กรวดน้ำกันไปทำไม ทำไมถึงต้องกรวดน้ำ? เป็นคำถามที่เชื่อว่าเป็นข้อสงสัยของหลายๆคน จะลองนำที่มาของการกรวดน้ำมาเล่าให้ฟังพอสังเขปนะครับ
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล ในขณะที่พระมหาบุรุษเจ้าชายสิทธัตถะกำลังบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อหวังตรัสรู้พระสัพพัญญุตญานอยู่ใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือที่รู้จักในนาม"ต้นโพธิ์" เหล่าทวยเทพพยาดาทั้งหมื่นโลกธาตุก็สาธุการแซ่ซ้องสรรเสริญพระมหาบุรุษดังไปก้องภพ พร้อมทั้งมาห้อมล้อมแห่ชมพระบารมีจนนับประมาณมิได้
พญาวัสสวดีมาร มารผู้หยาบช้า ได้ยินเสียงดังนั้นแล้วก็เห็นท่าไม่ดีเกรงว่าพระมหาบุรุษจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงหาทางขัดขวางพระมหาบุรุษ โดยทรงช้างคีรีเมขล์เนรมิตแขนตั้งพัน ถือศาสตรวุธครบสรรพ พร้อมยกพลเสนามารมามากมาย แล้วก็เข้าล้อมบัลลังก์ของพระมหาบุรุษไว้
หมู่มวลเทพยดาทั้งหลายเห็นดังนั้น ก็เกิดอาการหวาดกลัวจึงหนีไปอยู่ที่สุดขอบจักรวาล ปล่อยให้พระมหาบุรุษอยู่เผชิญหน้ากับบรรดาพหลพลมารเหล่านั้น
พญามารพร้อมเสนามารทั้งหลายต่างก็เข้าทำอันตรายแก่พระมหาบุรุษต่างๆนานา แต่ไม่ว่าจะด้วยอาวุธศาสตราหรือฤทธิ์ที่แสดงออกมาเพียงใด ก็ไม่ทำให้พระมหาบุรุษไหวติงได้เลย ซ้ำศาสตาวุธทั้งหลายก็กลายสภาพเป็นดอกไม้ของหอมบูชาพระมหาบุรุษเสียอีก
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว พญามารจึงได้กล่าวตู่พระมหาบุรุษว่า บัลลังก์ที่พระมหาบุรุษประทับอยู่นี้เป็นของตน ขอพระมหาบุรุษจงเลิกบำเพ็ญเพียรแล้วลุกออกจากบัลลังก์ที่ประทับนี้เสียเถิด
พระมหาบุรุษจึงกล่าวกับพญามารว่า บัลลังก์นี้สำเร็จขึ้นแล้วด้วยบุญของเราที่ได้บำเพ็ญมานับอสังไขยยกัปป์ จักนับจักประมาณมิได้
ฝ่ายพญามารจึงท้วงขึ้นว่า ท่านมีพยานรับรู้หรือไม่ เรา(พญามาร)มีพยานคือพลพยุหเสนามารที่ห้อมล้อมอยู่ ณ ที่นี้ที่ยืนยันว่าบัลลังก์นี้เป็นของเรา
ฝ่ายพระมหาบุรุษที่ประทับอยู่เพียงลำพัง จึงทรงนั่งประทับปางมารวิชัย(ลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย)มือขวาวางอยู่ที่หัวเข่าข้างขวาแล้วชี้นิ้วลงไปที่พื้นดิน
ทันใดนั้นนางวสุนธรา หรือที่เรียกว่า "พระแม่ธรณี"จึงปรากฏกายขึ้น พร้อมเป็นพยานให้พระมหาบุรุษ โดยกล่าวว่า ในอดีตชาติทุกๆชาติจนถึงปัจจุบัน เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญบุญสร้างกุศลแล้วทุกครั้งก็จะหลั่งน้ำไว้ที่ผืนดิน แล้วพระแม่ธรณีจะรองรับเก็บน้ำนั้นไว้ที่มวยผม
เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ พระแม่ธรณีจึงบีบมวยผมของตน
ทันใดนั้นสายธารธาราได้หลั่งไหลปานน้ำในพระมหาสมุทรทั้ง๔ จนเข้าท่วมพญามารพร้อมเสนาให้ราบไปพร้อมกับสายน้ำที่บีบออกมาจากมวยผมของพระแม่ธรณี พญามารจึงพ่ายแพ้ไปในที่สุด พระมหาบุรุษก็ได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็น"พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"ในเวลาถัดมา
และนี่จึงเป็นที่มาของการกรวดน้ำครับ คือการกรวดน้ำฝากไว้กับพระแม่ธรณีตามอย่างพระมหาบุรุษในครั้งนั้น
คำถามต่อมาเอ๊ะ...แล้วปัจจุบันทำไมต้องนำน้ำที่กรวดแล้วไปรดต้นไม้ด้วยหากลองอ่านที่มาของการกรวดน้ำแล้วก็จะทราบว่า ให้เทน้ำไว้ที่ดินสะอาด(ฝากพระแม่ธรณีไว้) แต่ปัจจุบันผู้หลักผู้ใหญ่คนแก่คนเฒ่า มักจะบอกว่าให้นำน้ำที่กรวดแล้วไปรดต้นไม้ นี่อาจจะเป็นเพราะว่าให้น้ำนั้นได้ใช้ประโยชน์อย่างอื่นไปด้วย ดีกว่าการเทลงดินอย่างเดียวแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่หากนำไปรดต้นไม้ก็ช่วยให้ต้นไม้ในวัดเจริญเติบโตไปอีกด้วย วัดก็ร่มรื่นน่าชม เป็นสัปปายะเหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรม
คำถามต่อมาที่เป็นประเด็นไว้เกี่ยวกับการใช้คำว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไรอุทิศ คือ"การให้" ครับ เราจะอุทิศให้สำเร็จประโยชน์แก่ใครก็ได้ครับ ดังคำแปลใน
"บทกรวดน้ำอิมินา"(หาอ่านได้ในมนต์พิธีทั่วไป)
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา
คำแปล- ด้วยบุญนี้ อุทิศให้ อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการาจะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
คำแปล - และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ
คำแปล - สูรย์จันทร์ และราชา ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ โลกะปาลา จะ เทวะตา
คำแปล - พรหม มาร และอินทราช ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
คำแปล - ยมราช มนุษย์มิตร ผุ้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
คำแปล - ขอให้สุขศานติ์ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน บุญผองที่ข้าทำจงอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง
คำแปล - ให้สุขสามอย่างล้น ให้ลุถึงนิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ
คำแปล - ด้วยบุญนี้ที่เราทำ และอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปังหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
คำแปล - เราพลันได้ ซึ่งการตัด ตัวตัณหา อุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
คำแปล - สิ่งชั่วในดวงใจ กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
คำแปล - มลายสิ้นจากสันดาน ทุกๆ ภพ ที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา
คำแปล - มีจิตตรง และสติปัญญาอันประเสริฐ พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตะ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม
คำแปล - โอกาส อย่าพึงมี แก่หมูมารทั้งสิ้นทั้งหลาย เป็นช่อง ประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร นาโถธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
คำแปล - พระพุทธผู้วรนาถ พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง
คำแปล - พระปัจเจกะพุทะสมทบ พระสงฆ์ ที่ผึ่งพยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา
คำแปล - ด้วยอานุภาพนั้น อย่าเปิดโอกาสให้แก่มาร เทอญ.สรุปว่าใช้อุทิศได้ทุกคน,สิ่ง,อย่าง ไม่ต้องกังวลกับการเลือกใช้คำ เพราะบทสรุปก็คือ"เมตตาจิตเราแผ่ไปถึงก็จะถึงผู้รับครับ"