ผู้เขียน หัวข้อ: แบ่งปัน  (อ่าน 3568 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์)

  • *โปรดระวัง - สีลัพพตปรามาส, ๗ เดือน ๑๙ วันจะเก็บแต่ความทรงจำที่ดีๆไว้, ตถตา (เช่นนั้นเอง).
  • ...
  • *****
  • กระทู้: 6436
  • เพศ: ชาย
  • ผู้สอนคือผู้ลวง? ผู้เรียนคือผู้หัดที่จะลวง?
    • ดูรายละเอียด
    • เฟสบุ๊ควัดบางพระ (หลวงพ่อเปิ่น)
แบ่งปัน
« เมื่อ: 14 ส.ค. 2557, 05:17:44 »
เกริ่นนำสักเล็กน้อย..

หลายวันก่อนได้ไปอ่านหนังสือ "มโนมยิทธิและประวัติของฉัน" ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี อ่านไปถึงตอนที่หลวงพ่อท่านเล่าถึงประสบการณ์ของผู้ที่บูชาเหรียญหลวงพ่อปานที่ท่าน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) สร้าง ก็มาสะดุดอยู่ตรงประโยคที่ว่า..

"ประการที่ ๒ ผมเองคล้องเหรียญนี้ไปให้หมอฉีดยา หมอแทงไม่เข้า ต้องเอาเหรียญออกจากตัว จึงแทงเข้า"


ภาพจากหนังสือ "มโนมยิทธิและประวัติของฉัน"
ของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

สัญญาความจำเก่าๆ ในอดีต ก็หวนมาให้ระลึกถึงอีกครั้งว่า..

ในช่วงที่ผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ตอนนั้นจำได้ว่ากำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ตรงกับปี พ.ศ.๒๕๔๕ ตรงกับปีที่หลวงพ่อเปิ่นมรณภาพพอดี (จำได้ว่าเคยไปร่วมกับทางโรงเรียนสิรินธรฯ ในการเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ๑๐๐ วันหลวงพ่อเปิ่นที่วัดบางพระด้วย) ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ ที่ผมเองเริ่มสนใจเกี่ยวกับพระเครื่องวัตถุมงคลต่างๆ และคนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาพระเครื่องคนแรกของผมก็ไม่ใช่คนอื่นไกล นั่นคือ "น้ายาม" ประจำโรงเรียนนั่นเอง

ทุกเย็นหลังเลิกเรียนระหว่างรอรถกลับบ้าน ก็จะมานั่งคุยเรื่องพระเครื่องเรื่องวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังต่างๆ กับน้ายามที่หน้าโรงเรียนเป็นประจำ เย็นวันหนึ่งน้ายามให้พระเครื่องผมมา ๑ องค์ แถมเล่าประสบการณ์ที่สัมผัสมากับตนเองว่า..

"น้าแขวนพระองค์นี้ แล้วตอนไปให้หมอฉีดยาที่โรงพยาบาล หมอฉีดยาให้ปรากฎว่า
เข็มฉีดยาแทงไม่เข้า ต้องอาราธนาพระออกจากคอก่อนถึงจะฉีดยาให้น้าได้"

พระที่น้ายามให้มาคือ
พระสมเด็จพระร่วง ๘๔ ปี (พ.ศ.๒๕๔๑) ของวัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ซึ่งในตอนนั้นก็ถือว่าเป็นพระใหม่ที่เพิ่งสร้างได้ไม่กี่ปี



พระสมเด็จพระร่ววง ๘๔ ปี ที่น้ายามให้ไว้เป็นที่ระลึก

น้ายามบอกว่า "เก็บไว้ดีๆ นะ" ผมก็รับมาด้วยความรู้สึกขอบคุณปลาบปลื้มใจ และยังเก็บรักษาพระองค์นั้นไว้ตลอดจนถึงทุกวันนี้แม้น้ายามจะจากไปแล้วก็ตาม (ขอบคุณและระลึกถึงน้ายามชัชวาล ใจเพชร เสมอมา)


ที่หน้ากล่องใส่พระผมเห็นมีรูป "ธูป ๓ ดอก" ในใจผมสิ่งแรกที่คิดคือ พระรุ่นนี้น่าจะสร้างในปีที่มีเหตุการณ์ "ธูปยักษ์ถล่ม" แน่นอน

บันทึกไว้เล็กน้อยเกี่ยวกับความทรงจำเรื่องธูปยักษ์ พ.ศ.๒๕๔๑


ย้อนรำลึกถึงอดีตตอนที่มีข่าวธูปยักษ์ถล่ม ผมจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันคล้ายวันเกิดพระร่วงโรจนฤทธิ์ ซึ่งทางวัดพระปฐมเจดีย์จะจัดงานเป็นประจำขึ้นทุกปีในวันที่ ๒ พฤศจิกายน แต่ในปีนี้มีความพิเศษกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องด้วยทางวัดได้เปิดให้สาธุชนได้ร่วมบุญบูชาธูป (ดอกเล็กๆ ที่ใช้บูชาพระทั่วไป) เพื่อนำไปประกอบเข้าเป็น "ธูปยักษ์" จำนวน ๓ ดอก เพื่อไว้จุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ด้านหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ ด้านทิศเหนือ

เช้าวันนั้นก่อนออกจากบ้าน ผมเห็นคุณแม่ตระเตรียมสิ่งของเครื่องบูชา ดอกไม้ธูปเทียน ของไหว้ และไข่ต้มย้อมสีชมพูไว้ในตะกร้าเพื่อเตรียมนำไปบูชาในงานวันเกิดพระร่วงฯ ที่วัดพระปฐมเจดีย์เช่นทุกปี เมื่อคุณแม่มาส่งผมที่โรงเรียนอนุบาลสุธีธรแล้ว (ตอนนั้นรู้สึกว่ากำลังเรียนอยู่ชั้น ป.๕ เป็นรุ่นแรกที่ได้ใช้อาคารสีเขียวหลังใหม่) คุณแม่ก็นั่งรถไปวัดพระปฐมเจดีย์ต่อเพื่อไปร่วมงาน

สายๆ คุณครูในโรงเรียนก็เข้ามาแจ้งข่าวว่า "ธูปยักษ์ถล่ม" วันนั้นไม่เป็นอันเรียน ห่วงว่าคุณแม่จะเป็นยังไงบ้าง พอท่านมารับหลังเลิกเรียนจึงค่อยโล่งใจว่าคุณแม่ปลอดภัยไม่ได้รับอันตรายอะไร


พิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในโอกาส ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ พ.ศ.๒๕๔๑

หลายอาทิตย์ก่อนในระหว่างพักผ่อนหลังจากอยู่ช่วยงานหลวงพ่อสำอางค์บนกุฏิใหญ่แล้ว ผมก็แวะเข้าไปหาหนังสือในสำนักงานวัดบางพระมาอ่านเล่น ซึ่งก็ไปเจอ "หนังสือที่ระลึกงานเทศกาลนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ปี พ.ศ.๒๕๔๑" เข้าเล่มหนึ่ง ด้านในมีรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับประวัติวัตถุมงคลและภาพพิธีปลุกเสก จากภาพก็จะเห็นพระคณาจารย์ที่มาร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลชุด ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ อาทิเช่น หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม, หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม, หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า, หลวงปู่แย้ม วัดสามง่าม, หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ, หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม และที่สำคัญคือมีหลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเรารวมอยู่ด้วย จึงเก็บภาพมาฝากเพื่อนๆ สมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระให้ได้รับชมกันดังนี้






วัตถุมงคลรุ่น ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๑ ที่สร้างออกมานั้น นอกจากพระสมเด็จพระร่วงแล้ว ก็ยังมีกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี ด้วยเช่นกัน (ปลุกเสกในพิธีเดียวกัน) โดยในกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปีชุดนี้ จะมียันต์ที่เขียนด้วยลายมือพระคณาจารย์ของจังหวัดนครปฐม ๔ รูป เขียนไว้ด้วย มีรายนามดังนี้

๑.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม
๒.หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม จ.นครปฐม
๓.หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม
๔.หลวงพ่อรอด วัดวังน้ำเขียว จ.นครปฐม



แบ่งปัน

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางวัดพระปฐมเจดีย์ได้ค้นเจอกระดาษยันต์มงคล ๘๔ ปี พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่เก็บไว้จำนวนหนึ่ง ทางวัดก็ได้นำออกให้บูชาเพื่อสมทบทุนงานบุญต่างๆ บ้าง แจกให้เป็นที่ระลึกกับผู้ที่ร่วมบุญบูชาวัตถุมงคลของทางวัดบ้าง (ที่วิหารฝั่งทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ยังมีให้ร่วมบุญบูชาอยู่อีกเล็กน้อย)

ทั้งนี้ ทาง "พี่นุ้ย" เจ้าหน้าที่ของทางวัดพระปฐมเจดีย์ก็ได้แบ่งมาให้ผมไว้จำนวนหนึ่ง ต้องขอขอบคุณพี่นุ้ยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ




ปล.คงได้นำมาแจกแบ่งปันกับเพื่อนสมาชิกกระดานสนทนาวัดบางพระในโอกาสต่อๆ ไป

ออฟไลน์ โยคี

  • เด็กวัด
  • *****
  • กระทู้: 1361
  • เพศ: ชาย
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบ่งปัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 ส.ค. 2557, 09:28:16 »
เล่าเรื่องราวได้ดี สมกับเป็นมหาบัณฑิต
อิติ สุคคะโต อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ  ฐิตคุโณ อาจาริโย จะมหาเถโร
มหาลาโภ สัพพะสุขขัง จะมหาลาภัง สัพพะโภคัง สัพพะธะนัง ภะวันตุเม

ออฟไลน์ shagath

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 541
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: แบ่งปัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 16 ส.ค. 2557, 08:41:49 »
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลเล่าเรื่องได้เห็นภาพเลยครับท่านสิบทัศน์ :016: :015:

ออฟไลน์ blackknight

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 127
  • ยกกระบัตร ทัพพระไพศรพณ์
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: แบ่งปัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 16 ส.ค. 2557, 04:37:56 »
เขียนได้อ่านสนุกมากครับ
ชาติเสือไว้ลาย ชาติชายไว้ชื่อ