ผู้เขียน หัวข้อ: บนเส้นทางแห่งการภาวนา  (อ่าน 2999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นร...

  • สถานะ... ยิ้ม...
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 22
  • เพศ: ชาย
  • สุขกายสบายใจทุกท่านครับ
    • ดูรายละเอียด
    • สักยันต์
บนเส้นทางแห่งการภาวนา
« เมื่อ: 20 ก.ค. 2549, 06:59:35 »
ที่มา http://www.budpage.com/vijak07.shtml

บนเส้นทางแห่งการภาวนา (๑)
เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช ถักทอและร้อยเรียง
? ? ? ? ? ? ?

? ? ? ? ? ? ? คนทั่วไปมักจะเข้าใจกันว่า การฝึกจิตภาวนาเป็นกิจกรรมที่แยกขาดออกจากชีวิต หรือบ้างก็เข้าใจว่ามันเป็นกระบวนการการฝึกฝนเพื่อที่จะนำมา "ประยุกต์" ให้เข้ากับชีวิตประจำวัน แต่หากเราลองมองในแง่มุมที่ลึกซึ้งกว่านั้น เราจะพบว่าแท้จริงแล้วจิตภาวนาคือ "ชีวิตที่แท้" มันเผยให้เราได้สัมผัสถึงวิถีของการเรียนรู้พื้นฐานของจิตใจ เป็นความตระหนักรู้ที่ยิ่งใหญ่ไร้การเปรียบเทียบ เราได้ค้นพบพลังแห่งศักยภาพภายใน และเข้าใจถึงการเลื่อนไหลแห่งเหตุปัจจัยภายนอก ยามที่เราได้นั่งอยู่กับตัวเองบนเบาะสมาธิ เราจะพบว่ามันคือช่วงเวลาที่ทำให้เราได้สัมผัสถึงการดำรงชีวิตที่เต็ม และลุ่มลึกมากกว่าช่วงเวลาใดๆในชีวิต

? ? ? ? ? ? ?ชีวิตปกติประจำวันของผู้คนในโลกสมัยใหม่ต่างก็ถูกจองจำด้วยความคิดที่อยากจะเป็นเหมือนคนอื่น น้อยคนนักที่จะรู้จักให้คุณค่ากับศักยภาพและคุณค่าในตนเอง เราต่างก็สับสนไปกับเสียงภายนอก ตะเกียกตะกายไขว่คว้าเพื่อแสวงหาความมั่นคง ความสะดวกสบาย และการยอมรับจากคนรอบข้าง มองไปทางไหนใครๆก็ดูจะไหลไปในทิศทางเดียวกัน ตามกันไปราวกับเป็นทางเดียวที่ชีวิตสามารถดำเนินไปได้ ไม่มีใครคิดตั้งคำถามว่า ทำไมชีวิตของคนเราถึงต้องยากลำบาก เต็มไปด้วยการต่อสู้ แก่งแย่ง แข่งขัน ถึงเพียงนั้น ยิ่งตามๆกันไป อะไรๆในใจก็ดูจะไม่ได้สับสนลดน้อยลงไปเลยแม้แต่น้อย ลึกๆเราต่างก็รู้ว่ามันมีสิ่งที่จริงแท้กว่านั้นในชีวิต

? ? ? ? ? ? ?ในการฝึกภาวนา เรายอมที่จะวางความเพ้อฝันทะยานไว้ข้างนอก เพื่อที่จะได้เรียนรู้และสัมผัสความสดใหม่ในการดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ ทำให้เราได้เริ่มตระหนักถึงความมหัศจรรย์ของชีวิต อันเต็มไปด้วยอิสรภาพ ความคิดสร้างสรรค์ และความรื่นรมย์ นั่นคือ ความหมายของชีวิตที่แท้ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพื้นที่ว่างของการเรียนรู้ภายใน และแน่นอนว่าก่อนที่เราจะได้สัมผัสถึงความมหัศจรรย์ที่ว่านั้น เราต้องเต็มใจที่จะลงทุนลงแรงกับการฝึกฝนอย่างเต็มที่ มันหมายถึงการสูญเสียการควบคุมอย่างถึงที่สุด และอัตตาของคุณก็จะยื้อยุดจนเฮือกสุดท้าย แต่อย่างน้อยคุณก็ควรจะมีมุมมองที่ถูกต้องว่า การปฏิบัติธรรมหาใช่เป็นการแสวงหาคำตอบสุดท้าย หรือ เป็นความปรารถนาจะบรรลุถึง "จุดหมาย" ในลักษณะของสถานะสูงสุดเหนือจากบ่วงทุกข์ทั้งปวง แต่การปฏิบัติธรรมคือ "การเดินทาง" เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและการเรียนรู้จากประสบการณ์ในทุกขั้นตอน คุณไม่สามารถจะหาทางลัด หลบเลี่ยงสิ่งที่คุณไม่อยากเจอในตัวเองได้

