ผมว่าด้านข้างของพระก็สำคัญ ไม่แพ้ด้านหน้า ด้านหลังนะครับ
เช่นหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง รุ่นแพ ๔ พัน
ลองมาดูด้านข้าง ซ้าย ขวา ดูบ้าง ท่านจะเห็นว่าพระหนามาก....
ภาพถ่ายด้านซ้ายขวานี้ หากพิจารณาตามลูกศรชี้ท่านจะเห็นตุ่มเนื้อล้น เกินออกมา เป็นวงกลมๆ ข้างละ 2 ตุ่ม (ในบางองค์ 2ตุ่มนี้แหว่งเข้าไปก็เคยเห็น เอาเป็นว่าไม่เรียบเสมอกัน ส่วนใหญ่หลายๆองค์ต้องเห็นวงกลม 2 วงนูนๆออกมา ส่วยน้อยในบางองค์จะแหว่งเข้าไปหน่อยนึง)
ลองมาดูด้านบนด้านล่างบ้าง
จะเห็นว่ามีตะกรุดฝังอยู่ โดยมากจะสังเกตไม่ยาก มองเห็นด้วยตาเปล่าชัดเจน
ด้านบนฝังตะกรุดทองคำแท้ 1 ดอก ทองคำแท้จะสุกใส ไม่หมอง ไม่มีรอยดำ ไม่มีคราบซึมออกมาที่เนื้อพระ
ด้านล้าง ฝังตะกรุดนาค 1ดอก และตะกรุดเงิน 1 ดอก อันนี้ต้องมีคราบ มีรอยดำ มีหมอง เพราะผ่านเวลามาหลายปีตั้งแต่ปี 2534
ดังนั้นเงิน และนาค ต้องดำไปหมด ส่วนมาก จะซึมออกมาเป็นคราบเขียวๆ ดำๆ 2 จุด
เนื้อพระ จะเป็นผงเกสร ท่านว่ากันว่าเหมือนเนื้อรุ่น แพพัน, แพ๒พัน และ แพ๓พัน
ผิวพระที่ไม่ได้ใช้จะมีคราบแป้งสีขาวเคลือบอยู่ พระที่ใช้แล้วคราบอาจจะหายไปเหลือแต่เนื้อพระสีน้ำตาลอมเหลือง แลดูเหมือนฉ่ำน้ำมัน
หากองค์ไหนตะกรุดทองคำที่ไม่ควรดำ ไม่ควรมีคราบเขียว กลับมีสีดำ หรือมีคราบเขียว หรือในทางตรงข้าม ตะกรุดที่ควรดำกลับไม่ยอมดำ ที่ควรมีคราบกลับหาคราบไม่เจอ หรือ ไม่มีแม้แต่ตระกรุด ก็ระวังของเก๊นะครับ
ปัจจุบันนี้เข้าใจว่ามีรุ่นย้อนยุคออกมา หลายวาระ หากยึดตามที่ผมว่าอาจพอช่วยแยกแยะได้ระดับหนึ่ง
ตำหนิเรื่องตุ่มด้านข้างใช้ดูรุ่นแพพัน, แพ๒พัน และ แพ๓พันได้ด้วย ท่านสอนมาว่าอย่างนั้น
แต่จะใช้ดูแพ๕พันไม่ได้ เพราะ แพห้าพันด้านข้างจะเรียบสนิทครับ
หมายเหตุ พระที่แสดงในภาพ ผมเช่ามาจากวัดพิกุลทองปี 2534 สมัยนั้นอาคารวัตถุมงคลของทางวัดจะตั้งอยู่ชั้น 2
ท่านใดมีคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน เชิญเลยครับ