ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร  (อ่าน 11934 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ธรรมะรักโข

  • มีสติ...กำหนดรู้...อยู่ที่จิต
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 749
  • เพศ: ชาย
  • ผู้รักษาธรรม
    • ดูรายละเอียด


หลวงพ่อเขียน ธมมฺรักขิโต วาจาท่านศักดิ์สิทธิ์ทั้งตลอดชีวิตที่ประพฤติปฏิบัติในทางกรรมฐาน โดยเคร่งครัดเฉพาะเวลาวิกาลแล้วมักจะนั่งสมาธิอยู่ค่อนคืนเป็นประจำ จำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร ตำบลวังงิ้ว อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร และมีอายุยืนถึง๑๐๘ ปี หลวงพ่อเขียน เมื่อครั้งครองเพศฆราวาสท่านมีชื่อว่า เสถียร

ชาติกำเนิด
       เกิดเมื่อ วันเสาร์ เดือน ๔ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๙๙ ที่บ้านตลิ่งชัน ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ บิดาชื่อ ทอง มารดาชื่อ ปลิด มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ หญิง ๒ ตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ เมื่อยังครั้งเยาว์วัย หลวงพ่อเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี เกิดศรัทธาอยากบวชเป็น สามเณร จึงขออนุญาตจากบิดามารดา ท่านจึงได้เข้าบรรพชา เป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่วัด ทุ่งเรไรในขณะที่เป็นสามเณร ได้ศึกษา อักขระสมัยกับท่านสมภาร พออ่านออกเขียนได้ และได้เรียน ภาษาขอม ควบคู่ไปกับภาษาไทย และเนื่องด้วยท่านมีความขยันหมั่นเพียร ในการเขียนอ่าน ท่าน สมภารจึง ได้เปลี่ยนชื่อจาก “เสถียร” มาเป็น “เขียน” นับแต่บัดนั้น สามเณรเขียนอยู่ในสมณเพศ จนอายุใกล้จะอุปสมบท ท่านได้สึกออกมาเป็นฆราวาส อยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ (พ.ศ. ๒๔๒๐) ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ วัดภูเขาดิน ใกล้กับแม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพระอาจารย์ประดิษฐ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอาจารย์สอน กับพระอาจารย์ ทองมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์

       เมื่อ หลวงพ่อเขียน อุปสมบทได้ หนึ่งพรรษา บิดามารดา ได้รบเร้าให้ท่านสึก เพื่อจะได้แต่งงานกับ หญิงสาวผู้หนึ่ง ที่บิดามารดาอยากได้มาเป็นสะใภ้ แต่หลวงพ่อท่านปฏิเสธ และเพื่อให้พ้นความยุ่งยาก ท่านจึงได้ออกเดินทาง ไปเยี่ยมญาติที่บ้านวังตะกู อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ในเวลาต่อเวลา ระยะนั้น ทางวัดวังตะกูขาด พระภิกษุที่จะจำพรรษา ในปีนั้น กำนันตำบลวังตะกูจึงนิมนต์ ให้ท่านจำ พรรษา ณ ที่นั้น ต่อมาท่านได้ไปศึกษา ปริยัติธรรม ที่วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี มี พระอาจารย์ทอง เป็นครูสอน ท่านอยู่วัดเสาธงทองถึง ๙ พรรษา หลวงพ่อก็อำลาพระอาจารย์ทอง เพื่อไปศึกษาต่อ ที่วัดรังษี กรุงเทพฯ มี เจ้าคุณธรรมกิตติ เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ อย่างเคร่งครัด นานถึง ๑๖ พรรษา แต่เมื่อวัดรังษี จะโอนจากวัดมหานิกาย เข้าเป็นวัด ธรรมยุตนิกาย ท่านไม่เต็มใจจะเปลี่ยนนิกาย จึงได้ออกจากวัดรังษี มาจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุรี อีกครั้งหนึ่ง ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดเสาธงทอง ได้ ๙ พรรษา กำนันตำบลวังตะกู และชาวบ้าน จึงได้เดินทาง ไปนิมนต์หลวงพ่อ ให้มาจำพรรษาที่วัด วังตะกู อีกวาระหนึ่ง หลวงพ่อ ก็รับนิมนต์ และได้ออกเดิน ทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ตั้งแต่บัดนั้น