? ? ? ? ? ? ?ทุกปีในช่วงฤดูหนาวผมจะนำรีทรีท หรือการฝึกภาวนาเข้มหนึ่งเดือนให้กับคน ๑๕๐ คน นี่คือ "การเดินทาง" ที่คนกลุ่มนั้นได้เรียนรู้และค้นพบร่วมกัน


? ? ? ? ? ? ? ธรรมะข้อแรก: วิ่งวุ่นหาหลัก หาจุดยืนใหม่ให้กับตนเอง

? ? ? ? ? ? ?ในการฝึกรีทรีทระยะยาวเช่นนี้ ประสบการณ์แรกที่ผู้เข้าร่วมสัมผัสได้ก็คือ พวกเขาต่างรู้สึกถึงความไม่แน่นอนของประสบการณ์ที่อยู่ตรงหน้า และธรรมะข้อแรกที่พวกเขาต้องเรียนรู้ก็คือ การวิ่งวุ่นพยายามหาเสายึดเกาะหลักใหม่ให้กับตัวเอง ซึ่งไม่ได้ถือเป็นเรื่องที่ผิดหรือเสียหายอะไร มันเป็นสัญชาตญาณที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทุกคนลงทะเบียน เข้าที่พัก จัดข้าวจัดของ ต่างคนต่างพยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

? ? ? ? ? ? ?หลังจากที่สามารถสร้างความสะดวกสบาย คลายความวุ่นวายใจได้ในระดับหนึ่ง เราจึงเริ่มลงมือปฏิบัติ เราเริ่มรู้สึกลงหลักปักฐาน กระบวนการมองด้านในทำให้เราเห็นถึงแบบแผนความคุ้นชิน ความคิดฟุ้งซ่าน ความกลัว ความคาดหวัง อีกทั้งกลวิธีต่างๆนานาที่เรางัดเอามาใช้เป็นเกราะกำบังให้กับความเปราะบางที่เราเริ่มรู้สึกจากการปฏิบัติ

? ? ? ? ? ? ?นอกจากนั้นยังมีความคิดในอีกลักษณะหนึ่งที่มักจะแวะมาเยี่ยมเยียนผู้ปฏิบัติอยู่เสมอ นั่นก็คือการพยายามจะหาคำยืนยันที่ว่า "ฉันทำถูก" เราพยายามชะเง้อมองคนข้างๆ เปรียบเทียบท่านั่งของตัวเอง ใจที่ว้อกแว้กวุ่นหาตารางการปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่า ฉันจะทำอะไรถูกต้องเหมือนคนอื่นเขา นั่นถือเป็นสัญญาณเบื้องต้นของการยื้อยุดของอัตตา ที่พยายามจะหาหลักใหม่ให้กับตนเอง อย่างน้อยก็เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยและคุ้นชินเบื้องต้นให้กับการเดินทางอันยาวไกลที่ไม่มีใครรู้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง


? ? ? ? ? ? ? ธรรมะข้อที่สอง: ความอึดอัด

? ? ? ? ? ? ? ความรู้สึกปลอดภัยที่เราพยายามสร้างขึ้นสามารถแปรเปลี่ยนเป็นความอึดอัดได้โดยง่าย โดยเฉพาะยามที่เราไม่สามารถหาสิ่งภายนอกมาสร้างความบันเทิงได้เหมือนชีวิตข้างนอก เมื่อเราไม่มีโอกาสแม้กระทั่งจะขยับตัว เดินไปไหนมาไหนได้ตามใจ กล้ามเนื้อก็เริ่มรู้สึกปวดเมื่อย เพื่อนผู้ปฏิบัติที่นั่งอยู่ข้างๆเริ่มทำให้เรารู้สึกอึดอัด รำคาญใจ ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่า เราต้องนั่งนิ่ง ขดตัวเองอยู่บนเบาะนั่งสมาธิแคบๆ เรื่องง่ายๆอย่างการตามลมหายใจเข้าออกดูจะทำให้ความอึดอัดยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เราเริ่มรู้สึกถึงแรงต้านจากภายใน ราวกับว่ามันจะระเบิดออกมาเสียให้ได้ เราเริ่มที่จะมีความคิดนึงแว้บเข้ามาเป็นระยะๆ... "พอกันที...ฉันจะออกไปจากที่นี่"

? ? ? ? ? ? ?นานๆเข้า ใจเราเริ่มสงบลง คิดอะไรมากไปก็เท่านั้น ไหนๆก็ตัดสินใจมาแล้วก็ขอลองดูสักตั้ง เมื่อเราได้ตระหนักว่า มันไม่มีอะไรจะทำ นอกจากการนั่งอยู่กับตัวเอง ความสิ้นหวังไม่มีทางไป จึงพาเรากลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ เมื่อความคิดฟุ้งซ่านดูจะเบาบางลง ความรู้สึกและอารมณ์ดูจะปรากฏให้เราได้สัมผัสอย่างชัดเจนมากขึ้น เราเริ่มเข้าใจว่าแท้จริงการฝึกภาวนาหาได้มีเป้าหมายเพื่อการกำจัดประสบการณ์อันไม่พึงปรารถนา แต่การภาวนาจะฝึกให้เราสามารถเผชิญกับประสบการณ์เหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น หลายชั่วโมงของการนั่งผ่านไป เราจึงเริ่มใส่ใจกับความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เราเฝ้ามองดูมันอย่างใกล้ชิด สังเกต สำรวจ และสัมผัสมันด้วยใจที่ค่อยๆเปิดกว้างมากขึ้น
? ? ? ? ? ? ?

? ? ? ? ? ? ? ธรรมะข้อที่สาม: ความเงียบ และ ความว่าง

? ? ? ? ? ? ? หลังจากการปฏิบัติดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง ผู้คนค่อยๆเริ่มปรับตัวกับตารางการฝึกที่เข้มข้น เรารับรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในห้องปฏิบัติอย่างชัดเจน สิ่งแวดล้อมภายในเริ่มถูกสำรวจโดยผู้ปฏิบัติ กระบวนการการเรียนรู้ด้านในค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างเป็นขั้นตอน ในตอนเช้ายามที่เราเดินเข้ามานั่งในห้องปฏิบัติ เราเริ่มสังเกตถึงความนิ่งสงบของสถานที่ เป็นความรื่นรมย์ที่แปลกใหม่แม้มันจะอยู่กับเราได้ไม่นานนักก็ตามที แค่เพียงชั่วครู่โลกที่คุ้นชินแห่งความคิดฟุ้งซ่านก็ดูจะกลับมาเยี่ยมเยือนเราอีกครั้ง ต่อมา ขณะกำลังนั่งตามลมหายใจ สติสะตังเริ่มหลุดหลงไปตามฝันกลางวันที่เราปรุงแต่งขึ้น ทันใดนั้นเราอาจจะตื่นขึ้นจากภวังค์ หันกลับมานั่งตระหนักรู้อยู่กับความเงียบที่รายรอบ ณ วินาทีนั้นเราเริ่มใฝ่ฝันที่อยากจะสร้างความสัมพันธ์กับพื้นที่ตรงนั้นของจิตใจให้ได้มากขึ้น พอใกล้จะหมดวัน เราอาจจะเริ่มรู้สึกอ่อนล้าจากการวิ่งไล่ตามความคิดฟุ้งซ่านที่มีอยู่เต็มหัว ความพยายามที่จะกลับมาตามลมหายใจดูจะไม่เป็นผล คุณรู้สึกศิโรราบ ล้มเลิกความพยายาม และยอมแพ้ เมื่อนั้นเรากลับพบตัวเองนั่งอยู่ในความสงบนิ่งโดยสมบูรณ์ ตระหนักรู้ถึงลมหายใจที่แผ่วเบาของเพื่อนข้างๆ สังเกตแสงเทียนริบหรี่หน้าพระพุทธรูป ได้ยินเสียงลมพัดกระทบทิวไม้นอกหน้าต่าง... ยิ่งเราสัมผัสได้ถึงความเงียบในห้องปฏิบัติได้มากเท่าไร เราก็ยิ่งสังเกตเห็นว่ามันไม่ใช่ความเงียบที่เราเคยรู้จักเสียแล้ว ตามปกติความเงียบเป็นช่องว่างระหว่างความคิดที่เราไม่ชอบเอาเสียเลย ความเงียบระหว่างบทสนทนาทำเรารู้สึกเคอะเขิน เรามักจะมองความเงียบเป็นการรบกวนแผนการทางความคิดที่นำมาซึ่งความรำคาญใจ น่าแปลกเหลือเกินที่ความเงียบในห้องปฏิบัติดูจะแตกต่างออกไป เรารู้สึกถึงความลึกซึ้ง ความเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของชีวิตด้านใน ความนิ่งสงบใสของจิตทำเอาเรารู้สึกราวกับว่า ณ วินาทีนั้นไม่มีสิ่งใดเคยเกิดขึ้น และไม่จำเป็นที่จะต้องมีสิ่งใดเกิดขึ้นอีกต่อไป นั่นคือชั่วขณะแห่งความรู้สึกเต็มเปี่ยมในชีวิต ที่เกิดขึ้นจากการตระหนักรู้ในศักยภาพภายในของเรา เรารู้สึกถึงจิตใจที่ขยายกว้าง ไร้เมฆหมอกขวางกั้น เป็นพื้นที่ว่างที่เปิดให้ประสบการณ์ใดๆในชีวิตได้ผ่านเข้ามาให้เราเรียนรู้โดยสะดวก ความเงียบหาใช่ความน่าเบื่อ ว่างเปล่าไม่มีอะไร ตรงกันข้าม ประสบการณ์ของการเข้าสู่ความเงียบภายในของชีวิตช่างดูมีชีวิตชีวา รื่นรมย์ และ "ตื่น"เป็นอย่างยิ่ง พอมาถึงจุดนี้ ความรู้สึกที่มีต่อการปฏิบัติภาวนาดูจะต่างไปจากเดิม วันแรกๆเรารู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ อะไรๆก็ดูจะเกร็งและติดขัดอยู่ในพื้นที่แคบๆ อันรายล้อมไปด้วยผู้คนแปลกๆที่แสนจะน่ารำคาญ เวลาส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับความคิดที่จะกลับไปสู่พื้นที่กว้างของชีวิตข้างนอก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ดึงดูดใจ ให้ความบันเทิง แต่พอมาตอนนี้พื้นที่ในห้องปฏิบัติดูจะค่อยๆกว้างใหญ่ขึ้นกว่าขอบเขตจำกัดของโลกภายนอกเสียอีก เรารู้สึกถึงอิสรภาพที่จะไปสัมผัสมุมต่างๆของชีวิตได้อย่างเสรี เป็นการออกสำรวจความเป็นไปได้อย่างไร้ขอบเขตในแง่ของประสบการณ์ตรง เป็นการค้นพบที่สดใหม่ อันดูจะตรงกันข้ามกับกระแสแห่งโลกภายนอกที่เต็มไปด้วยวงจรที่ซ้ำวนไปมาอย่างไม่รู้จบ การเข้าสู่พื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ภายในต้องอาศัยประตูแห่งความวิเวก บ่ายวันหนึ่งขณะที่ลมพัดเอาหิมะลอยกระทบหน้าต่างของห้องปฏิบัติ ความเงียบพาผู้เขียนเข้าไปสัมผัสถึงความโดดเดี่ยวที่ผู้ปฏิบัติภาวนาต่างรู้สึกร่วมกัน เราต่างคนต่างก็ก้าวเดินบนเส้นทางแห่งการแสวงหาคุณค่า และการเรียนรู้ของชีวิตนี้อย่างโดดเดี่ยว ประสบการณ์และการค้นพบของแต่ละคนไม่สามารถที่จะนำมาเปรียบเทียบกันได้ อาจกล่าวได้ว่าเรามีชีวิตอยู่บนคนละโลก หรือคนละจักรวาลเลยทีเดียว ความเข้าใจตรงนี้อาจนำมาซึ่งความเศร้าลึกๆ แต่กระนั้นมันก็ทำให้เรารู้จักเรียนรู้ที่จะเคารพและชื่นชม ในเส้นทางการปฏิบัติฝึกฝนของกันและกันอย่างเต็มหัวใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ค. 2549, 07:08:49 โดย นร... »

ออฟไลน์ นร...

