ผมไปเจอเว็บๆนึง ดีมากเลยครับ ก็เลยอยากให้ท่านสมาชิกท่านอื่นๆอ่านบ้าง
....ขณะที่สมรภูมิในสมัยโบราณนั้นงดงามด้วยธงทิวและรูปแบบการจัดกระบวนทัพ แต่ก็เป็นสถานที่ ที่อันเต็มไป ด้วยความน่าสยดสยองจากคมหอกคมดาบของแต่ละฝ่าย เพราะเป็นการรบพุ่งในลักษณะเข้าตะลุมบอน ที่แต่ละฝ่าย เข่นฆ่ากันอย่างโหดเหี้ยมต่อหน้าต่อตา ในสถานการณ์อันวิกฤตเช่นนี้ ชั้นเชิงในการต่อสู้อย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอ ผู้ที่มีกำลังใจกล้าแข็งเท่านั้นจึงจะครองสติอยู่ และสามารถถืออาวุธออกประจันหน้ากับข้าศึกต่อไปได้โดย ไม่หวาดหวั่น หรือถูกฆ่าตายไปก่อน ชินศรัทธา หรือ ความเชื่อที่นำไปสู่ชัยชนะ คือ สิ่งที่นักรบไทยแต่โบราณนำมา ใช้บ่มเพาะกำลังใจควบคู่กับการฝึกปรือฝีมือในเชิงรบตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อทางศาสนาพุทธ พราหมณ์ โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ เช่น เครื่องราง ของขลัง คาถาอาคม เป็นต้น
.....แม่ทัพนายกองจะต้องมีความรู้ในวิชาเหล่านี้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถแต่งทัพออกรบกับข้าศึกในสนามรบได้ อีกทั้งในอดีต ชายไทยทุกคนมีหน้าที่เป็นทหาร ยามเกิดศึกสงคราม สมรภูมิจึงเป็นสนามทดสอบความเชื่อโดยมี ชีวิตของตนเป็นเดิมพัน วิชาใดที่ใช้ได้จริงก็จะมีผู้รอดชีวิตกลับมาบอกเล่า และถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง ๆ ในยาม ว่างเว้นจากสงคราม นอกเหนือจากวิชาการต่อสู้อันเป็นมรดกไทยแล้ว คนรุ่นเรายังสามารถเรียนรู้ความเชื่อที่แฝงอยู่ ในวิถีชีวิตของบรรพบุรุษไทยในอดีต เพื่อทำความเข้าใจ ในรากเหง้าความเป็นมาของชาติไทยไปด้วยพร้อมๆกัน
..... ชนชาติไทย สืบทอดความเชื่อ ความศรัทธา และนับถือลัทธิพราหมณ์ มาช้านาน ก่อนจะถึงยุครุ่งเรืองของ พระพุทธศาสนา การได้รับอิทธิพลนี้จากอินเดีย ผสมร่วมกับความเชื่อของชนหลายเผ่าในท้องถิ่นเดิม จึงทำให้ คนไทยรวบรวมดัดแปลง อิทธิวิธี พิธีกรรม เลขยันต์ ต่างๆ เข้าเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตน เป็นลัทธิพุทธศาสนา อันเกี่ยวกับการใช้คาถาอาคม หรือ ลัทธิพุทธตันตระ
.....พุทธศาสนา จัดแบ่งความเชื่อในปาฏิหาริย์ ไว้ ๒ อย่างคือ
...............๑. อนุศาสนีปาฏิหาริย์ หรือ คำสอนที่เป็นความจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลจริง เป็นอัศจรรย์
...............๒. อิทธิปาฏิหาริย์ หรือ ฤทธิ์อันเป็นอัศจรรย์
.....การใช้พุทธคุณ จึงมีทั้งในรูปของ คำสวดมนต์ คาถา หัวใจพระคาถา หลายแบบหลายวิธี และในรูปของ รูป เหรียญ เครื่องราง ของขลัง ยันต์ ตะกรุด ฯลฯ ที่พระสงฆ์ ได้ กำหนดจิต ทำพิธีปลุกเสก แล้ว เชื่อว่ามี ฤทธิ์อันเกิดจากจิต มีคุณในด้านต่าง ๆ
