ผู้เขียน หัวข้อ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ  (อ่าน 34435 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

TUM

  • บุคคลทั่วไป
สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 03:23:00 »
บทนำ อาฏานาฏิยะปะริตตัง


อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ ปะริสานัญจะ
ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
___________________


อาฏานาฏิยะปะริตตัง

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิส
สะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน เวสสะภุสสะ นะมัตถุ
นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระ
เสนัปปะมัททิโน โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ
วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง
ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง เย จาปิ นิพพุตาโลเก
ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะ
สาระทา หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส สะระณัง
กะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร โกณฑัญโญ ชะนะ
ปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ สุมาโน สุมาโน ธีโร
เรวะโต ระติวัฑฒะโน โสภีโต ถุณะสัมปันโน อะโนมะ
ทัสสี ชะนุตตะโม ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระ
สาระถี ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ อัตถะทัสสี
การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร ปุนโน จะ วะระโท พุทโธ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู
สุขะทายะโก กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญ
ชะโห กัสสะโป สิริสัมปันโน โคระโม สักยะปุงคะโว ฯ
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อัเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต
ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง สีหะนาทัง นะทันเตเต
ปะริสาสุ วิสาระทา พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะ
ฏิวัตติยัง อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ทวัตติงสะ ลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา พยา
มัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา
สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา มะหัปปะภา
มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา
สัพเพสานัง สุขาวะหา ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา
เลณา จะ ปาณินัง คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ
หิเตสิโน สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรา
ยะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม วะจะสา
มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน
ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา สะทา สุเขนะ รักขันตุ
พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต
สัพพะภะเยนะ จะ สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตา
ปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง
ภะวะ ฯ เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะฯ
ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ
ตุมเห อันุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ทักขิณัสมิง
ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ
นาคา มิหิทธิกา เตหิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ
สุเขนะ จะ อุตตะรัสมิง ทิสา ภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทิกขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ
วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง จัตตาโร เต มะหาราชา
โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรเยนะ สุเขนะ จะ อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา
เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ
อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง นัตถิ เม
สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสถี ภะวันตุ
เต ฯ ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะ เตเชนะ โสตถินา นัสสันตุ
ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา ธัมมะ
ระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง
ธัมมะเตเชนะ โสตถินา นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา
วูปะสะเมนตุ เต สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต
ภะวัตตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ อะภิวาทะนะสีลิสสะ
นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุวัณโณ
สุขัง พะลัง ฯ

คำแปล


บทขัดตำนาน อาฏานาฏิยปริตร

อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ, สาสะเน สาธุสัมมะเต, อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ, สะทา กิพพิสะการิภิ, ปะริสานัญจะตัสสันนะมะหิงสายะ จะ คุตติยา, ยันเทเสหิ มะหาวีโร/ พระพุทธเจ้า ผู้แกล้วกล้าใหญ่ยิ่ง ทรงแสดงพระปริตรอันใด เพื่อความไม่เบียดเบียนกันด้วย เพื่อความคุ้มครองตนด้วย แก่บริษัทสี่เหล่า อันเกิดจากอมนุษย์ที่ร้ายกาจกระทำซึ่งกรรมอันหยาบช้า ทุกเมื่อ ผู้มิได้เลื่อมใสในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่ พึ่งของโลก อันสัตบุรุษสมมติว่า เป็นศาสนาอันดี / ปะริตตันตัมภะณามะ เห / เราทั้งหลาย จงสวดปริตรอันนั้น เทอญ ฯ