  • สถานะ... ยิ้ม...
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 22
  • เพศ: ชาย
  • สุขกายสบายใจทุกท่านครับ
    • ดูรายละเอียด
    • สักยันต์
ตอบ: บนเส้นทางแห่งการภาวนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ก.ค. 2549, 07:07:33 »
ที่มา http://www.budpage.com/vijak08.shtml

บนเส้นทางแห่งการภาวนา (๒)
เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช ถักทอและร้อยเรียง

 
              ธรรมะข้อที่สี่: เสียงหัวเราะ และ คราบน้ำตา
             
              ธรรมะคือความเงียบด้านในของชีวิต แต่กระนั้น ธรรมะก็ยังพบได้ในเสียงหัวเราะและน้ำตาเช่นเดียวกัน ภายในพื้นที่แห่งการเรียนรู้อันไร้ขอบเขตของห้องปฏิบัติ มักจะมีเสียงหัวเราะหลุดออกมาเป็นช่วงๆ บางคนอาจไม่สามารถที่จะทนกับความเงียบที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้อีกต่อไป ความประหม่า หรือการสังเกตเห็นความธรรมดาที่ไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน นำมาซึ่งเสียงหัวเราะคิกคัก บ่อยครั้งที่มีเรื่องน่าขำเกิดขึ้นจริงๆ เพราะมณฑลแห่งความตื่นรู้ของทุกคนดูจะขยายกว้างอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เราต่างก็สังเกตเห็นเหตุการณ์เล็กๆในทุกรายละเอียดร่วมกัน นกน้อยอาจบินมาเกาะที่หน้าต่าง พร้อมเอาจงอยปากเคาะก๊อกๆ ราวกับมันจะพูดกับทุกคนว่า "ฮัลโหล มีใครอยู่ข้างในบ้าง" แล้วมันก็บินหนีไป ทันใดนั้นเสียงหัวเราะก็ถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมๆกันโดยมิได้นัดหมาย ทุกคนดูจะอยู่ในชั่วขณะแห่งความไม่คาดฝัน ร่วมสังเกตความหรรษาแห่งวินาทีอันศักดิ์สิทธิ์ไปพร้อมๆกัน

             พุทธธรรมยังรวมถึงน้ำตาอีกด้วย อาจมีใครในอีกมุมหนึ่งของห้องปฏิบัติกำลังเผชิญหน้ากับแง่มุมแสนเจ็บปวดของชีวิต เขาเริ่มส่งเสียงสะอื้นที่ไม่สามารถกดไว้ได้อีกต่อไป ในตอนแรกเราอาจจะรู้สึกหงุดหงิดรำคาญด้วยเหตุที่ว่า การฝึกของเราถูกขัดจังหวะ แต่เมื่อมณฑลแห่งการตื่นรู้ที่เปิดกว้างจากการฝึกฝนค่อยๆเข้าไปโอบอุ้ม รับฟังเสียงแห่งทุกข์นั้น เราเริ่มรู้สึกเห็นใจเพื่อนร่วมปฏิบัติผู้นั้นราวกับว่า เราได้ร่วมรู้สึกไปกับเขา เราอาจรู้สึกเจ็บแปลบที่หัวใจอย่างไม่มีสาเหตุ ดูเหมือนว่าน้ำตาและความโศกเศร้าของผู้ปฏิบัติจะไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคลอีกต่อไป เราเข้าใจความหมายของคำว่า "เพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย" น้ำตาที่รินไหลในห้องปฏิบัติแสดงถึงความทุกข์โศกที่เรามีร่วมกับเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ทั่วทุกแห่งหน

             ณ ชั่วขณะที่เราได้เข้าไปสัมผัสแง่มุมของชีวิตที่ลึกซึ้ง ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์จากการบ่มเพาะมณฑลแห่งความตระหนักรู้ภายใน เรารู้สึกราวกับได้ก้าวข้ามข้อจำกัดแห่งกาลเวลา รู้ตัวอีกที น้ำตาก็ไหลอาบสองแก้ม ขนอาจจะลุกซู่ไปทั่วตัว หัวใจพองโตราวกับจะทะลุออกมาข้างนอก
 
             พร้อมความรู้สึกซาบซ่านปีติทั่วสรรพางค์ เสมือนเราได้พบกับความหมายของการมีชีวิตอยู่เป็นครั้งแรก

             ประสบการณ์นั้นทำให้เรานึกถึงพระพุทธองค์ เมื่อทรงได้ยินเสียงสะอื้นแห่งความทุกข์ หัวใจของท่านก็คงจะหลอมละลาย กลายเป็นสายธารแห่งความเมตตากรุณาให้ผู้คนได้มาดื่มกิน เรารู้ได้ก็เพราะเมื่อเราได้ยินเพื่อนร่วมปฏิบัติร้องไห้ หัวใจเราก็หลอมละลายเช่นเดียวกัน ด้วยความกล้าของเพื่อนที่เต็มใจแสดงออกถึงความเจ็บปวดของเส้นทางการฝึกตนออกมาแม้เพียงเล็กน้อย สิ่งเดียวที่เราทำได้ก็คือ ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นทางความคิดใดๆ จากนั้นจึงปล่อยใจให้ได้ผ่อนพักสู่ความนิ่งสงบอันแสนอ่อนโยนของการร่วมเรียนรู้ความหมายของชีวิต

             

              ธรรมะข้อที่ห้า: "รอ"
             
              ในความเงียบและพื้นที่แห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่ในรีทรีท เราได้ค้นพบการดำรงชีวิตในอีกลักษณะหนึ่งอันเป็นหัวใจแห่งประสบการณ์การฝึกฝนที่นี่ นั่นคือชีวิตที่รู้จักรอ รอที่จะเข้าห้องน้ำ รอทานอาหารเที่ยง รอเสียงระฆังให้สัญญาณสิ้นสุดการนั่ง รอสัญญาณสิ้นสุดการเดิน รอสัญญาณบอกการเริ่มนั่งอีกครั้ง แม้กระทั่งเวลานอนเรายังต้องรอเสียงระฆังปลุกให้ตื่น จนบางทีพาลนอนไม่หลับทั้งคืนเอาเสียเลย
 
             หัวใจของการฝึกภาวนาดูจะเป็นเรื่องของการรอนี่เอง เราตามลมหายใจรอไปเรื่อยๆ คำถามก็คือ รออะไร? รอในฐานะกระบวนการ ไม่ใช่รอในฐานะจุดเริ่มต้น เราเรียนรู้ด้วยการรอ ปล่อยวางความคิด หลักการ ความคาดหวังทั้งหมด แล้วฝึกรออย่างไม่มีเงื่อนไข รออย่างไม่คาดหวังผล รอด้วยความห้าวหาญ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความไม่รู้ ...เรียนรู้ที่จะรอโดยการบ่มเพาะความตื่นรู้ภายในไปเรื่อยๆ

              ชีวิตที่แท้ผุดบังเกิดจากความเงียบอันเป็นพื้นฐานของการรับฟังเสียงด้านใน ส่วนชีวิตในแบบทั่วไปที่เราเข้าใจกัน กลับเป็นเพียงแค่ภาพมายา สะท้อนแผนการที่ปรุงแต่งขึ้นจากส่วนเสี้ยวของเหตุปัจจัยภายนอก เสียงบอกจากคนรอบกาย หรือสิ่งที่เราเลียนเอาอย่างจากชีวิตคนอื่น อันภาพมายานั้นหาใช่ความเป็นตัวเราที่แท้จริงไม่ ชีวิตที่เต็มไปด้วยแผนล่วงหน้าเหล่านั้นเป็นชีวิตปลอมๆอันแข็งทื่อ ไร้การเรียนรู้ที่จะรอ...รอที่จะเผชิญหน้ากับความไม่รู้

             การฝึกฝนการรออย่างไม่มีเงื่อนไขตลอดทั้งเดือนเช่นนี้จะเป็นประตูพาเราเข้าไปสู่ชีวิตที่แท้ อย่างที่ซูซูกิ โรชิ กล่าวไว้ว่า "การดำรงอยู่ที่แท้ผุดบังเกิดขึ้นจากความว่างภายในในทุกขณะ เมื่อเกิดขึ้น ก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่จนเหตุปัจจัยเลื่อนไหล ก็จักค่อยๆคืนกลับดับไปสู่สภาวะธรรมแห่งความว่างภายในอีกครั้ง"
             หากเราเลือกดำรงชีวิตที่ถูกกำหนดขึ้นจากแบบแผนทางความคิด และหลักการ มันก็ไม่มีที่ว่างให้เส้นทางการเรียนรู้เกิดขึ้นได้มากนัก แต่เมื่อเราตระหนักถึงข้อจำกัดของความคิดในหัวที่เรามีเกี่ยวกับตัวเรา แล้วเข้าใจความหมายของอนัตตา ที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของการมีชีวิตอยู่ในพื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบันขณะ เมื่อนั้นเราก็จะได้สัมผัสถึงชีวิตที่แท้ บนมณฑลแห่งความตื่นรู้ที่กว้างใหญ่เหนือคำอธิบายใดๆ

             

              ธรรมะข้อที่หก: สังฆะ หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้
             
             แม้ในรีทรีทจะมีผู้เข้าร่วมถึง ๑๕๐ คน และการเดินทางของแต่ละคนถือเป็นประสบการณ์ที่โดดเดี่ยวบนเส้นทางของการเรียนรู้ตนเอง ปลดปล่อยข้อจำกัดจากความยึดมั่นภายในสู่ความกว้างใหญ่ไร้ขีดจำกัดของชีวิตที่แท้ แต่ขณะเดียวกันสังฆะหรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ก็ถือเป็นส่วนสำคัญของการฝึกฝน น่าแปลกที่ว่า แม้จะไม่มีใครรู้ว่าคนอื่นผ่านประสบการณ์ด้านในอะไรบ้าง แต่เรากลับรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างไม่น่าเชื่อ ในช่วงเวลาที่มณฑลแห่งความตื่นรู้ดูจะครอบคลุมทุกความเคลื่อนไหวและทุกรายละเอียดรอบตัว เรารู้สึกราวกลับได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปด้วยกันตลอดหนึ่งเดือน เสียงหัวเราะ รอยคิ้วขมวดบนหน้า การขยับตัวไปมาอย่างงุ่นง่าน ความพยายามอย่างไม่ย่อท้อ ความเหนื่อยเมื่อยล้า ความหงุดหงิดรำคาญใจ ความเงียบสงบนิ่งไร้การเคลื่อนไหว น้ำตา เสียงสะอื้นไห้...ดูเหมือนทุกรายละเอียดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้ฝึกทุกคนไปโดยปริยาย ถึงจุดหนึ่งเรากลับรู้สึกชื่นชมกับทุกอารมณ์ความรู้สึกอย่างไม่ตัดสินดี-ชั่ว ถูก-ผิด และไม่ได้ใส่ใจติดป้ายของเขา ของเราเหมือนอย่างที่เคย ความรัก ความปรารถนาดีต่อกันดูจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ จากการที่ต่างคนต่างเฝ้าฝึกฝนเรียนรู้จักตัวเอง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ดูจะปรากฏขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยการกะเกณฑ์ใดๆจากภายนอก นั่นคือความหมายที่แท้ของสังฆะแห่งพุทธะ หรือ ชุมชนแห่งความตื่นรู้ภายในของปัจเจก
             

              ทิ้งท้ายจากผู้แปล 
           
              การฝึกภาวนาสามารถนำพาเราให้เข้าไปสัมผัสถึงศักยภาพการเรียนรู้ของชีวิตที่ลุ่มลึก ด้วยการผลักเราให้เข้าไปเผชิญกับชีวิตที่เปลือยเปล่า เป็นประสบการณ์ตรงอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเหนือคำอธิบายใดๆ

             ในทางกลับกันหากเราเอาแต่พยายามที่จะสร้างความรู้สึกปลอดภัย คิดค้นหาหลักการใหม่ๆให้แก่รูปแบบชีวิตที่เราเลือก ความประนีประนอมที่จะค้นหา "อัตตาที่พอดี" เพื่อรักษาจุดยืนที่ปลอดภัยของตัวเราเอาไว้ มันก็อาจจะนำมาซึ่งความสำเร็จผิวเผินในแบบที่เราคาดหวัง แต่นั่นหาใช่การปฏิบัติภาวนา เรียนรู้ค้นหาศักยภาพภายในตัวเองที่แท้

              เราต้องยอมรับว่า ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าอัตตาที่พอดีแต่อย่างใด เพราะอัตตาที่พอดี ก็ยังเป็นลักษณะหนึ่งของอัตตา อัตตาไม่ใช่ปีศาจร้าย ไม่ใช่เหตุปัจจัยที่จะพาเราลงสู่นรก แต่อัตตาคือข้อจำกัดของการเรียนรู้ เป็นแบบแผนความคิดล่วงหน้าตายตัวที่ขวางกั้นพลังแห่งการตื่นรู้ในปัจจุบันขณะ นั่นคือคำอธิบายที่ว่า ทำไมหัวใจของการฝึกตนในวิถีแห่งพุทธะจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในหลักอนัตตาเสมอมา

             เมื่อเราเข้าใจว่าการภาวนาคือ "กระบวนการ" ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนในทุกขณะของชีวิต คำยิ่งใหญ่ในภาษาพุทธอย่าง จิตว่าง นิพพาน การตรัสรู้ ฯลฯ ก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องถูกมองและทำความเข้าใจในฐานะส่วนหนึ่งของกระบวนการ อันตั้งอยู่บนความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยอย่างไม่แยกส่วน เหตุปัจจัยที่ว่าก็มาจากทุกอารมณ์ ทุกความรู้สึก จากการดำรงชีวิตประจำวันในทุกขณะ นั่นคือคำอธิบายที่ว่าทำไมธรรมะจึงไม่สามารถแยกออกจากชีวิตประจำวันได้

             ผู้แปลพยายามที่จะลองประดิษฐ์คำใหม่ๆ ที่ใช้อธิบายการภาวนาในแง่ของการศึกษาด้านใน (contemplative education) อันเป็นการฝึกตนเพื่อเข้าใจความหมายของชีวิตที่แท้ เช่น การผ่อนพักตระหนักรู้ มณฑลแห่งการเรียนรู้ ความตื่นรู้ตระหนักรู้ พื้นที่ว่างแห่งการเรียนรู้ ศักยภาพเหนือข้อจำกัดแห่งตัวตน ฯลฯ ภาษาเหล่านี้อาจดูลิเกไปบ้าง แต่ก็ขอวอนให้ผู้อ่านใช้ความอดทนใคร่ครวญนัยสำคัญที่ผู้แปลพยายามสื่อสิ่งที่ผู้เขียนพยายามถ่ายทอดในภาษาต่างประเทศ แต่กระนั้นการที่จะพยายามทำความเข้าใจงานแปลและบทความเกี่ยวกับการภาวนาโดยปราศจากการทดลองปฏิบัตินั้นคงเป็นไปไม่ได้ หรือหากเป็นไปได้ก็คงจะหนีไม่พ้นความเข้าใจผิดๆเสียเป็นแน่

             ผู้แปลจึงใคร่ขอเชิญชวนให้ผู้อ่านได้หันมานั่งตามลมตามรู้ ผ่อนพักตระหนักรู้ เรียนรู้กับความไม่รู้ กันดูบ้าง

             
              (แปลจาก "Waiting. Waiting. For what?" by Reginald A. Ray ตีพิมพ์ในนิตยสาร Shambhala Sun ฉบับเดือนพฤษภาคม ๒๐๐๒)

hanna

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: บนเส้นทางแห่งการภาวนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ก.ค. 2549, 04:33:31 »
ยอดมากเลยครับ? และขออนุญาติเสริมสักนิดนะครับ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?
 
เรื่อง...ผู้ดับไม่เหลือ

? ? ? ? ? อย่าเข้าใจไปว่าต้องเรียนมาก
ถ้ารู้จริงสิ่งเดียวก็ง่ายดาย
เมื่อเจ็บไข้ความตายจะมาถึง
ระวังให้ดีดีนาทีทอง
ถึงนาทีสุดท้ายอย่าให้พลาด
ด้วยจิตว่างปล่อยวางทุกสิ่งอัน
ตกกระไดพลอยกระโจนให้ดีดี
สมัครใจดับไม่เหลือเมื่อไม่เอา


 ต้องปฏิบัติลำบากจึงพ้นได้
รู้ดับให้ไม่มีเหลือเชื่อก็ลอง
อย่าพรั่นพรึงหวาดไหวให้หม่นหมอง
คอยจดจ้องให้ตรงจุดหลุดได้ทัน
ตั้งสติไม่ประมาทเพื่อดับขันธ์
สารพันไม่ยึดครองเป็นของเรา
จะถึงที่มุ่งหมายได้ง่ายเข้า
ก็ดับเราดับตนดลนิพพานฯ

? ? ? ? ? ความรู้ทุกชนิดที่โลกรู้ยิ่งเพิ่มความพลุ่งขึ้นของโลก, เป็นไปเพื่อ ความเกิด ของ ตัวตน อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ คือ การเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น.

? ? ? ? ? ส่วนความรู้เพียงประการเดียวที่เป็นไปเพื่ออิสระและผาสุก คือ การรู้เพื่อดับ ตัวตน อันเป็นการดับทุกข์ในทุกแง่.

? ? ? ? ? ความรู้นั้น คือรู้ชัดว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่า เรา ว่า ของเรา อยู่ตราบลมหายใจสุดท้ายของชีวิต.

 
 
? ? ?
 
http://www.rosenini.com/suanmokkh/chaiya/sm19.htm


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ค. 2549, 04:47:29 โดย นร... »

hanna

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: บนเส้นทางแห่งการภาวนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ก.ค. 2549, 06:32:08 »
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 ส.ค. 2549, 10:49:03 โดย นร... »