.....ผลสำเร็จอันจะเกิดจาก คาถา หรือ เครื่องรางอื่นใด ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ใช้ คุณวิเศษจะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ จิตที่สำรวมเป็นสมาธิ ซึ่งอาจสามารถแสดง อิทธิฤทธิ์ ได้ตามภูมิ (จิตตานุภาพ) ของผู้บริกรรม
.....หากแต่ ความเชื่อเรื่อง กรรม เป็นผลจากการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ยังคงเป็น อนุศาสนี ที่พิสูจน์ได้อยู่เสมอ ความเป็นมงคลที่ดี ย่อมขึ้นอยู่กับ ความเป็นผู้มี จิตใจดีงาม มีสติอยู่เสมอ และไม่ประมาท สิ่งนี้เป็น สัจจะธรรม แห่ง พุทธคุณบริสุทธิ์ ยอดแห่งปาฏิหาริย์อันอัศจรรย์แท้ ในทุกยุคทุกสมัย
.....นักรบและนักมวยไทยในสมัยโบราณ ไม่เพียงแต่เรียนรู้การใช้อาวุธและอวัยวุธเท่านั้น หากจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้อำนาจของจิตในการต่อสู้ ทั้งจากการจูงจิต สมาธิ คาถาอาคม ว่านยา ธาตุกายสิทธิ์ และเครื่องของขลังในรูปแบบต่างๆ เพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจให้ให้เข้มแข็งมั่นคงกว่าฝ่ายตรงข้ามและปกป้องอันตรายในขณะต่อสู้ จนอาจถือได้ว่าเป็นอีกเอกลักษณ์หนึ่งของนักรบไทยทีเดียว ดังที่พบได้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน ที่สะท้อนค่านิยมและชีวิตความเป็นอยู่ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี ตัวขุนแผนเองนอกจากหน้าตาดี มีคาถาอาคมแล้ว ก็มีของวิเศษสามสิ่ง คือดาบฟ้าฟื้น กุมารทอง และม้าสีหมอก แต่เมื่อมาพบกับ ตรีเพชรกล้า ทหารเอกฝ่ายเมืองเชียงใหม่แล้ว เครื่องรางของขลังของขุนแผนก็ดูน้อยลงถนัดใจ เพราะตรีเพชรกล้ามีเครื่องรางของขลังชนิดฟูลออปชั่น คุ้มตัวตั้งแต่หัวจดเท้าเลยทีเดียว
.....ท่านอาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ได้เขียนไว้ในหนังสือ วิชาคงกระพันชาตรีว่า วิชาไสยศาสตร์ที่ทำให้มนุษย์พ้น อันตรายจากอาวุธนั้นแบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท คือ
.....เป็นวิชาที่ทำให้ร่างกายมนุษย์อยู่คงต่ออาวุธทั้งปวง ฟันแทงไม่เข้า ถ้าจะฆ่าให้ตายต้องใช้ไม้แทงทะลุทวารหนัก เท่านั้น แบ่งเป็นวิชาย่อยต่างๆ เช่น
...............๐ การเสกของกิน วิธีนี้เรียกว่าอาพัด เช่น อาพัดเหล้า อาพัดว่าน
...............๐ เสกฝุ่นผงน้ำมันทาตัว หรือปูนแดงป้ายลูกกระเดือก
...............๐ การเรียกของเข้าตัว เช่นน้ำมันงา หรือประกายเหล็กเพื่อให้คงทนเยี่ยงเหล็ก เป็นต้น
.....การเรียกประกายเหล็กเข้าตัวนี้มีกรรมวิธีที่พิศดารมาก คือ ให้นำเหล็ก ที่มีประกายเวลากระเทาะหินมานั่งับไว้ตรงรูทวารหนัก หลังจากนั้นจึงบริกรรม คาถาเรียกประกายเหล็กเข้าตัวทุกวัน เมื่อเวลาผ่านไปให้นำเหล็กกระเทาะหินดู หากหินนั้นมีประกายอยู่ให้บริกรรมต่อไป หากหินนั้นหมดประกายแล้วก็แสดงว่า ประกายเหล็กถูกเรียกเข้าตัวหมดแล้ว