อาฏานาฏิยปริตร
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ / ความนอบน้อมแห่งข้าพเจ้าจงมีแด่พระวิปัสสีพุทธเจ้า / จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต / ผู้มีจักษุ ผู้มีสิริ / สิขิสสะปิ นะมัตถุ ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระสิขีพุทธเจ้า / สัพพะภูตานุกัมปิโน / ผู้ปกติอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง / เวสสะภุสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระเวสสภูพุทธเจ้า / นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน /ผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว ผู้มีตปะ/ นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกกุสันธพุทธเจ้า / มาระเสนัปปะมัททิโน / ผู้ย่ำยีเสียซึ่งมารและเสนา / โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระโกนาคมพุทธเจ้า / พราหมะณัสสะ วุสีมะโต / ผู้มีบาปอันลอยแล้ว ผู้มีพรหมจรรย์อันอยู่จบแล้ว/ กัสสะปัสสะ นะมัตถุ /ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระกัสสปพุทธเจ้า / วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ / ผู้พ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง / อังคีระสัสสะ นะมัตถุ / ความน้อมน้อมแห่งข้าพเจ้า จงมีแด่พระอังคีรสพุทธเจ้า / สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต /ผู้เป็นโอรสแห่งศากยราชผู้มีสิริ/ โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ / พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมนี้ / สัพพะทุกขาปะนูทะนัง / เป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง / เย จาปิ นิพพุตาโลเก/ อนึ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดก็ดีที่ดับกิเลสแล้วในโลก / ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น เป็นคนไม่มีความส่อเสียด / มะหันตา วีตะสาระทา / ผู้เป็นใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / หิตัง เทวะมะนุสสานัง, ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง / เทพดาและมนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมอยู้ซึ่งเป็นพระพุทธเจ ้าพระองค์ใด ผู้เป็นโคตมโคตร ผู้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย / วิชชาจะระณะสัมปันนัง/ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ/ มหันตัง วีตะสาระทัง / ผู้ใหญ่ผู้มีความครั่นคร้ามไปปราศแล้ว / วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โคตมโคตรผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ / เอตอ จัญเญ จะ สัมพุทธา / พระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี / อะเนกะสะตะโกฏะโย / หลายร้อยโกฏิ/ สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมดเสมอกันไม่มีใครเหมือน / สัพเพ พุทธา มะหิธิกา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนประกอบแล้วด้วยทศพลญาณ/ เวสารัชเชหุปาคะตา / ประกอบไปด้วยเวสารัชชญาณ / สัพเพ เต ปะฏิชานันติ / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนตรัสรู้อยู่ / อาสะภัณฐานะมุตตะมัง / ซึ่งอาสภฐานอันอุดม/ สีหะนาทัง นะทันเต เต, ปะริสาสุ วิสาระทา/ พระพุทธเจ้าเหล่านั้นเป็นผู้องอาจไม่ครั่นคร้ามบันลื อสีหนาทในบริษัททั้งหลาย / พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ / ยังพรหมจักรให้เป็นไป/ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง / อันใครๆยังไม่ไดให้เป็นไปแล้วในโลก / อุเปตา พุทธะธัมเมหิ /พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นประกอบแล้วด้วยพุทธธรรม ทั้งหลาย/ อัฏฐาระสะหิ นายะกา / 18 เป็นนายก/ ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา / ผู้ประกอบด้วยพระลักษณะ 32 ประการ และทรงซึ่งอนุพยัญชนะ 80 / พยามัปปะภายะ สุปปะภา / มีรัศมีอันงามด้วยพระรัศมี มีมณฑลข้างละวา/ สัพเพ เต มุนิกุญชะรา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้น้วนเป็นมุนีอันประเสริฐ / พุทธา สัพพัญญุโน เอเต /พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นพระสัพพัญญู/ สัพเพ ขีณาสะวา ชินา / ล้วนเป็นพระขีณาสพ ผู้ชนะ / มะหัปปะภา มะหาเตชา/ มีพระรัศมีอันมาก มีพระเดชอันมาก / มะหาปัญญา มหัปผะลา / มีพระปัญญามาก มีพระกำลังมาก / มะหารุณิกา ธีรา / มีพระกรุณามาก เป็นนักปราชญ์/ สัพเพสานัง สุขาวะหา/ นำสุขมาเพื่อสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง/ ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ / เป็นเกาะ เป็นที่พึ่งและเป็นที่อาศัย/ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง/ เป็นที่ต้านทานเป็นที่เร้นของสัตว์ / คะตี พันธู มะหัสสาสา / มีคติ เป็นเผ่าพันธุ์ เป็นที่ยินดีมาก / สะระณา จะ หิเตสิโน / เป็นที่ระลึกและแสวงหาประโยชน์/ สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ/ เพื่อสัตว์โลกกับเทวโลก/ สัพเพ เอเต ปะรายะนา / พระพุทธเจ้าเหล่านั้นล้วนเป็นเบื้องหน้าของสัตว์ / เตสาหัง สิระสา ปาเท, วันทามิ ปุริสุตตะเม, วะจะสา มะนะสา เจวะ, วันทาเมเต ตะถาคะเต /ข้าพเจ้าขอวันทาพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั ้นด้วยเศียรเกล้าและขอวันทาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่า นั้นผู้เป็นบุรุษอันอุดมผู้เป็นตถาคต ด้วยวาจาและใจทีเดียว/ สะยะเน อาสะเน ฐาเน / ในที่นอนด้วย ในที่นั่งด้วย ในที่ยืนด้วย/ คะมะเน จาปิ สัพพะทา / แม้ในที่เดินด้วยในกาลทุกเมื่อ/ สะทา สุเขนะ รักขันตุ, พุทธา สันติกะรา ตุวัง /พระพุทธเจ้า ผู้กระทำความระงับ จงรักษาท่านด้วยความสุขในกาลทุกเมื่อ / เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต/ ท่านผู้อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงรักษาแล้ว จงเป็นผู้ระงับ / มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ, สัพพะโรโค วินิมุตโต/ พ้นแล้วจากภัยทั้งปวง / สัพพะสันตาปะวัชชิโต / เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง / สัพพะเวระมะติกกันโต / ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง / นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ/ ท่านจงเป็นผู้ดับทุกข์ทั้งปวงด้วย / สัพพีตีโย วิวัชชันตุ / ความจัญไรทั้งปวงจงเว้นไป / สัพพะโรโค วินัสสะตุ / โรคทั้งปวงจงฉิบหายไป/ มา เต ภะวัตวันตะราโย / อันตรายอย่าได้มีแก่ท่าน / สุขี ทีฆายุโก ภะวะ / ขอท่านจงเป็นผู้มีสุขมีอายุยืน / อะภิวาทะนะสีลิสสะ, นิจจัง วัฑฒาปะจายิโน, จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง / ธรรมทั้งปลาย 4 คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคล ผู้มีความไหว้ต่อบุคคลผู้ควรไหว้เป็นปกติ ผู้อ่นน้อมต่อบุคคลผู้เจริญเป็นนิตย์ ฯ

