ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อศรีแก้ว vs พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ  (อ่าน 18704 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด

 
พระอุปัชฌาย์ศรีแก้ว  พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2447
วัดอรัญวาสิการาม (ห้วยเงาะ) ต.ทุ่งพลา  อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี

  "บารมีธรรม"  ไม่ว่าจะไกลแสนไกล  จะใกล้แสนใกล้  บารมีธรรมก็คือบารมีธรรมย่อมไปถึงทุกแห่งหน
     บารมีธรรมเป็นของไม่ยาก  มองกันง่ายเห็นกันง่าย  แต่จะมีให้เห็น  จะมีให้มองหรือไม่นั้น  ไปอีกทำนองหนึ่ง  หากใครเจอะเจอพบเห็น  ถือได้ว่าบุคคลนั้นคนโชคดีคนหนึ่ง ในจำนวนอีกหลาย ๆ คน
      ผู้เห็นบารมีธรรม  จำนวนเท่าที่เห็นจริงนั้น   ส่วนใหญ่เจ้าของบารมีธรรมจะไม่อวดอ้างกลับอยู่นิ่งเฉย  บางสถานที่ถึงกับกับถ่อมองค์อย่างไม่น่าเกลียด  “ของจริงนิ่งเป็นใบ้”  และผู้พบเห็นบารมีธรรมจริง ๆ ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจของเขาเองว่า   “บารมีธรรมจะคงอยู่ในลักษณะอย่างไร”
    หลวงพ่อศรีแก้ว ท่านเปรียบประดุจดั่งช้างเผือก  การเจอะเจอคนหมู่มากย่อมน้อย  และหากใครได้เจอนับได้ว่ามีบุญวาสนาอยู่ในผู้นั้นมากพอสมควร  ไม่จำเป็นที่จะต้องถึงกับเป็นการสำคัญที่จะต้องเข้าไปสักการบูชา  กราบไหว้แนบชิดปลายจีวรกับตัวท่าน  แต่เพียงขนาดเหรียญบูชารูปเหมือนของท่านหากมีอยู่ถือได้ว่า  คนผู้นั้นเป็นผู้มีบุญอยู่ในข้อที่สามารถมีบานธรรมคุ้มครองตนเองอยู่แล้ว
    กล่าวเช่นนี้เนื่องเพราะว่า  วัตถุมงคลอันเป็นสิ่งทดแทนในบารมีธรรมของท่านหลวงพ่อศรีแก้วนั้น  กว่าจะมาเป็นหรือถึงจุดสูงพอจะรับบารมีธรรมเพื่อเป็นตัวแทนท่าน  ทุกอย่างต้องพิถีพิถัน  ถูกต้องตามกาลฤกษ์ตามประสาคนเฒ่าคนแก่บ้านนอกบ้านนา
   เพราะฉะนั้นทุกขั้นตอนการจัดทำจึงต้องประณีตละเอียดลออครบหลักสูตร  พระเกจิที่เข้ามานั่งปรก  นั่งแผ่เมตตาจิตมานั่งแผ่บารมีธรรม  “ไม่ว่าจะเป็นชั้นเทพยวิมานในที่องค์ ท่านแผ่ไปนั้น ถึงไหน ทุก ๆ องค์ย่อมรู้อยู่แก่ในจิตใจขององค์ท่านเองดี ”  ช้างเผือกย่อมอยู่ในป่า  (ลึก)
   วัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว  นับได้ว่าเป็นสิ่งวิเศษใหญ่หลวงแม้จะไม่เลอเลิศมากนัก  แต่ทุกสิ่งทุกอย่าง  ทุกขั้นตอนทั้งความมีบารมีธรรมในรูปเหมือนของวัตถุมงคลที่มีอยู่ในองค์ท่าน 

