ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท  (อ่าน 6767 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 07:07:44 »
ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
Posted by สอนสุพรรณ ,

  ... ช้างสารซ่านซับมัน    รันแรงร้ายเกินกำหนด
          ลือชาทั่วปรากฏ    มาลดกายให้กบกิน ...


                                               หนังสือสุภาษิตภาคใต้

          จากข้อความข้างต้น  หลาย ๆ ท่านอาจจะคิดสงสัยว่า  ช้างตัวใหญ่ยอมให้กบตัวเล็กนิดเดียวกินได้อย่างไร  คำถามนี้ยากเป็นความที่มีนัยแห่งข้อธรรมที่ลึกซึ้ง  ซึ่งผู้ประพันธ์สุภาษิตถอดความมาจากภาพปริศนาธรรม

          ภาพปริศนาธรรม เป็นการถ่ายทอด หรือ อธิบายข้อธรรมด้วยภาพมีองค์ประกอบเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ ทั้งประเภทจตุบาท ทวิบาท และสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่ ช้าง กบ นก งู  สาระในภาพสื่อให้เกิดความคิดในเชิงเปรียบเทียบ  เพื่อให้เห็นความเป็นไปตามสภาพธรรมของโลกโดยลำดับ 

          เนื้อหาของภาพเป็นเป็นตอน ๆ ต่อเนื่องกันเป็นชุด  ภาพปริศนาธรรมชุดนี้มี ๖ ตอน  ถ่ายทอดมาจากบทธรรมปฎิจจสมุปบาท



          ภาพที่ ๑  เริ่มต้นด้วยภาพสระน้ำ ๓ สระ  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า  น้ำ ๓ สระคือตัณหาทั้งสาม ได้แก่

          ๑.  กามตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในกาม ได้แก่  กามคุณซึ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

          ๒.  ภวตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในภพ ได้แก่  ความอยากในภาวะของตัวตนที่  จะได้  จะมี  จะเป็น

          ๓.  วิภวตัณหา หมายถึง ความทะยานอยากในวิภพ ได้แก่  ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตน  จากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา



ภาพที่ ๒  เป็นภาพช้างมีน้ำ ๓ สระอยู่ภายในท้อง  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า ช้างสาร คือ ชาติ  กลืนน้ำ ๓ สระ คือ ตัณหาทั้งสาม


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว....ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา...สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา...กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 07:14:09 »


ภาพที่ ๓  เป็นภาพกบ ภายในท้องกบมีช้าง  ซึ่งมีน้ำ ๓ สระอยู่ภายในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า กบ คือ โลภะกลืนชาติ  ชาติกลืนตัณหาทั้งสาม



          ภาพที่ ๔  เป็นภาพงู ภายในท้องงูมีกบ ซึ่งมีช้างอยู่ในท้องกบ และมีน้ำสามสระอยู่ในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า งู คือ โทสะกลืนโลภะ  กลืนชาติ  กลืนตัณหาทั้งสาม



          ภาพที่ ๕  เป็นภาพนกไส้ ภายในท้องนกมีงู ซึ่งมีกบอยู่ในท้องงู มีช้างอยู่ในท้องกบ และมีน้ำสามสระอยู่ในท้องช้างนั้น  มีคำอธิบายประกอบภาพว่า  นกไส้คือโมหะกลืนทั้งนั้นบินไปจับต้นอ้อ




          ภาพที่ ๖  เป็นภาพต้นอ้อ ซึ่งนกไส้บินไปเกาะอยู่นั้น และมีหนู ๔ ตัวกำลังกัดกินโคนต้นอ้อนั้น  มีคำอธิบายภาพว่า  ต้นอ้อคือตัวอาตมา  หนู ๔ ตัว คือ  ชาติ  ชรา  พยาธิ  มรณะ

          การถ่ายทอดบทธรรมปฏิจจสมุปบาท เป็นภาพเปรียบเทียบให้เห็นกิเลสที่ปรุงแต่งเป็นปัจจัยต่อ ๆ กันไป  เป็นร่างกายที่มีจิตประกอบด้วยกิเลสเป็นความทุกข์  เนื่องจากกิเลสซ้อนกันอยู่เช่นนั้น

          ภาพปริศนาธรรมดังกล่าวนี้  ในสมัยโบราณนิยมเขียนภาพลงในสมุดไทย  นอกจากนั้นยังพบในงานลายรดน้ำบนตู้พระธรรม  และในงานจิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ วิหาร ก็มีบ้าง  ซึ่งบรรพบุรุษไทยสร้างสรรค์ขึ้น

          ใช้เป็นอนุศาสน์สำหรับให้คนทั้งหลาย ได้รำลึกถึงความเป็นไปอันไม่แน่นอนของชีวิต  ดังเช่นต้นอ้อเป็นไม้ไม่มีแก่น  เป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตอันประกอบด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน  ซ้อนกันอยู่มีความแก่  ความเจ็บ  ความตายเบียดเบียนกัดแทะเป็นนิจ 

          ฉะนั้น ควรที่คนทั้งหลายพึงพิจารณา และเตรียมพร้อมไว้ไม่ให้เกิดความประมาทในชีวิตนั่นเอง

*********************

ภาพที่ ๑,๒,๓ และ ๖ จากสมุดไทยขาววัดพระรูป อ.เมือง จ.เพชรบุรี  ภาพที่ ๕ จากสมุดไทยขาววัดลาด อ.เมือง จ.เพชรบุร๊.
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 07:17:03 »
ป ฏิ จ จ ส มุ ป บ า ท

อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )


อวิชชายะ เตววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
( เพราะอวิชชาสำรอกดับไปไม่เหลือ สังขารจึงดับ )
สังขาระนิโรธา วิญาณะนิโรโธ ( เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ )
วิญญาณะนิโรธา นามรูปะนิโรโธ ( เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ )
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ ( เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ )
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ( เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ )
ผัสสะนิโรธา เวทนานิโรโธ ( เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ )
เวทนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ( เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ )
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ ( เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ )
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ( เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ )
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ ( เพราะภพดับ ชาติจึงดับ )
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจจึงดับ )
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ
( การดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )


http://www.oknation.net/blog/phaen/2007/10/05/entry-1

ฟังเสียงร้องปฏิจจสมุปบาทได้ที่
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/6539

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 07:40:59 »
ขอบคุณพี่ทรงกลดมากครับ อนุโมทนาด้วยนะครับ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ...

สอดคล้องกับข้อธรรมที่มีมาในหมวดเอกาทสกะ ข้อธรรม "ปัจจยาการ"

ปัจจยาการ คือ อาการที่เป็นไปแห่งปัจจัย หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาท" คือ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกันหรือธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นพร้อม ดังที่พี่ทรงกลดได้ลงไว้แล้ว ลองมาพิจารณาความหมายต่อดังนี้

๑.อวิชชา คือ ความไม่รู้ (หมายเอาถึง ไม่รู้ในอริยสัจ ๔ หรือ อวิชชา ๘)

๒.สังขาร คือ สภาพที่ปรุงแต่ง อันได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร หรือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาสังขาร

๓.วิญญาณ คือ ความรู้แจ้งอารมณ์ อันได้แก่ วิญญาณ ๖

๔.นามรูป แบ่งเป็น นามและรูป นามได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ,รูป ได้แก่ มหาภูติรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ รวมเรียกว่า รูป ๒๘

๕.สฬายตนะ คือ อายตนะ ๖ อันได้แก่ อายตนะภายใน ๖

๖.ผัสสะ คือ ความกระทบ หมายถึง การกระทบกันแห่งอายตนะภายในและภายนอก ได้แก่ สัมผัส ๖

๗.เวทนา คือ ความเสวยอารมณ์ อันได้แก่ เวทนา ๖

๘.ตัณหา คือ ความทะยานอยาก อันได้แก่ ตัณหา ๖ มีรูปตัณหา เป็นต้น

๙.อุปาทาน คือ ความยึดมั่น อันได้แก่ อุปาทาน ๔

๑๐.ภพ คือ ภาวะแห่งชีวิต อันได้แก่ ภพ ๓ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ ๑

๑๑.ชาติ คือ ความเกิด อันได้แก่ ความปรากฎแห่งขันธ์ทั้งหลาย คือ การได้อายตนะ

๑๒.ชรามรณะ คือ ความแก่และความตาย อันได้แก่ ชรา ความเส่อม อายุ กับมรณะ ความสลายแห่งขันธ์

   องค์ทั้ง ๑๒ ข้อนี้ เป็นปัจจัยที่ต่อเนื่องกันไป หมุนเวียนกันไปเป็นวงจรไม่มีต้นไม่มีปลาย ที่เรียกว่า ภวจักร คือ วงล้อหรือวงจรแห่งภพ

ตราบใดที่ยัีงไม่สามารถกำจัดที่ต้นเหตุคือ อวิชชาได้ ก็จะต้องเวียนเกิดเวียนตายอยู่ไม่รู้จักจบสิ้น เปรียบดังคุกที่จองจำสรรสัตว์ไว้ในสังสารวัฏ

ทางเดียวที่จะหลุดพ้นได้ก็คือ พระนิพพานอันเป็นบรมสุข

สมดังพระบาลีที่มีมาในหมวด"สุขวรรค"ที่ว่า

"นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ แปลว่า นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง"

ออฟไลน์ ทรงกลด

  • ผู้อาวุโส
  • *****
  • กระทู้: 2199
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์หลวงโด่ง.....
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 09:18:52 »
ขอบคุณท่าน....: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

หลวงปู่ทวดฯกล่าวไว้เช่นกันว่า.........สุดยอดของนิพพาน คือ "ละ"จนถึงที่สุด  :054:

คติธรรมจากหลวงปู่ทวดฯ.....มนุษย์จะรู้ตนและเข้าใจตน คือต้องให้มนุษย์หยุดและพิจารณาตนโดยใช้สติสัมปชัญญะควบคุมตนให้สงบ(ศีลและมรรค8)

นี่คือการกำจัดอวิชชาใช่ไหมครับ :062:

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
ตอบ: ภาพปริศนธรรม : ปฏิจจสมุปบาท
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 04 ธ.ค. 2554, 09:48:43 »
ขอบคุณท่าน....: ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

หลวงปู่ทวดฯกล่าวไว้เช่นกันว่า.........สุดยอดของนิพพาน คือ "ละ"จนถึงที่สุด  :054:

คติธรรมจากหลวงปู่ทวดฯ.....มนุษย์จะรู้ตนและเข้าใจตน คือต้องให้มนุษย์หยุดและพิจารณาตนโดยใช้สติสัมปชัญญะควบคุมตนให้สงบ(ศีลและมรรค8)

นี่คือการกำจัดอวิชชาใช่ไหมครับ :062:

อวิชชา แปลตามศัพท์จะหมายถึง "ความไม่รู้" แบ่งแยกย่อยออกเป็น ๘ ประการ ดังนี้ครับ

๑.ความไม่รู้จริงในทุกข์ครับ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย กล่าวคือ ไม่รู้ว่ามาจากเหตุอะไรจึงทำให้เกิดผลเป็นเช่นนี้

๒.ความไม่รู้ในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ ไม่เข้าใจในสาเหตุของทุกข์ คือตัณหา ๓ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

๓.ความไม่รู้ในความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ว่าเมื่อเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาดับไป ความทุกข์จึงดับตามไปด้วย

๔.ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ว่าจะดับทุกข์ด้วยวิธีไหน เพราะไม่เข้าใจในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง

๕.ความไม่รู้ในส่วนที่เป็นอดีต คือ ไม่รู้ว่า ในอดีต ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ได้เคยมีมาหรือไม่อย่างไร

๖.ความไม่รู้ในส่วนที่เป็นอนาคต คือ ไม่รู้ว่า ในอนาคตนั้นจะมีขันธ์ ธาตุ อายตนะ เกิดขึ้นหรือไม่

๗.ความไม่รู้ทั้งในส่วนที่เป็นอดีตทั้งในส่วนที่เป็นอนาคต คือ ไม่รู้ว่าขันธ์ ธาตุและอายตนะได้มีมาแล้วในอดีต และจะมีในอนาคตอีกด้วย

๘.ความไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย คือ ไม่รู้ว่า สิ่งนี้มีได้ ก็เพราะสิ่งนี้มีเป็นปัจจัย และไม่เข้าใจกระบวนการแห่ง "ปฏิจจสมุปบาท" อย่างถ่องแท้

อวิชชา ๘ อย่างข้างต้นนั้น จะดับไปได้ ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการให้ต่อเนื่องกัน โดยบำเพ็ญให้สมบูรณ์ทั้งส่วน ศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อความสมบูรณ์แห่งองค์มรรคปรากฏขึ้น "วิชชา" คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง ก็เกิดขึ้นในจุดที่เคยมีอวิชชาปรากฏอยู่นั้น

กล่าวโดยสรุป

อวิชชา จึงหมายถึง ความไม่รู้ในอริยสัจ ๔ ครับ หรือจะเรียกว่า ธรรมชาติที่ไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็คงจะไม่ผิดนัก

มี ๘ ประการ คือ ไม่รู้ในทุกข์ ๑ , ไม่รู้ในทุกขสมุทัย ๑ , ไม่รู้ในทุกขนิโรธ  ๑ , ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ๑ , ไม่รู้ในส่วนอดีต ๑ , ไม่รู้ในส่วนอนาคต ๑ , ไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต ๑ , ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑ รวม ๘ ประการ


หนทางพ้นทุกข์ในอริยสัจ ๔ ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ บุคคลใดพึงเจริญให้เกิดขึ้นมีแก่ตนแล้ว ก็สามารถกำจัด อวิชชา ให้ดับสิ้นไป เพื่อผลคือ พระนิพพานได้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 ธ.ค. 2554, 09:49:19 โดย ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์) »