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 03:27:37 »
โองการท้าวมหาราชเวสสุวัณ


ขอเหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์ มีสัมมาทิฐิทั้งหลาย รับฟังโองการแห่งท้าวเวสสุวรรณ

มหาราชผู้เป็นใหญทางทิศอุดร


ขอทรงปกป้องพระพุทธศาสนา จากมิจฉาทิฐิ

ปกป้องเหล่าสาธุชน จากเหล่าพาลทั้งมวล

อำนวยทางสะดวก แก่นรชน ผู้มีคุณธรรม ทั้งทางโลกและทางธรรม

สิ่งใดเคยล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ โดยไม่รู้ หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

ขอท่านทั้งหลายอโหสิกรรม เพื่อการสำรวมระวังในการต่อไป



ตำนานพระปริตร : อาฏานาฏิยปริตร

บทขัดอาฏานาฏิยปริตร


องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นมหาวีรบุรุษ ทรงแสดงพระปริตรใด เพื่อคุ้มกันพุทธบริษัททั้ง ๔ มิให้ถูกเบียดเบียน จากอมนุษย์ทั้งหลาย ที่ดุร้ายสันดานหยาบช้า ไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายรับรองแล้วว่า เป็นศาสนาดีทุกเมื่อ ท่านผู้เจริญทั้งหลายพึงสวดพระปริตรนั้นเทอญ

ตำนาน

สมัยหนึ่งสมเด็จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์มหานคร ในครั้งนั้น ท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ซึ่งสถิตย์อยู่เหนือยอดเขายุคันธร ที่เรียกว่าชั้นจาตุมหาราชิกา อันเป็นชั้นต่ำกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาซึ่งเป็นที่สถิตย์ขององค์อินท ราธิราช

พระอินทร์ ทรงมีเทวะพระบัญชาให้มหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่เฝ้ารักษาประตูสวรรค์ในทิศทั้ง ