำไม่ไหวน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
ปัจุบันที่วัดตะโนไม่มีเชือกคาดมานานแล้วเนื่องจากไม่เคยมีการทำจำหน่ายจะทำให้เฉพาะผู้ที่มาขอเป็นครั้งคราวไป
ระลึกถึงหลวงปู่โชติ และพระอาจารย์พวง เสมอครับ