     อีกทั้งได้รับการนั่งปรกปลุกเสกจากพระเกจิผู้เพียบพร้อมในรูปขององค์ท่านอยู่แล้ว   พระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้วมีหลายรูปชื่อเสียงขององค์ท่านไม่ขจรขจายเป็นที่รู้จักของคนนอกพื้นที่มากนัก  แต่ท่านเหล่านี้แหละเป็นพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกในพิธีหลวงปู่ทวด  2497   วัดช้างให้   อยู่หลายรูป   แต่องค์ท่านเหล่านี้ไม่ยอมเปิดเผยองค์ท่านต่อสาธารณชน  คนนอกพื้นที่จริงไม่ทราบและไม่รู้จักองค์ท่านมากนัก  นี่คือรูลักษณะของความจริงในวัตถุมงคลของหลวงพ่อศรีแก้ว  คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนัก
     เป็นอย่างนั้นจริง ๆ  มีบทพิสูจน์ที่รู้และทราบกันในละแวกท้องถิ่นและชนแดนไกล หรือแม้แต่ชาวต่างชาติและต่างศาสนา  ที่เช่าหาวัตถุมงคลของหลวงพ่อไป  ก็พบพานอภินิหาริย์มากมายด้วยเช่นเดียวกัน  จะกล่าวให้ทราบในภายหลัง
    แม้ระยะทางจะไกลอยู่บ้างสำหรับพุทธชนทั่วแคว้นแดนไทย  ที่จะมาสักการะองค์ท่านด้วยตนเอง  ดังนั้นจึงมีการจัดทำรูปจำลองขององค์ท่านออกมาในรูปลักษณ์วัตถุมงคล  เพื่อให้บารมีธรรมแห่งองค์หลวงพ่อศรีแก้วที่มีอยู่  ถูกบรรจุในวัตถุสิ่งนั้นได้คุ้มครองช่วยเหลือทุกท่านที่อยู่ไกลแสนไกลอย่างไร้กังวล


ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
ประวัติวัดห้วยเงาะ
   วัดห้วยเงาะเป็นวัดโบราณ  สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2200   สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2319  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอรัญวาสิการาม” ตั้งอยู่ หมู่ 4  ต.ทุ่งพลา อ. โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี  มีเจ้าอาวาสถึงปัจจุบัน 7 รูป
เจ้าอาวาสรูปแรก คือ หลวงพ่อจันทร์
เป็นผู้อุปการะและบูรณะวัดห้วยเงาะ เป็นองค์ที่สร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติมในบางส่วนของวัด  หลวงพ่อจันทร์ ท่านสร้างทุกสิ่งทุกอย่างจาก “พลังศรัทธา”  หลวงพ่อจันทร์ เล่าสืบต่อกันมาว่าท่านเก่งด้านแพทย์แผนโบราณ และ  ไสยเวทย์มาก
เจ้าอาวาสรูปที่สอง คือ หลวงพ่อศรีแก้ว
ท่านเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อจันทร์  รับเอาวิชาอาคมต่าง ๆ ของหลวงพ่อจันทร์มาทั้งหมด
เจ้าอาวาสรูปที่สาม คือ พระอธิการชัย
เจ้าอาวาสรูปที่สี่ คือ พระอธิการพรหมแก้ว
ในสมัยนี้วัดห้วยเงาะได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการจาก “วัดทักษิณสาคร ” มาเป็น “วัดอรัญวาสิการาม”
เจ้าอาวาสรูปที่ห้า คือ พระครูไพศาลถาวรกิจ (พุฒ ฐานิโย) 
ในสมัยของพระครูท่าน ทางวัดช้างให้ได้จัดทำวัตถุมงคล รุ่นแรก เนื้อว่าน ของ สมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  2497  ซึ่ง พระครูท่านเป็นหนึ่งในพระเถระที่เข้าไปนั่งปรกอธิษฐานจิตในพิธีครั้งนั้น  ซึ่งถือได้ว่าเป็นพิธีที่ใหญ่มากทีเดียวในยุคเก่าก่อน และยังมีพระเถระที่เข้าร่วมพิธีอีกหลายรูปที่มิยอมให้เอ่ยถึงนามขององค์ท่าน

 ท่านพระครูไพศาลถาวรกิจ  เป็นพระเกจิที่ชาวบ้านยกย่องท่านในด้านไสยเวทย์ถือว่าท่านเป็นหนึ่งในทำเนียบยุคนั้นเลยทีเดียว
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 คือ พระครูพิทักษ์อรัญญาวาส ( พ่อท่านธี )
เจ้าอาวาสรูปที่ 7 คือ พระปลัดอุดม
เจ้าอาวาสรูปที่ 6 และ 7  ท่านเป็นศิษย์ของ พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ   
                 
   ประวัติหลวงพ่อศรีแก้ว
 ชาติกำเนิด
  หลวงพ่อศรีแก้ว  ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านโคกม่วง  อ.เทพา จ.สงขลา ท่านเกิดประมาณ พ.ศ. 2357  นามบิดามารดาไม่ปรากฏทราบแต่เพียงว่ามีพี่น้อง 5 คน แต่มีบันทึกไว้เพียง 3 คน คือ ปู่ทวดพรหมทอง ทวดพัดทอง  และหลวงพ่อศรีแก้ว
เยาว์วัย
  ตั่งแต่เยาว์วัยเป็นเป็นเด็กที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา  ขยันขันแข็ง  รักในการทำงาน  ชอบสันโดษอยู่กับธรรมชาติ  เมื่ออายุได้ 16 ปี  เด็กชายศรีแก้ว ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อจันทร์ วัดห้วยเงาะ (วัดทักษิณสาคร) ในสมัยนั้น  เล่าต่อ ๆ กันว่า หลวงพ่อจันทร์ ท่านเดินจากวัดห้วยเงาะ  ไปยังพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช  เพื่อเข้าพิธียิ่งใหญ่ของพระธาตุ ซึ่งในสมัยก่อนนั้น พระเกจิท่านรู้กัน “นิมนต์การทางจิต ”  หลวงพ่อจันทร์ท่านออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ  ในเวลาบ่าย 2 โมงเย็น ถึงในพิธี ณ พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ในเวลาเกือบจะ 4 โมงเย็นของวันเดียวกัน   ระยะทางจากวัดห้วยเงาะถึงพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ประมาณ 370 กม.  นับว่าอัศจรรย์มาก  เรื่องนี้เป็นที่โจษขานกันมากในยุคนั้น   หลวงพ่อจันทร์ท่านยังมีวิชาแปรธาตุสภาพวัตถุให้เป็นสิ่งมีชิวิตได้  วิชานี้ชาวบ้านทั่วไปจะเห็นกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อ ชาวบ้านนำของไปถวายแด่องค์ท่านหลวงพ่อจันทร์  เมื่อเข้าไปใกล้ ๆ ท่านเอ่ยวาจาว่า “นั้นสูเอาลูกไก่มาทำไม”  เมื่อชาวบ้านก้มมองของที่นำมาถวายแก่หลวงพ่อจันทร์  ณ  บัดนั้นได้กลายเป็นลูกไก่ร้องเจี๊ยบ ๆ   เสียแล้ว และเมื่อมองอีกอีกครั้งหนึ่ง  ลูกไก่เจี๊ยบ ๆ ได้กลายเป็นสิ่งของเหมือนเดิมเสียแล้ว  วิชานี้ หลวงพ่อทวดสีพุฒ  วัดกาโผะ  อาจารย์ใหญ่ของ หลวงปู่แดง  วัดศรีมหาโพธิ์  จ. ปัตตานี  เคยใช้หยอกศิษย์ท่านเหมือน  ในสมัยก่อนมีศิษย์ท่านได้นำภัตตาหารไปถวายหลวงพ่อทวดสีพุฒ   ท่านเอ่ยวาจาประมาณว่า “สูเอานกมาทำไมนั้น”  เมื่อศิษย์ท่านมองดูภัตตาหารได้กลายเป็น นกน้อยเสียแล้ว  และในบันดล นกน้อย ก็ กลายเป็นภัตตาหารเหมือนเดิม  นับว่าพระเกจิยุคเก่าก่อน  น่าอัศจรรย์กันทุกองค์ 
บรรพชา
เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์  นายศรีแก้วจึงได้รับการอุปสมบทในราว พ.ศ. 2378  ณ วัดห้วยเงาะ โดยมี หลวงพ่อจันทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอาจารย์หลวงปู่หิด  เป็นพระกรรมวาจาจารย์
   พระศรีแก้วเป็นพระที่ใฝ่หาในวิทยาคมและขยันหมั่นเพียร เมื่อเป็นพระภิกษุท่านได้ศึกษาเวทย์จากหลวงพ่อจันทร์  จนบรรลุในจุดที่สามารถจะไปไหนมาไหนได้อย่างอาจารย์เมื่อถึงจุดหนึ่งพระศรีแก้วจึงออกธุดงค์ เพื่อเสาะหาอาจารย์ที่เรืองเวทย์ในสถานที่ต่าง ๆ กัน  โดยไม่จำกัดว่าวิชาเหล่านั้นท่านได้มาจากเพศบรรพชิตหรือฆราวาส  ตามประวัติท่านออกธุดงค์เงียบหายไปเป็นเวลานานมาก  เงียบหายไปกับกาลเวลา
   พระศรีแก้ว กลับมาวัดห้วยเงาะอีกครั้งหนึ่ง  แต่ครานี้ท่านกลับกลายเป็น หลวงพ่อศรีแก้วผู้เข้มขลังด้วยพระเวทย์  เต็มเปี่ยมเมตตาปรานี  เพียบพร้อมด้วยไสยและโหราศาสตร์และวิชาแพทย์แผนโบราณ  แต่น่าเสียดายที่สมุดบันทึกมิได้กล่าวถึงรายนามพระอาจารย์ของท่าน  ที่ท่านออกธุดงค์ไปพบเจอพร้อมทั้งศึกษาไสยเวทย์  มาให้ชนรุ่นหลังได้ทราบ  ทราบแต่เพียงว่าท่านธุดงค์ไปถึง  ถ้ำผ่าปล่องสู่ถ้ำเชียงดาว  ระยะทางจากปัตตานี ถึง เชียงใหม่  ในเวลานั้นจะ

