เตือนสภาวะโลกร้อน และปัจจัยอื่นๆ เช่น การทำเขื่อน ทำเหมือง และสูบน้ำบาดาล
ล้วนเป็นสาเหตุทำให้พื้นที่ 2 ใน 3 บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำขนาดใหญ่ทั่วโลกเสี่ยงจมน้ำ รวมถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยาของประเทศไทย ซึ่งทรุดลงปีละ 2-6 นิ้ว เพราะผลจากการสูบน้ำบาดาล วาร สารเนเจอร์จีโอไซเอินซ์ ระบุว่า เจมส์ ซิวิตสกี จากสถาบันวิจัยขั้วโลกเหนือและเทือกเขาแอลป์ มหาวิทยาลัยโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา และคณะ เผยผลการศึกษาภาพถ่ายดาวเทียม พบว่า พื้นที่ร้อยละ 85 ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำใหญ่ 33 แห่งทั่วโลกเคยถูกน้ำท่วมหนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กินพื้นที่เสียหาย 260,000 ตารางกิโลเมตร มีผู้เดือดร้อนเกือบ 500 ล้านคน
ผลศึกษาชี้ว่า พื้นที่เสี่ยงอาจเพิ่มขึ้นอีกครึ่งหนึ่งภายในศตวรรษนี้หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
โดย ทวีปเอเชียจะเป็นภูมิภาคที่เดือดร้อนหนักที่สุด อย่างไรก็ตาม สามเหลี่ยมปากแม่น้ำทุกทวีปที่มีคนอาศัยหนาแน่นและทำการเกษตรล้วนเสี่ยง อันตราย ยกเว้นออสเตรเลียและขั้วโลกใต้ สำหรับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เสี่ยงจมน้ำมากที่สุดมี 11 แห่ง อาทิ เจ้าพระยาในไทย ไนล์ในอียิปต์ โรห์นในฝรั่งเศส แม่น้ำเหลืองในจีน แยงซีในจีน ส่วนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่เสี่ยงรองลงมามี 7 แห่ง เช่น คงคาในบังกลาเทศ อิรวดีในพม่า โขงในเวียดนาม มิสซิสซิปปีของสหรัฐ
" สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจะมีตะกอนมาสะสมตามธรรมชาติเมื่อน้ำในแม่น้ำเอ่อล้นแล้ว ท่วมกินพื้นที่กว้าง แต่มนุษย์มีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำหลายแห่งจมจากการทำเขื่อนกั้นต้น น้ำและเปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ ทำให้ตะกอนไม่ไหลลงมาสะสม และการทำเหมืองใต้ดินกับการสูบน้ำบาดาลมีส่วนทำให้สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจมเช่นกัน" ซิวิตสกี กล่าว
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด