แล้ว ฤาษีโคบุตร ละครับ
พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่นับถือพระพุทธศาสนา , คนที่ตกลงใจน้อมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำตัวประจำชีวิต ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ .
(๑)เป็นที่เชื่อได้โดยสนิทใจว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "พุทธศาสนิกชน" ต้องเคยได้ท่องบท"ไตรสรณคมน์"นี้อย่างแน่นอน นั่นคือ
"พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ"
(ไม่ว่าจะเป็นงานกุศลพิธีี , งานบุญพิธี ฯ พระสงฆ์ก็จะให้เรากล่าวรับ "ไตรสรณคมน์" ก่อนเสมอ)
เมื่อเคยท่ิองตามนี้แล้ว ถามว่ารู้ความหมายของคำที่ท่องไปหรือเปล่า? และยิ่งกว่านั้น ปฏิบัติตนตามคำที่ท่องไปนี้หรือเปล่า?
คำแปลของบท"ไตรสรณคมน์"
ข้าพเจ้าขอถึงพระรัตนตรัย(พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์)ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นนอกไปจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
ข้าพเจ้าขอถึงพระรัตนตรัย(พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์)ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นนอกไปจากนี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ ๒
ข้าพเจ้าขอถึงพระรัตนตรัย(พระพุทธ,พระธรรม,พระสงฆ์)ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นนอกไปจากนี้ไม่มีอีกแล้ว แม้ในครั้งที่ ๓
เมื่อทราบคำแปลของบท"ไตรสรณคมน์"ดังนี้แล้ว ก็ย้อนถามต่อไปว่า ได้ปฏิบัติตนตามคำแปลนั้นหรือเปล่า ?
(หากนำ "อิสิ" มาเป็นสรณะ มาเป็นที่พึ่ง แล้วที่เคยกล่าวในบท"ไตรสรณคมน์"ว่ามี"พระรัตนตรัย"เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด สิ่งอื่นนอกจากนี้ไม่ใช่สรณะไม่ใช่ที่พึ่ง หล่ะ คืออะไร ? แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นการผิดคำพูด ผิดสัจจะวาจาหรือ ?)
ในฐานะที่ตนได้ชื่อว่าเป็น "พุทธศาสนิกชน" ควรบูชาใคร,บูชาสิ่งใดดีหนอ ?
ระหว่าง "อิสิ" หรือ "พระรัตนตรัย" ?
ลองตรองดูเถิด ผู้ที่เรียกตนเองว่าเป็น "พุทธศาสนิกชน" ทั้งหลาย
ํํํํํํํํํํ๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
(๑)อ้างอิงจาก - พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต
พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548