อ้ายยักษ์เขียวกัดหลวงพ่อ
       หลวงพ่อเขียน มาอยู่วัดวังตะกูได้ไม่กี่ปี ผู้ใหญ่พลาย บ้านห้วยเวียงใต้ ได้นำม้าตัวเมียมาถวายหลวงพ่อตัวหนึ่ง และต่อมานายทอง บ้านเขาอีแร้ง ก็ได้นำม้าตัวผู้สีเขียว ค่อนข้างดุ ชื่อ อ้ายเขียวยักษ์ มาถวายหลวงพ่ออีก วันหนึ่ง หลวงพ่อเขียน จูงอ้ายเขียวยักษ์ ไปกินน้ำที่สระข้างวัด อ้ายเขียวยักษ์ เห็นสระน้ำอยู่เบื้องหน้าก็ออกวิ่งไปด้วยความคึกคะนอง แล้วนึกอย่างไรไม่ทราบ มันกลับวิ่งหวนเข้า มาหาหลวงพ่อ ตรงเข้าโขก และกัดท่านที่หน้าผาก ไหล่ขวา และหน้าอก จนหลวงพ่อล้มกลิ้งไป แต่จะหารอยแผลสักน้อยก็ไม่มี มีแต่รอยเขียวช้ำเท่านั้น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ พากันคว้าไม้จะเข้าไป ไล่ตี เจ้าเขียวยักษ์ แต่หลวงพ่อรีบลุกขึ้นและร้องห้ามไม่ให้ตีมัน ท่านบอกว่า “อ้ายเขียว มันลอง หลวงพ่อน่อ” วันรุ่งขึ้น หลวงพ่อได้นำหญ้าอ่อนไปกำมือหนึ่ง แล้วเป่าคาถา อึดใจเดียวก็ยื่นให้ เจ้าเขียวยักษ์กิน แล้วท่านยังยกข้าวเปลือกที่แช่ในถังน้ำ มาให้มันเป็นของแถมเสียอีก หลังจากเจ้าเขียวยักษ์ กินหญ้า อ่อน และข้าวเปลือกแล้ว มันก็ยืนนิ่งเฉย ปล่อยให้หลวงพ่อ ลงอักขระ ที่กีบเท้าทั้งสี่ข้าง อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าเขียวยักษ์เกิดหลุดเชือก ไปกินข้าวในนา ของมรรคทายกนวม มรรคทายกเกิด โมโห คว้าปืนลูกซองยาว ยิงเจ้าเขียวยักษ์ด้วยลูกเก้า (ลูกแบบแตกปลาย) ลูกปืนถูกเจ้าเขียวยักษ์ อย่างจัง แต่ไม่ระคายผิวเจ้าเขียวยักษ์เลย นางมาเมียมรรคทายกนวม เห็นดังนั้น ก็เกิดความ โมโหหนักขึ้น ถึงกับไปยืนด่าว่า หลวงพ่อด้วยถ้อยคำหยาบคาย ต่างๆ นานา หาว่าหลวงพ่อเลี้ยงม้า ไม่ดี ปล่อยให้ไปรบกวนชาวบ้าน ให้เดือดร้อนเสียข้าวเสียของ

หลวงพ่อท่านนิ่งฟังพักใหญ่ ก็บอกว่า “เอ็งทำเป็นด่าข้าดีไปเถอะ ระวังปากเอ็งจะเน่า” ต่อมาอีกไม่ กี่วัน นางมาได้เกิดป่วยเป็นโรคปากเปื่อย ถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อ จมขี้จมเยี่ยว เป็นที่น่าเวทนาแก่ผู้ ที่พบเห็น แต่เมื่อมีคนไปบอกหลวงพ่อ ท่านก็เมตตาสงสาร ได้ใช้ให้คนไปบอกนางมา ให้หาดอกไม้ธูป เทียน มาขอขมาท่านเสีย นางมาทราบแล้ว ก็รีบปฏิบัติตามทันที มิช้าก็หายป่วย ม้าของหลวงพ่อเขียน ที่เดิมมีเพียงตัวเมีย กับตัวผู้ คือเจ้าเขียวยักษ์นั้น ต่อมาก็ได้ผสมพันธุ์กัน จนถึง ปี ๒๔๗๗ ม้าก็เพิ่มจำนวนถึง ๗๐ ตัว ในจำนวนนี้ มันได้แบ่งพวกออกเป็น ๓ ฝูงๆ ละเกือบ เท่าๆ กัน ในฤดูแล้งม้า จะถูกปล่อยให้ไปหากินตามชายป่า หัวหน้าฝูงจะเป็นผู้นำ แต่ละฝูงจะอยู่ห่างกันไม่ เกิน ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พอตกเวลาเย็น มันก็จะทยอยกันกลับวัด เข้าคอกเองโดยไม่ต้องมีคนไป ไล่ต้อน ถ้าเป็นฤดูฝน หรือฤดูหนาว หลวงพ่อจะเอาข้าวเปลือกแช่น้ำ มากองหลายๆ กองให้ม้ากิน บางทีท่านก็เอาน้ำตาลปี๊บ ไปป้อนลูกม้า ท่านทำเช่นนี้เกือบจะเป็นประจำ ด้วยความเมตตา