.....เป็นวิชาที่ใช้ป้องกันอาวุธให้ฟันแทงไม่เข้าได้เช่นเดียวกับ วิชาคงกระพัน วิชานี้ทำให้ตัวเบากระโดดได้สูงและอาวุธที่มากระทบตัวนั้นนอกจากไม่ระคายผิวหนังแล้ว ยังไม่รู้สึกเจ็บอีกด้วย วิชานี้มีจุดอ่อน คือ หากถูกตีด้วยของเบา เช่น ไม้ระกำ ไม้โสนกลับเป็นอันตรายได้
.....เป็นวิชาที่ทำให้อันตรายที่จะมาถึงตัวนั้นหลีกเลี่ยงไป และแม้จะถูกทำร้ายซึ่งหน้าก็ดี อาวุธนั้นก็จะมีเหตุให้บังเอิญพลาดเป้าไป มีทั้งการใช้เครื่องราง เช่น ตะกรุด และคาถาอาคม วิชานี้รวมถึง วิชาพรหม 4 หน้า ที่นักมวยคาดเชือกใช้บริกรรมเพื่อให้คู่ต่อสู้ชกไม่ถูกเพราะเห็นเป็นหลายหน้าด้วย
....เป็นวิชาที่เกิดขึ้นในชั้นหลัง ใช้กันปืนให้เกิดอาการขัดลำกล้อง ยิงไม่ออก ดังคำว่า อุด มีทั้งที่เป็นคาถาภาวนา และเครื่องรางเช่น ตะกรุดที่อุดหัวอุดท้ายแล้ว ตลอดจนกระทั่งลูกปืนที่ด้านแล้วก็นำมาใช้ลงคาถามหาอุดเช่นเดียวกัน ด้วยถือคติว่าแม่ย่อมไม่ฆ่าลูก ผู้ใช้จะปลอดภัยไปด้วย
.....วิชานี้แม่ทัพนายกองในสมัยโบราณใช้คุ้มกันทหารในกองทัพ มักนิยมเสกน้ำมัน ใช้ปูนป้ายลูกกระเดือก หรือเสกหมากให้กินก็ได้
.....วิชานี้กล่าวว่าเมื่อผู้ฝึกถึงขั้นจะสามารถ กำบังตนและพาหนะไม่ให้คู่ต่อสู้มองเห็นได้
*ซึ่งยังมีวิชาปลีกย่อยอีกมากมายในตำราพิชัยสงครามที่อาจจัดเข้าหมวดหมู่ที่จัดไว้หรือแยกไปตากหาก เช่น สมานแผล เป็นต้น
ชุดประเจียดหัวและแขนของครูทอง
.....หากใครเคยชมภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ไทย จะพบว่านักรบไทยมีผ้าสีแดงรัดต้นแขนหรือโพกศีรษะขณะเข้าสงคราม นี่คือ ผ้าประเจียด ซึ่งเป็นเครื่องรางที่นักมวยไทยนำมาใช้ผูกตัว เมื่อเข้า มักทำจากผ้าสีแดงหรือผ้าขาวบาง อย่างดีจากประเทศอินเดียที่
เรียกว่า ผ้าสาลู ตัวผ้าประเจียดนั้นจริงๆแล้ว คือ ผ้ายันต์ที่พับเข้าเป็นแถบ หรือม้วนเป็นวง เพื่อสะดวกต่อการใช้ผูกแขนหรือศีรษะนั่นเอง บนผืนผ้านั้นเกจิอาจารย์จะลงเลขยันต์ประเภท มหาอำนาจ, ชาตรีมหายันต์ หรืออาจนำ ตะกรุดแผ่น บรรจุไว้ด้วย ก่อนนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก เพื่อเพิ่มพูนความศักดิ์สิทธิ์ สำหรับนักมวยนั้นมีมงคลสวมศีรษะอยู่แล้ว ก็จะนำผ้าประเจียดมารัดต้นแขนเพื่อเป็นสิริมงคล
.....สำหรับนักมวยสายไชยา มักนิยมสวมผ้าประเจียด เพียงอย่างเดียว เรียก ประเจียดหัว กับ ประเจียดแขน เมื่อศิษย์จะทำการตีมวย ครูบาอาจารย์ท่านจะนำประเจียดทั้งสองชนิดมาเสกเป่าด้วยพระคาถา พร้อมทั้งเจิมประแจะเสกลงที่หน้าผาก ก่อนการสวมประเจียดหัว ประเจียดแขน
....................................
.....เรื่องราวของผ้าประเจียดที่โด่งดังในประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ คือเหตุการณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่พระครูแช่ม วัดฉลองได้ทำพิธีปลุกเสกผ้าประเจียดให้กับชาวภูเก็ตเพื่อรบกับอั้งยี่จนประสพชัยชนะ
................................................
.....มงคลเป็นเครื่องรางสำหรับสวมศีรษะ มักทำจากผ้าแถบผืนแคบๆ ที่ลงยันต์แล้วม้วนพันด้วยด้ายสายสิญจ์ หลังจากนั้นจึงหุ้มด้วยผ้าลงอาคมขดเป็นวงแล้วทิ้งหางยาวไว้ด้านหลัง หรืออาจทำจากเชือกขด หรือสายสิญจ์หลายเส้น นำมาขวั้นรวมกันเป็นเส้นใหญ่แล้วหุ้มผ้าประเจียดก็ได้ นักมวยแต่ละภาคก็จะมีมงคลเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง (เว้นแต่มวยไชยาเท่านั้นที่ใช้ผ้าประเจียดสวมศีรษะแทนมงคล) และเนื่องจากมงคลมิใช่เครื่องประดับแต่เป็น เครื่องรางเพื่อคุ้มครองนักมวยตั้งแต่เบื้องศีรษะลงมา จึงถือเป็นประเพณี ว่าต้องให้ครูมวยเป็นผู้สวมให้โดยขณะสวม ครูมวยแต่ละสำนักก็มักบริกรรมคาถากำกับไปด้วยและที่สำคัญนักมวยจะไม่ถอด ประเจียด หรือ มงคลออก ขณะตีมวยกัน
.....พิรอดคล้ายกับประเจียดแต่ต่างกันที่มีกรรมวิธีที่ซับซ้อนกว่า โดยเริ่มจากการนำผ้าลงยันต์มาม้วนเป็นเส้น แล้วชโลมด้วยน้ำข้าว เพื่อให้ผ้ายันต์ม้วนตัวกันแน่นเป็นเส้นก่อนนำด้ายสายสิญจน์มามัดทับผ้ายันต์ไว้ให้สวยงาม ถักขึ้นรูปเป็นพิรอดและเข้าพิธีปลุกเสก หลังจากนั้นจึงทดสอบความขลังด้วยการเผาไฟ วงใดไฟไม่ไหม้ จึงจะนำไปลงรักน้ำเกลี้ยงและปิดทองเพื่อความสวยงาม ตัวพิรอดมีหลายรูปแบบ ทั้งแหวนพิรอด พิรอดสวมต้นแขน หรือพิรอดมงคลสวมหัวที่ขึ้นชื่อในหมู่นักสะสมเครื่องราง คือ แหวนพิรอดของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา
.....ขวานฟ้า จัดอยู่ในหมวดธาตุกายสิทธิ์ เป็นหินมีรูปร่างคล้ายขวาน นักมวยคาดเชือกในสมัยโบราณถือเป็น เครื่องคาดเครื่องราง ที่จะใส่ไว้ในซองมือระหว่างพันหมัดด้วยด้ายดิบก่อนการตีมวย คนโบราณเชื่อกันว่า ขวานฟ้ามีฤทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ จะพบได้บริเวณที่มีฟ้าผ่าลงดินและคนมีบุญบารมีเท่านั้นที่จะขุดพบ นอกจากนี้ท่านยังใช้เป็นเครื่องมือรักษาโรค กดที่บวม และบดเป็นยา เชื่อกันว่าหากเอาขวานฟ้าไว้ในยุ้งข้าว ข้าวจะไม่พร่อง วางขวานฟ้าไว้ที่ลานตากข้าวเปลือก ไก่ป่าจะไม่เข้ามาจิกกิน บางจังหวัดในภาคกลาง ใช้ไล่ผีโดยให้เอาขวานฟ้าซุกไว้ใต้ที่นอนคนที่มีผีเข้า นอกจากนี้ในบ่อนไก่บางแห่ง ยังใช้ขวานฟ้าบด เพื่อใช้รักษาตาไก่ที่แตกเป็นแผล
*หมายเหตุ
.....วิชาโบราณคดี กล่าวถึงขวานฟ้าว่า เป็นขวานหิน แหล่งที่พบมักมีร่องรอยของหลักฐานด้านสังคมเกษตร และการใช้ภาชนะดินเผา จึงเรียกชุมชนของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในยุคนี้ว่า มนุษย์ยุคหินใหม่ หรือ ยุคสังคมเกษตรเริ่มต้น
