พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่าครับ องค์นี้เล็กมาก เล็กกว่าข้อนิ้วก้อย พิมพ์เศียรเเหลม บางท่านเรียกพิมพ์เม็ดบัว พิมพ์หน้าเล็ก เเล้วเเต่จะเรียกครับ
ปีกกว้าง ผิวพระด้านหน้าเปิดนิดหน่อย ราดำ (ครบขาวๆมาจากคุณเเม่ผมท่านเก็บไว้ในสีผึ้งครับก่อนเลี่ยมเช็ดออกไม่หมดตามซอกต่างๆ) รูปอาจไม่ค่อยชัดนะครับ พยายามzoomเต็มที่เเล้ว ใครมีข้อมูล หรือ ข้อเเนะนำ เชิญได้ครับผม
ด้านหลัง (ขออภัยรูปถ่ายมืดไปนิด
)
ข้อมูลเพิ่มเติมครับ>>
พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า คือพระพิจิตรที่สร้างจากเนื้อผงดำหรือผงใบลาน ซึ่งเป็นที่นิยมเช่นกันโดยปกติแล้วพระพิจิตรส่วนมากจะสร้างจากเนื้อชินเงิน นี่คือลักษณะที่แตกต่างของพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า มีลักษณะคล้ายเม็ดน้อยหน่ามากแต่พระพิมพ์นี้ไม่ได้พบที่ จ.พิจิตรที่เดียว ยังพบที่ จ.สุโขทัย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า และเป็นเนื้อดินดำที่หยาบกว่าที่ จ.พิจิตร ส่วน จ.กำแพงเพชร มีขนาดและพิมพ์คล้ายของ จ.สุโขทัยแต่มักพบเป็นเนื้อโทนสีแดงและ มีความละเอียดมากกว่า ส่วนจ.พระนครศรีอยุธยา จะมีขนาดเล็กกว่าพระทุกจังหวัด เป็นเนื้อผงดำ และด้านหลังมักมีอักขระยันต์ ปรากฏอยู่ทุกองค์
พุทธคุณของพระเครื่องของเมืองพิจิตร โดดเด่นมากทางด้านคงกระพันชาตรี
ถึงกับมีการบันทึกไว้ในลิลิตตะเลงพ่ายว่า กระทั่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงอาราธนาพระเครื่อง ของเมืองพิจิตรติดพระองค์เวลาออกศึกโดยตลอด
โดยได้นำเอาไว้ที่พระมาลา <<<ขอบคุณข้อมูลจากเวป g-pra ครับ
ถ้าเรียกว่าพระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า ควรจะหมายถึง พระเม็ดน้อยหน่า จ.พิจิตร
ถ้าเป็นพระของกำแพง ก็น่าจะเรียกว่า พระเม็ดน้อยหน่า กรุเมืองกำแพง หรือ จ.กำแพงเพชร
ถ้าสุโข ก็เรียกว่า พระเม็ดน้อยหน่า จ.สุโขทัย
หรือถ้าจะเรียกว่า พระพิจิตรเม็ดน้อยหน่า จ.กำแพงเพชร ก็ไม่ผิดอะไร (แล้วแต่คนจะเรียกมากกว่า)
เช่นพระพิจิตรข้างเม็ด จ.สุโขทัย (พระพิมพ์นี้มีขึ้นทั้ง จ.พิจิตร และ จ.สุโขทัย แต่ก็นิยมเรียกขึ้นต้นว่า "พระพิจิตร")
พิจิตร และ กำแพง เนื้อดินจะละเอียดเหมือนกัน แต่ของสุโขทัยจะติดหยาบนิดหน่อย
ส่วนพระกำแพง จะมีว่านดอกมะขามในเนื้อดินให้เราเห็นไม่มากก็น้อย ถ้าของพิจิตร เนื้อจะละเอียดดินแน่นตัวไม่พบว่านมะขาม<<ข้อมูลจากเวป dd-praขอบคุณครับ
คืนนี้นอนหลับฝันดีทุกคนนะครับ