มรรคทายกยักยอกเงินก่อสร้าง
      ขณะที่หลวงพ่อเขียน จำพรรษาอยู่ที่วัดวังตะกู ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น หลวงพ่อพร้อมด้วยพุทธบริษัท ได้ชวนกันสละทุนทรัพย์ ตามกำลัง และศรัทธา และได้ช่วยกันหาปัจจัย สร้างโบสถ์ กำแพงแก้ว ซุ้ม ประตู และเจดีย์ ตัวพระอุโบสถนั้นเพียงแต่ก่ออิฐ แต่ยังมิได้ฉาบปูน แต่ในระหว่างการก่อสร้าง มรรคทายกผู้หนึ่งเป็นผู้รักษาเงิน และบัญชี ได้ยักยอกเอาเงินก่อสร้าง อุโบสถไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยนำเงินไปซื้อไร่นา และปลูกบ้านเรือนใหญ่โต ทั้งได้ทำลายหลักฐานบัญชีเดิม แล้วทำบัญชีใหม่ปลอมแปลงแทน ครั้นถึงวันจ่ายค่าแรงงานก่อสร้างแก่นายช่าง หลวงพ่อ ก็เรียกปัจจัยจากมรรคทายกผู้นั้น แต่กลับได้รับคำปฏิเสธอย่างหน้าตาเฉย ว่าเงินที่ตนเก็บไว้ได้ถูก เบิกจ่ายไปหมดแล้ว เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น การก่อสร้างอุโบสถจึงได้หยุดชะงักลงทันที ชาวบ้านที่รู้เรื่องก็พากันมาถาม หลวงพ่อ ท่านบอกแก่พวกเขาเหล่านั้นว่า “ใครโกงปัจจัยสร้างโบสถ์ ไม่ว่า

รายไหนก็รายนั้น เป็น ต้องคลานขี้คลานเยี่ยว มันจะต้องฉิบหายวายวอด ถือกะลาขอทานเขากิน ไม่จำเริญสักคนน่อ” อยู่ต่อมาไม่นาน ความวิบัติก็บังเกิดขึ้นแก่มรรคทายกผู้นั้น กับภรรยา ตลอดจนลูกสาว ลูกชาย ด้วย เกิดการเจ็บป่วยได้ไข้ ขึ้นมาพร้อมกันในวาระเดียว เริ่มด้วยเกิดคันลูกนัยน์ตา รักษาอย่างไรก็ไม่หาย จนในที่สุด ตาบอดหมดทุกคน แม้หลานของมรรคทายกผู้นั้น ก็เกิดมาเสียลูกนัยน์ตาไปคนละข้าง ต้องทนทุกข์ทรมาน คลานขี้คลานเยี่ยว ดังหลวงพ่อท่านว่าไว้ไม่มีผิด ทองที่มีอยู่ ก็ถูกนำมาใช้จ่าย ในการรักษาจนหมดตัว ถึงกับขายไร่นา เพื่อนำเงินมาบำบัดรักษา และพลอยหมดสิ้นลงอีก ถึงกับต้อง จูงกันไปเที่ยวขอทานเขากิน ในที่สุด ก็ล้มหายตายจากกันไป ที่มีชีวิตอยู่ ก็ร่อนเร่ระเหระหน ไปคนละทิศละทาง จนสิ้นวงศ์วานหว่านเครือ ไม่มีเชื้อสายเหลือในตำบลวังตะกู แม้แต่คนเดียว !

       สมัยหนึ่ง มหาบุญเหลือ เจ้าอาวาส วัดชัยมงคล กับ มหาชั้น เจ้าอาวาส วัดท่าฬ่อ เดินทางไปเทศน์ ที่บ้านห้วยพุก เมื่อเทศน์จบ ก็ได้เวลาประมาณ ๔ โมงเย็นเศษๆ เข้าไปแล้ว จึงรีบออกเดินทางจาก บ้านห้วยพุก ฝ่าป่าฝ่าดงเรื่อยมา เพราะสมัยนั้นการสัญจรไปมา ต้องอาศัยการเดินเท้าเป็นพื้น ท่านเจ้าอาวาสทั้งสอง ไม่คุ้นกับเส้นทาง จึงเดินวกวนอยู่ในดงช้านาน บ้านช่องผู้คนก็ไม่ค่อยจะมี นานๆ จึงจะพบสักหลังหนึ่ง เมื่อชาวบ้านป่าช่วยชี้หนทางให้ ก็เดินกันจนเท้าระบมแทบจะไปไม่ไหว จนถึงเวลากลางคืน ก็ไปถึงตำบลวังตะกู ท่านมหาบุญเหลือ จึงบอกท่านมหาชั้นว่า คงจะต้องนอนพัก ค้างคืนกับหลวงพ่อเขียนก่อน เพราะจะเดินทางต่อไปจนถึงบางมูลนากไม่ไหว ท่านมหาบุญเหลือรู้จัก กับ หลวงพ่อเขียนดี เมื่อไปถึงวัด ได้พากันตรงไปกุฏิหลวงพ่อ ก็เห็นประตูหน้าต่างปิดหมด แลเห็น แสงไฟทางช่องลมสลัวๆ ท่านมหาทั้งสองจึงกระซิบกระซาบกันว่า “อย่าไปเรียกท่านเลย จะเป็นการ รบกวนท่านเปล่าๆ เรานอนข้างนอกหน้ากุฏิท่านนี่แหละ” ท่านมหาชั้นจึงเอนกายลงนอน ด้วยความ อ่อนเพลีย แต่ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียง หลวงพ่อเขียน ร้องทักมาจากในห้องว่า “โธ่เอ๋ย มหา ! เดิน หลงทางกันมาซิน่อ แย่เลยหนอ พักนอนกันเสียที่นี่ ไม่ต้องเกรงใจน่อ” พลางท่านก็เปิดประตูออกมาต้อนรับ

      เมื่อครั้งหลวงพ่ออยู่วัดวังตะกูนั้น ได้มีผู้นำสัตว์ป่าทั้งหลาย มาถวายอยู่เนืองๆ อาทิเช่น ลิง ชะนี เก้ง กวาง วัวแดง จระเข้ เป็นต้น โดยเฉพาะลูกกวางนั้น หลวงพ่อได้เอาเศษจีวรผูกคอไว้ เพื่อ ให้คนทั้งหลายได้รู้ ว่าเป็นกวางของวัด เจ้ากวางตัวนี้เติบโตขึ้นมา และเชื่องมาก มันมักจะติดตาม หลวงพ่อไปไหนๆ อยู่เสมอ บางคราวมันก็จะหนีท่านไปกินข้าว หรือเหยียบย่ำข้าวในนา ของชาวบ้าน เสียหายบ่อยๆ หลวงพ่อจึงนำไปให้ ท่านอาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณร เลี้ยงดูแทนท่าน ท่านได้บอก กับมันว่า “เอ็งไปอยู่กับ อาจารย์เทิน วัดสำนักขุนเณรน่อ แล้วไม่ต้องกลับมาหาข้าอีกน่อ” เมื่อหลวง พ่อให้ลูกศิษย์นำกวางไปให้ท่านอาจารย์เทินแล้ว ปรากฏว่าเจ้ากวางไม่เคยกลับมาที่วัดวังตะกูอีกเลย ทั้งๆ ที่วัดทั้งสองไม่ได้อยู่ห่างไกลกันเท่าใดนัก เมื่อกวางไปอยู่กับท่านอาจารย์เทินแล้ว ไม่ว่าท่านจะรับนิมนต์ไปที่บ้านใคร มันจะออกไปตามหาท่าน ถูกทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง ท่านจะออกไปจากวัด ขณะที่มันไม่ได้อยู่ในวัด แต่เมื่อมันกลับมา ก็จะออก ตามหาท่านอาจารย์ได้ถูกต้องทุกครั้ง อยู่มาวันหนึ่ง กวางออกไปหากินไกลวัด ในหมู่บ้านที่มันเคยไป ชาวบ้านไม่รู้ว่าเป็นกวางวัด นึกว่า เป็นกวางป่า จึงเอาปืนมาไล่ยิง แต่ไม่ถูกสักนัดเดียว เผอิญพวกนั้นเหลือบไปเห็นเศษจีวร ที่หลวงพ่อ เขียนผูกคอมันไว้ จึงรู้ว่าเป็นกวางวัด ก็ร้องบอกห้ามปรามกัน แต่กวางตกใจเสียงปืน มันก็วิ่งเตลิด ผ่านหน้าบ้านของชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นไม่รู้เรื่องราว ก็คว้าปืนลูกซองยิงสกัดออกไป ลูกปืนไปถูกลูก นัยน์ตาขวาของกวาง ถึงแก่ตาบอด แต่ต่อมาไม่ช้านาน เขาผู้นั้นไปตัดฟืนในป่า ถูกกิ่งไม้วัดเข้าที่ตา ข้างขวา ถึงกับตาแตก และบอดในเวลาต่อมา เป็นที่น่าอัศจรรย์... (ที่กรรมตามทันอย่างรวดเร็ว)
   
หลวงพ่อไปๆมาๆ
       หลวงพ่อได้อยู่วัดวังตะกู เป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้มีอาจารย์รูปหนึ่ง เดินทาง มาจากจังหวัดนครราชสีมา ได้มาขอพักอยู่ที่วัดวังตะกู ครั้นอยู่นานเข้าก็มีประชาชนนับถือมาก เลยถือโอกาสตั้งตัวเป็นเจ้าอาวาส โดยมีทายกบางคนให้การสนับสนุน จึงได้รื้อกุฏิปลูกใหม่ ให้เรียงเป็น แถว เป็นระเบียบ ดูจะเป็นการขับไล่หลวงพ่อเขียนทางอ้อม โดยเว้นกุฏิของหลวงพ่อ ทิ้งไว้ให้โดด เดี่ยวอยู่องค์เดียว นอกจากนั้นยังได้สร้างเชิงตะกอนเผาศพ ไว้ด้านทิศตะวันออก ใกล้ๆ กับกุฏิของ หลวงพ่อ เวลาเผาศพ กระแสลมก็จะพัดควัน และกลิ่นเข้าหากุฏิหลวงพ่อ จนตลบอบอวลไปหมด ทำ ให้ท่านได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะการเผาศพในสมัยนั้น กว่าจะไหม้หมดก็กินเวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้หลวงพ่อจะได้รับความทุกข์ทรมานเพียงใด ท่านก็ทนอยู่ได้โดยใช้ขันติธรรมไม่ยอมไปไหน อีกทั้ง ในขณะนั้น ทายกเก่าๆ ก็ตายเกือบหมดแล้ว ท่านจึงขาดที่พึ่ง ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ บ้านสำนักขุนเณร ขณะนั้นยังเป็น กำนันตำบลวังงิ้ว เป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทั้งมีความเคารพนับถือหลวงพ่อมาก จึงพร้อมกับ คณะทายก อุบาสก อุบาสิกา ได้พากันมานิมนต์หลวงพ่อ ขอให้ไปจำพรรษาที่วัดสำนักขุนเณร ซึ่งอยู่ห่างไกลจากวัดวังตะกู ประมาณ ๕ กิโลเมตร คณะที่ไปนิมนต์หลวงพ่อได้รับปากกับท่านว่า จะช่วยสร้างกุฏิให้พอเพียงกับพระ ภิกษุสงฆ์ ที่ติดตามท่านไปด้วย ทั้งจะสร้างคอกม้าให้กว้างขวาง พอที่จะบรรจุม้าทั้ง ๗๐ ตัวของหลวง พ่อ ได้อย่างสบาย หลวงพ่อได้มองเห็นเจตนาดี และเสียอ้อนวอนมิได้ ก็รับนิมนต์ไปอยู่วัดสำนักขุนเณร  ครั้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๓ หลวงพ่อจึงตัดสินใจที่จะไปจำพรรษาอยู่ที่วัดสำนักขุนเณร แต่ก่อนท่านจะจากไป หลวงพ่อได้ไปยืนทำสมาธิ ที่ใต้ต้นไม้ทุกต้น ภายในบริเวณวัดวังตะกู เสมือนหนึ่งท่านจะอำลา เทพยดา ที่ต้นไม้เหล่านั้น เพราะท่านอยู่ที่นี้มาถึง ๓๐ พรรษา เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย



หลวงพ่อไม่เปียกฝน
      เมื่อหลวงพ่อไปอยู่วัดสำนักขุนเณรแล้ว คณะทายกทายิกา วัดวังตะกู มีความอาลัย ก็พากันมานิมนต์หลวงพ่อให้กลับไปจำพรรษา ที่วัดวังตะกู ตามเดิม ด้วยความเมตตา ท่านก็กลับไปอยู่วัดวังตะกูอีก ๑ สัปดาห์ แล้วท่านก็ขอตัวกลับมาอยู่ วัด สำนักขุนเณร แต่นั้นมา สมัยหนึ่ง ท่านอาจารย์ประทุม สุนทรเกล้า เจ้าอาวาสวัดวังตะกูสมัยหนึ่ง ได้ไปกราบนมัสการหลวง พ่อเขียน ที่สำนักวัดขุนเณร ได้ขออนุญาตท่านหล่อรูป และสร้างเหรียญหลวงพ่อ โดยจะจัดพิธีพุทธาภิเษก ให้ประชาชนบูชา เพื่อหารายได้บูรณปฏิสังขรณ์ วัดวังตะกู หลวงพ่อก็อนุญาต ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น ทางคณะกรรมการได้นิมนต์ พระอาจารย์สำคัญๆ หลายรูปมาร่วมพิธีปลุกเสก เป็นอันมาก ในขณะประกอบพิธีอยู่นั้น ทั้งๆ ที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆหมอก ก็ปรากฏว่า... สายฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พระอาจารย์ต่างๆ ที่กำลังทำพิธีต้องหนีขึ้นกุฏิหมด เหลือแต่หลวงพ่อองค์เดียว กรรมการก็รีบเข้าไปนิมนต์ท่าน ขึ้นกุฏิหลบฝน แต่ท่านกลับบอกว่า ถ้าท่านลุกจากที่นี้อีกองค์หนึ่ง พิธีก็ เสียหมด ทั้งยังกล่าวต่อไปว่า “ฝนมันตกไม่นานหรอกน่อ เพียง ๕ นาทีเท่านั้นก็หาย เทวดาเขาให้ ฤกษ์ดีน่อ” บรรดากรรมการทั้งหลาย ได้ฟังหลวงพ่อบอกเช่นนั้น ก็คอยจับเวลาดู ครั้นได้เวลาครบ ๕ นาที ฝนก็หยุดตก ขาดเม็ดทันที ! ท่านอาจารย์ประทุมคิดว่า สายฝนกระหน่ำอย่างนี้ หลวงพ่อคงจะเปียกฝน โชกไปทั้งตัว จึงนำเอาผ้า ไตรไปถวายหลวงพ่อ เพื่อให้ครองใหม่แทนผืนเก่า แต่หลวงพ่อบอกว่า “ไม่ เปลี่ยนน่อ” ปรากฏว่า ผ้าไตรที่หลวงพ่อครองอยู่นั้น ไม่เปียกฝนแม้แต่น้อย และบริเวณที่ท่านนั่งอยู่ ไม่มีแม้แต่ละอองฝน ประดุจมีคนมากางกลดเฉพาะตัวท่านฉะนั้น ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ฝนตกแต่ในบริเวณวัดเท่า นั้น นอกเขตวัดออกไป ไม่มีฝนตกเลย แม้แต่เม็ดเดียว

หลวงพ่อถูกร้องเรียน
      เนื่องจากสัตว์ป่า ที่ชาวบ้านเขานำมาถวายหลวงพ่อ มีจำนวนมากขึ้นทุกที และสัตว์เหล่านั้นมักจะไป เหยียบย่ำพืชผลของชาวบ้าน ได้มีบุคคลบางคนเขียนบัตรสนเท่ห์ ร้องเรียนไปยังนายอำเภอ บางมูลนาก ทางอำเภอจึงส่งเรื่องให้เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรพิจารณา ทางเจ้าคณะจังหวัด ได้รับหนังสือจากนายอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งคณะกรรมการไปสอบสวนหลวงพ่อ เขียน ประกอบด้วยผู้ช่วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และมีปลัดอำเภอบางมูลนากร่วมด้วย ทาง คณะสงฆ์ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการ ไปสอบสวนให้ได้ตัวเจ้าทุกข์ ว่าเป็นความจริงตามคำร้อง เรียนหรือไม่ และให้สอบถามชาวบ้าน หากจะปลดหลวงพ่อเขียน จากตำแหน่งเจ้าอาวาส แล้วให้ พระที่อาวุโสรองลงมาเป็นเจ้าอาวาสแทน จะขัดข้องหรือไม่ เมื่อคณะกรรมการเดินทางไปถึงวัด ได้เรียกประชุมชาวบ้าน ในเบื้องต้น ปลัดอำเภอฯได้สอบถาม หลวงพ่อเขียนว่า “หลวงพ่อเลี้ยงสัตว์ และผสมพันธุ์ จนมีเป็นจำนวนมาก ใช่หรือไม่ ? ” หลวงพ่อตอบว่า “อาตมาไม่ได้เลี้ยง ชาวบ้านเขาพากันนำมาถวาย ขัดศรัทธาไม่ได้ก็รับไว้น่อ ทั้ง อาตมาก็ไม่ได้ผสมมัน พวกมันผสมกันเองน่อ” จากนั้น คณะกรรมการได้สอบถามหาตัวเจ้าทุกข์ผู้ร้องเรียน แต่ไม่มีผู้ใดแสดงตัวออกมา ครั้นคณะกรรมการสอบถามชาวบ้าน ถึงเรื่องจะเปลี่ยนตัวเจ้าอาวาส ว่าเห็นสมควรให้พระอาวุโสองค์ใด เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อเขียน ก็ไม่มีผู้ใดเสนอ เมื่อสอบถามต่อไปว่า ผู้ใดเห็นควรให้หลวงพ่อ เขียนเป็นเจ้าอาวาสต่อไป ปรากฏว่าชาวบ้านสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ ในที่สุดคณะกรรมการก็เอาผิด หลวงพ่อเขียนไม่ได้ และจำต้องให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

สร้างโรงเรียน
      หลวงพ่อเขียน พร้อมด้วยกำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ พร้อมด้วยอุบาสก อุบาสิกา และประชาชน ได้ ช่วยกันก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา ณ วัดสำนักขุนเณร หลายอย่าง ดังนี้ ๑. กุฏิหอสวดมนต์ ๒. หอประชุมสงฆ์ ๓. สร้างสะพานข้ามคลอง เชื่อมวัดกับหมู่บ้าน ๔. สร้างพระประธาน ๑ องค์ ๕. สร้างศาลาหลังใหญ่ กว้าง ๑๒ วา ยาว ๑๕ วา ๖. สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง เนื่องจาก กำนันเถาว์ ทิพย์ประเสริฐ ได้ยกที่ดินให้ เพื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียน หลวงพ่อเขียน ท่านได้มองเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงได้มอบปัจจัยจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทแก่ทางราชการ เพื่อสมทบในการก่อสร้างอาคารเรียนแห่งนี้ เมื่อโรงเรียนสร้างเสร็จ ทางราชการจึงได้ตั้งชื่อว่า โรงเรียนวัดสำนักขุนเณร (หลวงพ่อเขียนอุทิศ) เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งคุณความดีของหลวงพ่อ โรงเรียนแห่งนี้ เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้น ประถมปีที่ ๑ ถึง ประถมปีที่ ๗ (ปัจจุบันเหลือแค่ ประถม ปีที่๖) นับว่าหลวงพ่อได้ช่วยสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนของชาติ ให้เจริญก้าวหน้า ด้วยเมตตา ธรรมของท่านเป็นอย่างยิ่ง การเจริญกรรมฐานของหลวงพ่อนั้น ท่านมักจะปฏิบัติในเวลาดึกสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงรบกวน ชาวบ้านจำนวนมาก ไม่มีผู้ใดทราบ ว่าหลวงพ่อใช้เวลาเจริญกรรมฐานตอนไหน เพราะในยามค่ำคืน จะมีแสงไฟสลัวๆ ในกุฏิของหลวงพ่อเสมอๆ และมักจะดับเอาตอนรุ่งสางแล้ว ตามปกติในเวลากลางวัน ท่านก็ต้องออกมานั่งปัดเป่าความทุกข์ให้แก่ชาวบ้าน ที่พากันหลั่งไหลมา นมัสการไม่ขาดสาย ตั้งแต่เช้าจรดเย็นเป็นประจำ

ท่านถึงแก่การมรณภาพ
 แม้กระทั่ง เมื่อสังขารของท่าน ทรุดโทรมมาก แล้วก็มิได้เว้น หลวงพ่อเขียน มีโรคประจำตัวท่านอยู่โรคหนึ่ง นั่นก็คือ โรคหืด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานท่านเป็นอย่าง มาก เมื่อเวลาโรคกำเริบ แต่หลวงพ่อจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา เพราะท่านระงับด้วยขันติธรรม ต่อมา เมื่อท่านชราภาพมากขึ้นทุกขณะ ท่านฉันภัตตาหารไม่ค่อยจะได้ ทำให้เรี่ยวแรงหมดไปทุกที คณะกรรมการวัด และศิษยานุศิษย์ จึงได้นำหลวงพ่อไปรักษา ที่สถานพยาบาลในตลาดบางมูลนาก แต่ เนื่องจากความชรา และโรคกำเริบ สุดความสามารถของแพทย์จะรักษาท่านได้ ท่านก็ถึงแก่มรณภาพ ด้วยอาการสงบ ในคืนวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ เวลา ๒๓.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๑๐๘ ปี

หนีไม่พ้น
       หลวงพ่อเขียนท่านศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อท่าน มรณภาพไปแล้ว ดังเช่นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ได้มีคนร้าย ไม่ทราบจำนวนนำรถยนต์มาขน พระโมคคัลลาน์ และ พระสารีบุตร ที่หลวงพ่อเขียนได้หล่อไว้ ซึ่งประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดวังตะกู ประมาณ ๔๐ กว่าปี มาแล้ว ต่อมา พระอุโบสถพัง ทางวัดจึงย้ายไปประดิษฐานไว้ ในพระวิหารวัดวังตะกู พร้อมด้วยพระ ประธาน และรูปหล่อของหลวงพ่อ คนร้ายจำนวนดังกล่าว ได้ลอบไขกุญแจเข้าไปหามเอาพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ออกมาได้แล้ว แต่ยังไม่พ้นเขตวัด คนร้ายอีกจำนวนหนึ่ง เตรียมติดเครื่อง ยนต์คอยอยู่นอกวัด แต่กลุ่มที่อยู่ในวัด หาทางออกนอกวัดไม่ได้ รถที่อยู่นอกวัดก็เกิดขัดข้อง แก้ไข เท่าใดก็ไม่สามารถติดเครื่องยนต์ได้ คนร้ายที่ช่วยกันหามพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงจำเป็น ต้องนำพระทั้งสององค์ไปซุ่มไว้ ข้างที่บรรจุอัฐิ นายมานพ จันทร์พวง เหล่าคนร้ายทั้งหมด ได้กลับมา ที่รถ และ ช่วยกันแก้ไขรถ อยู่นานหลายชั่วโมง จนฟ้าเริ่มสาง เป็นเวลาที่ชาวบ้านจำนวนมาก มาตักน้ำในสระของวัด พอชาวบ้านมากันมากเข้า รถก็ติดพอดี คนร้ายไม่กล้าวกกลับไปขนเอาพระที่ซ่อน ไว้ จึงจำต้องขับรถหนีไป เมื่อคนร้ายไปแล้ว ชาวบ้านเห็นประตูวิหารเปิดอยู่ และไม่เห็นพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จึงนำ ความไปแจ้งแก่เจ้าอาวาส และช่วยกันหาอยู่นานก็ไม่พบ ในที่สุดเจ้าอาวาสวัดวังตะกู ได้จุดธูปเทียน บอกกล่าวแก่หลวงพ่อเขียน จึงได้พบพระ ถูกซ่อนไว้ในที่บรรจุอัฐิ... อำนาจจิตอันมหัศจรรย์ของหลวงพ่อเขียน ยังมีอีกมากมาย และเป็นเรื่องเล่าขานสืบต่อกันไป ควบคู่ กับคุณงามความดีของท่าน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านบางมูลนาก จนตราบเท่าทุกวันนี้ 


 
 
ขอขอบคุณที่มา...http://www.luangporthob.com/forum/index.php?topic=437.0

ออฟไลน์ berm

  • สิ่งที่ควรทำคือความดี..สิ่งที่ควรมีคือคุณธรรม..สิ่งที่ควรจำคือ...บุญคุณ
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1008
  • เพศ: ชาย
  • อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตรระวังวาจา
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ก.ค. 2553, 09:45:15 »
 :054:พระอาจารย์มีประวัติของพระเกจิอาจารย์สมัยเก่ามานำเสนอเยอะแยอะเลย..ดีครับชาวเว็ปเราจะได้มีข้อมูลของพระเกจิัทั่วประเทศไว้ศึกษา...ทั้งยังมีหลวงพ่อเปิ่นเป็นเกจิร่วมสมัยรวมอยู่ด้วย :054: :054: :054:กราบนมัสการครับ
ทุกคนย่อมมีปัญหาของตัวเองเกิดขึ้นตลอดเวลา  อยู่ที่ใครเลือกที่จะเดินหนีปัญหา...หรือเลือกที่จะแก้ไขปัญหา

ออฟไลน์ wiriyai

  • ผมรักพ่อแม่ ชาติศาสนารักในหลวงบูชาครู คือพ่อแก่
  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 118
  • เพศ: ชาย
  • เป็นลูกคนที่2 ของแม่
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร จ.พิจิตร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 19 ก.ค. 2553, 04:19:13 »
สุดยอดเกจิ อีกหนึ่งรูปที่เราได้รู้จักจากเพื่อนสมาชิก ขอบคุณครับ
อย่าอยู่อย่างสิ้นหวังถ้ายังมีพรุ้งนี้เสอม