ตื่นเช้าทรงอารมณ์ปิติไว้....
ปฏิบัติตัวแบบสบายๆไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนเกินไป
ศรัทธาเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เสริมต่อ รักษาไว้ทันที
ใช้เวลาพักผ่อนด้วยการค้นคว้าตำราธรรมะ
ที่เป็นปริยัติเพื่อทำความเข้าใจในธรรมให้ถูกต้อง
ยกโพชฌงค์ ๗ ขึ้นมาพิจารณาตามลำดับชั้น
ไล่เรียงสภาวะธรรมขององค์โพชฌงค์ ๗
เชื่อมโยงไปสู่ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เป็นสัมปยุตตธรรม
พิจารณาอิทธิบาท ๔ ข้อวิมังสา ทบทวนใคร่ครวญ
การปฏิบัติที่ผ่านมา และสภาวะธรรมต่างๆของกรรมฐานแต่ละกอง
ที่ได้เคยปฏิบัติมาแยกแยะหมวดหมู่ของการปฏิบัติแต่ละอย่างได้ชัดเจน
เกิดสภาวะปิติเอิบอิ่มในธรรม....
การปรุงแต่งในปุญญาภิสังขารบางครั้งก็เป็นทุกข์ได้
เพราะว่าเกินความพอดีทำให้เกิดความฟุ้งซ่านได้
จะทำอะไรก็ตามต้องอยู่บนพื้นฐานของความพอดีและความเหมาะสม
ไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เป็นทุกข์เป็นโทษได้
จึงต้องพยายามควบคุมตวามคิคความอยาก
ให้อยู่ในกรอบในกฏเกณฑ์ของความพอดี
ประคับประคองจิตไว้ให้เป็นกุศลจิตตลอดเวลา
ทรงไว้ในอารมณ์ปิติกำหนดสติและสัมปชัญะ
พิจารณาธรรมตามดูตามรู้ตามเห็นในอารมณ์ที่เกิดขึ้น
ทำความรู้ตัวทั่วพร้อม โปร่ง โล่ง เบา สบาย เจริญในธรรรม...
:054:แด่โพชฌงค์ ๗ องค์ปัญญาตรัสรู้และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ที่เป็นสัมปยุตตธรรม
ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาในธรรม ปรารถนาดีและไมตรีจิต
รวี สัจจะ-สมณะไร้นาม-กลุ่มยุทธธรรมสัญจร
๗ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๖.๕๔ น. ณ ศาลาน้อยริมน้ำโขง ชายแดนประเทศไทย