ความหมายของพานครูและข้อควรปฏิบัติ"พระ อาจารย์สักหรือครูสัก" มีความหมายว่า ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อันหมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคนๆหนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคนๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็กๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน
พานครูประกอบไปด้วย"ธูป ๓ ดอก"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระพุทธ(พระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า3ประการ)
พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
"เทียน ๒ เล่ม"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระธรรม(คำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
ได้แก่ พระธรรม และ พระวินัย
"ดอกไม้"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่อพระสงฆ์(สงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
พระสงฆ์มาจากหลายเชื้อชาติ ต่างชนชั้น .. แจกันใส่ดอกไม้ หมายถึง อารามซึ่งเป็นที่รวมแห่งบรรดาพระสงฆ์
"บุหรีและเงินครู ๒๕ บาท"เป็นเครื่องบูชาสักการะต่ออาจารย์(พระอาจารย์สักหรือครูสัก)
บุหรีและเงินครูขั้นต่ำ ๒๕ บาท ถือว่าเป็นของกำนัลครู ที่ได้อุทิศทั้งแรงกายและแรงใจ
ในการสักยันต์และอบรมสั่งสอนลูกศิษย์นั้นเอง
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ที่ได้รับการสักยันต์๑. ให้ปฏิบัติตัวอยู่ในศีล ๕ ถ่าทำได้ถือว่าดี ศีลข้อที่ ๑ งดเว้นการฆ่าสัตว์(ปาณาติปาตา เวรมณี)
การฆ่า มิใช่นำมีดไปฆ่าคน ฆ่าสัตว์ จึงเรียกว่าฆ่า จิตใจเริ่มคิดไม่ดี สิ่งที่ละเอียดอ่อนบางแง่มุม มิได้ระมัดระวังจะก่อเกิดการช่วย
เสริมการฆ่าขึ้น
ศีลข้อที่ ๒ งดเว้นการลักขโมย(อทินนาทานา เวรมณี)
ปัจจุบันสังคมวุ่นวาย โจรขโมยมากมาย นักการศึกษา นักการศาสนา ต้องเพิ่มภาระในการสั่งสอนมากขึ้น
ขโมย ลักเล็กลักน้อย ปล้น หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญเพื่อให้ได้มา
ศีลข้อที่ ๓ งดเว้นการละเมิดกาม(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี)
อิ่มนักมักมุ่นคิดทางกามารมณ์ ความผิดทั้งหลายผิดศีลกาเมเลวที่สุด สังคมวัตถุอุดมสมบูรณ์ จะพาให้สังคมคุณธรรม
ตรงข้ามกับความเจริญ
ศีลข้อที่ ๔ งดเว้นการพูดเท็จ(มุสาวาทา เวรมณี)
พูดโกหก รวมทั้งปากร้าย ลิ้นสองแฉก คำเยินยอ โกหกหลอกลวง พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
พูดส่อเสียด
ศีลข้อที่ ๕ งดเว้นการเสพสุราเมรัย(สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี)
เหล้ามิใช่ของคาว แต่มันเป็นสิ่งเริ่มต้นของบาปกรรมทั้งปวง เหล้าลงคอฆ่าสัตว์ ลักขโมย ผิดศีลกาเม พูดเท็จเกิดจาก
จิตใจที่เมามัว
หลังสร่างเมาจึงเห็นความเป็นไปที่แน่นอน ต้องหยุดดื่ม จึงเรียกศีลหยุดไม่ดื่ม
๒. ห้ามด่าบุพการี บุพการี หมายถึง ญาติทางสาโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด
ผู้ที่ได้รับการสักยันต์ จะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดด้วยบุญญาธิการของบูรพาจารย์ คณาจารย์ที่ถ่ายทอดสู่ตัวของคนสักยันต์ไม่ให้เสื่อมคลายความขลัง ต้องถือปฏิบัติในความดี ข้อห้ามต่างๆ ที่มีมาในสมัยโบราณอย่างที่เรียกว่า คนดี สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีคุ้ม ปกป้องกันภัย เป็นข้อเตือนสติให้ตะหนักถึงผลกรรมดี กรรมชั่ว
พระอาจารย์หรือครูสัก๕๐ลูกศิษย์๕๐ ถึงจะเต็ม๑๐๐ขออธิบายต่อนิดนึงพระอาจารย์หรือครูสักก็เปรียบได้เหมือนกับน้ำ ส่วนลูกศิษย์ก็เปรียบได้เหมือนกับแก้วน้ำ
การใหลของน้ำใหลมาแบบนึ้งๆ แต่แก้วก็สั่นไหว ก็ไม่สามารถเทน้ำได้เต็มแก้ว ข้อนี้เปรียบได้ดั่งผู้ที่ได้รับการสักยันต์ ถือข้อควรปฏิบัติ ได้ไม่ดีนัก ลายสักหรืออักขะระเลขยันต์ที่อยู่บนร่างกายของลูกศิษย์ ก็ไม่สามารถเกิดความศักดิ์สิทธิ์ได้ แต่ถ่าแก้วน้ำนั่นไม่สั่นไหวหยุดอยู่นึ้งๆ เหมือนกับการใหลของน้ำใหลมาแบบนึ้งๆ น้ำก็จะเต็มแก้วได้ไม่ยากนัก เปรียบได้ดั่งผู้ที่ได้รับการสักยันต์ ถือข้อควรปฏิบัติได้ดี ลายสักหรืออักขะระเลขยันต์ก็จะเกิดความศักดิ์สิทธิ์ แก่ผู้ที่ได้รับการสักยันต์นั้งเอง
"เพชรยังไงก็คือเพชร แม้จมอยู่ในบ่อโคลนก็ยังเป็นเพชร" สิ่งศักดิ์สิทธิ์ควรยืดถือเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจ ไม่ใช้ยืดถือรูปภาพเป็นเครื่องยืดเหนี่ยวจิตใจ
ถ่าตัวอักษรตกหล่นหรือผิดพลาดประการใด ต้องของประทานอภัยมา ณ. ที่นี้ด้วย
๛][รัตu:][๛ ศิษย์น้อยด้อยประสบการณ์