.....ขวานหินพบเห็นอยู่ทั่วไป ในทุกภาคของประเทศไทย มีหลายขนาด แยกออกได้เป็น ๒ แบบ คือ ขวานหินขัด และ ขวานหินกะเทาะ มีอายุประมาณ ๖-๔ พันปี
.....ตะกรุด คือ แผ่นโลหะลงยันต์ศักดิ์สิทธ์ เช่น ยันต์อิติปิโสกลบท นำมาม้วนเป็นวง และปลุกเสกด้วยกำลังจิต ตามกรรมวิธีโบราณของเกจิอาจารย์แต่ละท่าน ใช้ร้อยเชือกผ่านรูตรงกลางแล้วนำมาห้อยคอหรือคาดเอว โดยหวังผลทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาดและคงกระพันชาตรี ตระกรุดมีหลายขนาด หากเป็นตะกรุดขนาดใหญ่ ใช้ห้อยคอหรือเอวเพียง ชิ้นเดียว เรียกว่า ตะกรุดโทน ฯลฯ
....หากใครเคยได้เห็นการร่ายรำไหว้ครูของมวยไชยา และออกเป็นคนช่างสังเกตสักหน่อยจะพบว่าหลังจากนักมวยถวายบังคมพระมหากษัตริย์แล้ว นักมวยจะนั่งยองลงบริกรรมคาถาและก้มลง กราบที่พื้น๓ ครั้งแล้ว นักมวยจะยืนขึ้นสำรวมกาย พร้อมกับยกนิ้วหัวแม่มือขึ้นอุดที่รูจมูกทีละข้าง สูดลมหายใจเข้าออกช้า ๆ จึงกระทืบเท้าตั้งท่าครูแล้วร่ายรำมวย ล่อหลอก คุมเชิง ดูคู่ต่อสู้ ที่จริงแล้วนี่คือวิชาตรวจลมหายใจ หรือตรวจ "ปราณ" ที่สืบทอดมาแต่ครั้งโบราณ
.....ด้วยว่า มวยไทยนั้น เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย อันประกอบด้วย วิทยาการต่อสู้แบบฉบับเฉพาะของคนไทย และยังประกอบไปด้วย ประเพณี พิธีกรรม อันดีหลายอย่าง ที่บ่งบอกถึงความเป็นคนกล้าหาญ เข้มแข็ง อีกทั้งยัง อ่อนน้อม ถ่อมตน รู้คุณ กตัญญู กตเวที ต่อชาติ ต่อครูบาอาจารย์ คุณธรรมเหล่านี้ ได้ถูกแสดงออกด้วย ประเพณี พิธีกรรม และขั้นตอนต่างๆ อย่างมีหลักเกณฑ์ ด้วยจิตคารวะของผู้เป็นศิษย์ ผู้มีจรรยา สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของชาติ
.....ผู้สมัครแจ้งความประสงค์ ขอเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ เพื่อรับการอบรม สอนสั่ง วิทยาการต่าง จากครู โดยมากใช้ วันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็น วันครู เมื่อผู้สมัครกล่าวแนะนำตนแล้ว ครูก็จะพูดคุยซักถาม ประวัติความเป็นมา และดูกิริยาท่าทาง ว่าสุภาพ เรียบร้อย มีสัมมาคารวะ เป็นผู้ที่เหมาะสมจะได้รับการอบรมสั่งสอนหรือไม่
....เมื่อครู พอใจแล้ว จึงรับผู้สมัคนั้นเข้าเป็นศิษย์ ถ่ายทอดศิลปะวิทยา โดยให้ศิษย์อยู่ฝึกฝนในสำนักตนสักระยะหนึ่ง ครูจึงค่อยพิจารณา หากเห็นว่า ศิษย์มีความขยันหมั่นเพียร ฝึกซ้อมทำตามแบบวิชาที่สอนเบื้องต้นได้ดีพอควรแล้ว อีกทั้งมีอุปนิสัยดี ครูจึงจะเรียกศิษย์ผู้นั้นให้มา ขึ้นครู อีกครั้งหนึ่ง
.....( ในยุคที่ ครูทอง สอนอยู่นั้น ครูมักจะพูดเสมอว่า หากใครที่ยัง ทำท่าไหว้ครู ไม่ได้ หรือ ครูยังไม่ได้รับรองว่า ผู้นั้นสามารถ รับเตะรับต่อย ได้คล่องแล้ว อย่าบอกว่า เรียนมวยไชยา )
การขึ้นครู
..........