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
สุดยอดขนาดไหน ที่แน่ ๆ เส้นทางเมื่อ 100กว่า ปี ที่แล้วต้องเต็มไปด้วยป่าไม้รกทึบ ไข้ป่า สัตว์ป่านานาชนิดแน่นอน   พระเวทย์ของพระเกจิอาจารย์ในสมัยก่อนสุดหยั่งจริง ๆ  ยิ่งมีอยู่ในตัวเท่าไหร ยิ่งทำให้พระเกจิท่านนั้น ดูภูมิฐาน  อิ่มเอิบสดใส  คงเป็นไปได้ว่า พระเกจิสมัยก่อนนั้น ทุก ๆ ท่านหยั่งรู้ได้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และ อนาคต เป็นแน่แท้
     พระเวทย์อีกวิชาหนึ่งซึ่งประจักษ์แก่สายตาชาวท้องถิ่น คือ วิชาสั่งกระสุน (ธนู) วิชานี้ท่านเอาไว้ใช้ปราบเด็กอันธพาลเกเร  ที่ไม่เชื่อฟัง   ในสมัยต้องมีวิธีการที่ใช้ปราบเด็กเกเรให้เด็ดขาด  วิธี หลวงพ่อศรีแก้วท่านสั่งสอนแบบธรรมดา  คือ  ผู้ที่โดดลูกธนูของท่านก็จะไม่กระทำในสิ่งที่ผิดที่คิดจะกระทำอีก  และทราบด้วยว่ากระสุนนั้นเป็นของใครทุกคนที่โดนจะต้องเข้าไปกราบไหว้ท่านและต้องกลับตัวเป็นคนดีประสอบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย
   วิธีใช้ เมื่อท่านจะสั่งกระสุนไปโดนใคร (ลูกธนูดิน) ท่านจะนั่งบริกรรมพระคาถาอยู่ในกุฏิ  คนที่จะกระทำผิดก็จะโดดลูกธนู  พร้อมเสียงร้อง โอ๊ย ทุกคน
วิชาสั่งกระสุนนี้ ชาวบ้านในแถบถิ่นรู้กันดี ว่าถ้าใครโดด คือ หลวงพ่อท่านเตือนแล้ว อย่าได้บังอาจคิดกระทำผิดอยู่  ฉะนั้นในละแวกวัดจึงมีแต่คนคิดดี ทำดี
   หลวงปู่แดง  วัดศรีมหาโพธิ์  จ.ปัตตานี  เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับสายพระเวทย์ว่า “ วิชาไสยศาสตร์และคาถาอาคม เปรียญเหมือนมีดเราจะใช้ทำอะไรก็ได้ ฆ่าคน  ทำร้ายคนหรือนำมาเป็นประโยชน์ป้องกันตัว ช่วยคน ตัดไม้ทำอาหาร มีดมิใช่ว่าใช้ทำร้ายคนอย่างเดียว ประโยชน์ต่าง ๆ ก็มีมากมาย” 
เป็นพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อศรีแก้ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์  ในรัชสมัยราชที่ 4  หลวงพ่อได้ให้การบรรพชาและอุปสมบทแก่กุลบุตร  ผู้มีความศรัทธาอย่างกว้างขวางท่านต้องรับภาระหนักมาก  ทุกปีจะต้องเดินทางไกลโดยใช้ช้างเป็นพาหนะ  ช้างของท่านมีอยู่ 2 เชือก ชื่อ  อ้ายหนุน เป็นช้างพราย  และ  บูดาหยัง  เป็นช้างพัง
ทำงานพระศาสนา
หลวงพ่อผู้เปี่ยมด้วยเมตตาแก่ผู้เข้าสนทนาด้วยความปิติในศีลาจารวัตรว่า
“ตลอดชีวิตของกู  ทำนกบินหลาตาย  ตัวเดียว”
หลวงพ่อศรีแก้ว สมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ หลังจากวันเพ็ญวิสาขะมาศ ท่านก็จะออกเดินทางจากวัดห้วยเงาะ  โดยมีช้างเป็นพาหนะ  รอนแรมไปตามทาง  เพื่อให้การอุปสมบทแก่ชาวพุทธที่อาศัยอยู่ใน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี  ในสมัยนั้น กลันตัน  ปะริด  ไทรบุรี  ยังเป็นเขตแดนไทยอยู่  เพราะ หลวงพ่อศรีแก้ว  มีชีวิตอยู่ พ.ศ. 2357 – พ.ศ. 2447  แต่ไทยเสียดินแดน กลันตัน ปะริด ไทรบุรี ประมาณ พ.ศ 2451  เมื่อเสร็จภารกิจแล้ว  ก็จะเดินทางอ้อมกลับไปทางสงขลา
กว่าจะเดินทางมาถึงวัดห้วยเงาะ เป็นเวลาถึง 8 เดือน จึงให้การอุปสมบทแก่วัดค้างเคียงก่อน  และจะอุปสมบท ที่วัดห้วยเงาะ เป็นครั้งสุดท้าย หลวงพ่อท่านจึงอธิษฐานเข้าพรรษา
มรณภาพ
หลวงพ่อศรีแก้วทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในภาคใต้ของไทยตลอดจน กลันตัน  ปะริด  ไทรบุรี  จนกระทั่งได้ร่วงเลยมาถึงวัยชรา  ท่านได้ถึงกาลมาณภาพ ในวัย 90 พรรษา  พรรษาที่ 69
หลวงพ่อศรีแก้วได้มรภาพลงแล้วชาวพุทธผู้ศรัทธาในองค์หลวงพ่อก็หล่งไหลไปนมัสการกราบไหว้บูชา  บางคนมีเรื่องทุกข์ร้อน  ก็บนหลวงพ่อของความเมตตา หากสิ่งใดเป็นไปเพื่อความสุจริต  ก็จะสมปรารถสิ่งนั้นตามสมควร
    จึงมีคนพูดว่า   “บนพ่อท่านในหีบ”


ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
สถูปบรรจุอัฐิ
เมื่อฌาปนกิจหลวงพ่อแล้ว  พระอธิการชัย  พร้อมด้วยคณะญาติโยม  ได้ก่อสถูปเพื่อบรรจุอัฐิของหลวงพ่อศรีแก้ว  ก่ออิฐถือปูนทรงย่อแหลมย่อเหลี่ยม  เพื่อทางใต้ของพระอุโบสถเพื่อให้สาธุชน สืบไป   
เล่นซีละแก้บน
ซีละ คือ  ศิลปะการต่อสู้ของมลายู  การแสดงซีละ  จะมีการร่ายรำประกอบดนตรี  เป็นการแสดงมิใช่ต่อสู้จริง ( ถ้านำซีละมาต่อสู้จริงผู้ที่ชำนาญซีละสามารถใช้ซีละต่อกรกับมวยไชยา ได้อย่างเหมาะสมกัน ) หลวงพ่อท่านจะโปรดการรำซีละมาก จึงมีผู้คนมาบนกันมาก
ย้ายที่บรรจุสถูป
 หลวงพ่อพุฒ  เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะ  ในสมัยนั้น  ได้ทำการปฏิสังขรณ์อุโบสถ ตั่งแต่ พ.ศ 2500 – พ.ศ. 2505   อุโบสถหลังใหม่ก็สำเร็จ   จึงได้ย้ายอัฐิหลวงพ่อศรีแก้วไปไว้ใต้ฐานประธานพระอุโบสถ 
ปฐมบทแห่งการสร้างพระเครื่องหลวงพ่อศรีแก้ว
ในคืนของวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย พ.ศ. 2521  หลวงพ่อได้ปรากฏในฝันกับชาวบ้านห้วยเงาะผู้หนึ่ง  ชื่อ คุณบุญเรือน   ความว่า  คุณบุญเรือน ได้เดินทางเข้าไปในวัดห้วยเงาะเข้าไปใกล้อุโบสถ  ปรากฏเจอหลวงพ่อเฒ่ารูปหนึ่งลักษณะน่าเลื่อมใส  จนเกิดความปิติยินดีจนบอกไม่ถูก  ดวงตาท่านมีแววแห่งความเมตตาคล้ายจะทักทาย  จึงก้มลงกราบท่านด้วยความ
ศรัทธายิ่ง  พลางจ้องมองท่าน  เพราะไม่เคยเห็นมาก่อน
หลวงพ่อท่านกล่าวเป็นภาษาพื้นเมืองพร้อมชี้ไปที่สถูปเก่าของท่านว่า
“หมึงแลถีนุ้ย  กูอยู่ตากแดดตากฝนกูกะอยู่ได้  กูเอ็นดูสู  สูไปเตอะ  กูจิรักษา”
ผู้ที่ศรัทธาในหลวงพ่อศรีแก้ว  ต่างพูดกันว่า “หลวงพ่อยังอยู่  ยังรักษาเราอยู่”
วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว  ในสมัยนั้นมีการสร้างขึ้น 2 รุ่น  และจะกล่าวถึงแค่สองรุ่นด้วย คือ   รุ่นแรก  พ.ศ. 2522  และ รุ่นสอง พ.ศ. 2523
วัตถุมงคล หลวงพ่อศรีแก้ว รุ่นแรก  นับเป็นพระเครื่องรุ่นแรกของทางวัดห้วยเงาะ  เพราะทางวัดห้วยเงาะ ไม่เคยบันทึกเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลใด ๆ ไว้เลย  กำหนดฤกษ์ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2522 พิธีพุทธาภิเษกได้เริ่มขึ้นเมื่อได้ฤกษ์จุดเทียนชัย  เวลา 22.20น. พระคณาจารย์ผู้ทรงศีล9รูปนั่งปรก
พิธีเททองหล่อหลวงพ่อศรีแก้ว (เท่าองค์จริง)
โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  พระโศภนธรรมคุณ  วัดนาประดู่  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  โดบเริ่มพิธีเททองวันที่  10  มีนาคม  พ.ศ. 2522  เวลา 9.20 น. พระสงฆ์ 9 รูป เจริญชัยมงคลคาถา  ท่ามกลางประชาชนผู้มาร่วมพิธีเนืองแน่น
ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ
ขณะที่พิธีกรรมพุทธาภิเษกดำเนินไปท่ามกลางพระเกจิอาจารย์นั่งปรก  “แสงเทียนนวหรคุณ ณ แสงเทียนชัย แสงเทียนวิปัสสีที่กำลังปรกติธรรมดาอยู่ภายในปริมณฑณก็พวยพุ่งเป็นลำแสงขึ้นสู่เพดานพระอุโบสถอย่างน่าอัศจรรย์”  ท่ามกลางคณะพุทธบริษัทที่ตกตะลึงและขนลุกซู่ในพิธี
ได้มีพระรูปหนึ่งใช้กล้องวัด  ถ่ายภาพฟิล์มสีไว้ได้
วัตถุมงคลหลวงพ่อศรีแก้ว  รุ่นสอง
สร้างขึ้นเพื่อหาปัจจัยสำหรับสร้าง “วิหารจตุรมุข” เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อศรีแก้ว
โดยพุทธาภิเษก วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2523 ตรงกับวัน เสาร์ แรม5ค่ำ เดือน 5

  ของดีบางครั้งอยู่ไกลในป่าเขา  คนที่ศรัทธาจริง ๆ เท่านั้นที่โชคดีมีโอกาสเป็นเจ้าของ  การพระเครื่องของพระคณาจารย์ทางใต้นั้น  น้อยครั้งที่จะสร้างกัน  บางท่านก็ถ่อมตน  เพราะแกรงว่าจะเป็นการไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
   การสร้างพระเครื่องแต่ละครั้ง  จึงต้องพิจารณากันนาน  และเมื่อตกลงใจสร้างด้วยใจอันเป็นกุศลเป็นที่ตั้งไม่ใช่การค้า
   ดังนั้นพระเครื่องที่สร้างออกมาจะเปี่ยมล้น พุทธานุภาพ  ธรรมมานุภาพ   และ สังฆานุภาพ
ผู้ที่มีใช้ไว้ประจำตัวต่างพบเจอในบุญญาอภินิหารด้านต่าง ๆ เสมอมา  ตลอดเวลาที่ผ่านมาทางวัดไม่เคยได้ออกข่าว  จึงทราบกันในวงแคบ ๆ ละแวกจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น   


ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด


หลวงพ่อศรีแก้ว  (หลวงพ่อในหีบ)  บทตำนานแห่ง วัดห้วยเงาะ

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด


พ่อท่านเขียว   กิตติคุโณ  วัดห้วยเงาะ
พ่อท่านเขียว   “พลัง”
  ณ  แดนใต้เกือบใต้สุดสยาม   องค์พระเกจิอาจารย์ท่านหนึ่งอาศัยอยู่อย่างเงียบสงบ  ไม่มีอะไรโจ่งครึ้มเกินไป  มีแต่เฉพาะในแถบถิ่น  ที่ล่วงรู้ในความรอบรู้ทั้งด้านสมุนไพร และ สายพระเวทย์คาถา
  หลวงปู่เขียว  กิตติคุโณ  ในสมณศักดิ์ที่  “พระครูอนุศาสน์กิจจาทร”
  สมัยหนึ่งนั้นในแถบถิ่น  ใครมีอะไรเดือดร้อน  เจ็บไข่ได้ป่วยต่างมุ่งไปที่วัด เพื่อให้ หลวงพ่อ หลวงลุงรักษา   “พ่อท่านเขียว”  จึงได้รับการเรียกเสียงเรียงนามมา  และเริ่มกระหึ่มเมื่อ  “ของดี”  หลายอย่างใช้แล้วมีพลังลึกคุ้มครอง  ทั้งค้าขายร่ำรวยทั้งหน้าที่การงานรุดหน้า
  พ่อท่านเขียว ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาในจังหวัดยะลา เป็นบุตรคนที่จากจำนวนทั้งหมด 7 คน ดังนี้
1.นาย เชือน  เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
2.นาย แก้ว  เพ็ชรภักดี ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
3.พ่อท่านเขียว  กิตติคุโณ  ( นามเดิม เขียว  เพ็ชรภักดี )
4.นายชื่น  เพ็ชรภักดี    ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
5.นายแจ๊ก เพ็ชรภักดี    ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
6.นายสมใจ  เพ็ชรภักดี( ถึงแก่กรรมแล้ว )
7.นาง สาว เพ็ชรภักดี
ช่วงชีวิตในวัยเด็กของ พ่อท่านเขียว ท่านก็เหมือนเด็กชาวบ้านในต่างจังหวัดทั่วไป หลังจากเรียนจบ ป.4  บิดาได้ถึงแก่กรรม ท่านจึงต้องออกมาทำงานช่วยครอบครัว เพื่อเลี้ยงแม่และน้องๆ ซึ่งในเวลานั้นท่านก็สู้อดทนรับจ้างทำงานทุกอย่าง จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงตัดสินใจบวช ตามประเพณีนิยม ณ.วัดนางโอ (ปัจจุบันคือวัดบุพนิมิตร) อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี
พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2492 ณ.พัทธสีมา วัดนางโอ
โดยมี พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ เป็นพระอุปัชฌาย์
พระอธิการแดง ธมฺมโชโต  วัดนาประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระอธิการทอง จนฺทโชโต วัดภมรคติวัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พระอธิการดำ ติสสโร เจ้าอาวาส วัดนางโอในขณะนั้น เป็นประธานสงฆ์ พระสงฆ์หัตถบาส เป็นพระอาจารย์ ผู้ที่ประสิทธิ์ประศาสน์ วิชาความรู้ ให้พ่อท่านเขียวมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส
หลังจากครองผ้าเหลือง พ่อท่านเขียว ได้จำพรรษาอยู่วัดนางโอ โดยท่านได้ใช้เวลาว่างทั้งหมด เล่าเรียนการสวดมนต์ต่างๆ และรวมถึงการสวดภาณยักษ์ แบบฉบับของภาคใต้ กระทั่งพรรษา 2 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสุนทรบัญชาราม อ.รามัญ จ.ยะลา ครั้งถึงพรรษาที่ 3 พ่อท่านเขียว ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดนางโออีกครั้ง ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับ “ตาเลี่ยม”ฆราวาสที่เชี่ยวชาญ ด้านวิปัสสนา รวมทั้งศึกษาสรรพวิชาต่างๆจากผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคมอีกหลายท่าน
นอกจากนี้ พ่อท่านเขียวยังได้ศึกษาในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด ศึกษาด้านปริยัติธรรมบาลีไวยากรณ์และนักธรรม รวมถึงการสวดมนต์ สาธยายธรรม ด้วยเหตุนี้เอง พ่อท่านเขียวท่านจึงสามารถ สวดปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่ในพรรษาที่ 5   พ่อท่านเขียว สอบได้นักธรรมโทและต่อมา ท่านได้รับตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดนางโอ จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ในระหว่างนี้ท่านเองเป็นสหธรรมมิกกับ “พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ ” ด้วยความที่วัดอยู่ใกล้กัน ท่านทั้งสองจึงได้เคยร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรม และร่วมในพิธีกรรมต่างๆด้วยกันเสมอ
     แม้กระทั่งพ่อท่านเขียว  ยังเคยไปช่วยตำว่านยาต่าง ๆ ให้กับพระอาจารย์ทิม  เมื่อครั้งที่สร้างหลวงปู่ทวด  2497   อันโด่งดัง   คณะนั้นพระอาจารย์ทิมไม่ได้สร้างไว้เพื่อเช่า   แต่สร้างไว้เพื่อมอบให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญสร้างพระอุโบสถ
   เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2500 พ่อท่านเขียวได้ตรวจสอบธรณีสงฆ์รอบวัดนางโอ พบการรุกล้ำที่วัดของชาวบ้านละแวกวัด ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นไม่พอใจ กระทบกระทั่งกันหลายวาระ ในที่สุดหลวงพ่อเขียว จึงตัดสินใจ ออกจากวัดไปจำพรรษา ที่วัดภมรคติวัน และที่วัดนี้ก็มีปัญหาเดียวกันกับวัดนางโอ ท่านจึงย้ายวัดไปจำพรรษาที่วัดนาประดู่อีกครั้ง
    พ่อท่านเขียว  ท่านเป็นพระที่สงบ สมณะอยู่เรียบง่าย  ใครเคยเข้าไปในกุฏิของท่านจะเข้าใจกันดีครับไม่บรรยายมาก  ทางธรรมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลีจนแตกฉาน เป็นที่นับถือของประชาชนทั่วไป  ต่อมา เมื่อพ.ศ.  2522  พ่อท่านเขียว  ได้เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ 

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด




พ่อท่านเขียว  วัดห้วยเงาะ กับอิริยาบทแห่งพระเมตตา

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด


ณ  วัดช้างให้  ร่วมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป   ต่อมาพระเครื่องรุ่นนี้ ประชาชนส่วนใหญ่เรียกว่า รุ่น 24  ตามกล่องบรรจุพระที่สร้างขึ้นภายหลัง  พระเครื่องรุ่นนี้ ปัจจุบันเริ่มหายากและมีราคาแพง  ปัจจุบันพ่อท่านเขียว  ได้รับการอาราธนานิมนต์ไปปลุกเสกพระเครื่องทั่วประเทศไทย  โดยเฉพาะปัจจุบัน พ่อท่านเขียว  คือ  พระเถระผู้เฒ่าที่สำคัญในสายหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด  ที่ยังทรงสังขารอยู่เพียงไม่กี่รูปในประเทศไทยและแดนใต้  อาทิเช่น  หลวงปู่หวาน วัดสะบ้าย้อย  หลวงพ่อทอง  วัดสำเภาเชย  หลวงพ่อผัน  วัดทรายขาว  หลวงพ่อแสง  วัดศิลาลอย

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด


ภายหลัง  พ่อท่านสุธีร์  เจ้าอาวาส วัดห้วยเงาะ ในเวลานั้นจึงได้มานิมนต์พ่อท่านเขียวไปอยู่ที่วัดห้วยเงาะ เนื่องด้วยพรรษาท่านมากจะได้ดูแลและไม่ต้องพบกับภาระเหนื่อยหนักอีก พ่อท่านเขียวท่านเป็น พระสงฆ์ที่มัธยัสถ์อดออมและรักสันโดษ ท่านชอบการอ่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นด้านกฏหมายบ้าน เมือง การเกษตรกรรม โหราศาสตร์ สมุนไพรกลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้ พ่อท่านมีเมตตาสูงกับเหล่าศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหนไม่ว่าจะไกลหรือใกล้
    พ่อท่านเขียวเป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก  ไม่เคยยกตัวออดดี  และตั้งแต่บวชมาไม่เคยยึดติดในลาภยศ  สรรเสริญ   พ่อท่านเขียวได้เคยเล่าให้ศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า   พรรษาแรกที่ท่านบวชท่านได้ถูกขโมยรองเท้าไป  หลังจากนั้นมาท่านจึงเลิกส่วมรองเท้ามาจนถึงทุกวันนี้   
    พ่อท่านเขียว ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากในภาคใต้   ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องรับกิจนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลทั่วประเทศ  ทั้ง ๆ ที่ท่านก็ชราภาพมากแล้ว
      เหตุนี้เองทำให้ชาวบ้านและญาติโยม  จึงให้ความเคารพศรัทธาพ่อท่านเขียว   กันเกินคณานับในปัจจุบัน

ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
วัตถุมงคลวัดห้วยเงาะ








ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด






รุ่น Top ที่สุด วัดห้วยเงาะ



เมตตาลึก


ออฟไลน์ phattharaphong

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
    ข้อมูลส่วนใหญ่ คัดลอกมาจากหนังสือ พระอาจารย์เขียว  กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแผ่  ประวัติ  คุณงาม  ความดี  ของบูรพาจารย์ ให้ชนส่วนใหญ่ได้ทราบ และ มิให้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา
จึงขออณุญาติทางวัดห้วยเงาะ มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก  http://www.wathuayngoapattani.com/index.php