....." การขึ้นครู " เป็นการแสดงความคารวะ และรับสัตย์ เบื้องต้น เท่ากับสมัครตัว ยอมใจ เข้าพวก และรับการอบรม สั่งสอน มารยาทและวัฒนธรรม เพื่อดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบปราศจากศัตรู หรือรู้จกประพฤติและวางตน รู้จักคบ และสงวนบุคคล ไว้เป็นที่พึ่ง " (ปรมาจารย์ เขตร์ ศรียาภัย )
.....ในการทำ พิธีขึ้นครู นั้นครูจะเป็นผู้เลือกวัน ตามฤกษ์ยาม และกำหนด สิ่งของที่จะใช้ในพิธี อย่างเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน ขันน้ำ ผ้าขาวม้า เงิน ฯลฯ
.....พิธีจะกระทำต่อหน้า พระพุทธรูป ศิษย์รับศีลห้า และกล่าวคำขอขึ้นครู พร้อมสาบานตน ครูกล่าวรับเป็นศิษย์ และให้โอวาท เป็นเสร็จพิธี
........
.....การขึ้นครูนั้น บางครั้ง ครูจะเป็นผู้เลือกศิษย์เอง ด้วยเห็นในความสามารถ หรือความเหมาะสม อื่น ๆ
.....เป็นพิธีสำคัญ ในการมอบหมายให้ศิษย์ ที่ครูไว้วางใจในทุกด้าน ให้เป็นผู้สืบทอด ส่งต่อวิชาได้มี ศักดิ์ และ สิทธิ์เทียบเท่าครู
..... นักมวยที่จะทำการตีมวย ต่อหน้าพระที่นั่ง จะต้องกระทำการถวายบังคมเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่ง ความกตัญญูรู้คุณ ต่อแผ่นดิน และจงรักภักดีต่อพ่อบ้านพ่อเมือง และเพื่อเป็นการขอพระราชทานอภัยโทษด้วยเหตุ ที่จะต้องมีการกระทำกิริยาอันไม่เหมาะไม่ควร ต่อเบื้องพระพักต์ขององค์พระมหากษัตริย์ อันเป็นประเพณีที่กระทำ สืบต่อกันมานาน
.....การไหว้และขอขมา ประเพณีนิยมอย่างหนึ่งซึ่งเราชาวไทยมักเห็นกันเสมอ เมื่อมีการแสดงการละเล่น กระบี่กระบอง และมวยไทย จบลงฝ่ายชนะหรือทั้งสองฝ่ายจะนั่งคุกเข่าพนมมือไหว้ฝ่ายที่นอนอยู่หรือไหว้ ซึ่งกันและกัน คนไทยเป็นผู้ที่มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นวัฒนธรรมที่ทั่วโลกยกย่องสรรเสริญ การแสดงออกด้วยการ ไหว้แลการขอขมาซึ่งกันและกันนี้ ก็นับเป็นศิลปะวัฒนะธรรมที่ควรสืบทอดอนุรักษ์ให้ดำรงอยู่ควรคู่ลูกหลานไทย สืบไป
ที่มา :
http://www.muaychaiya.com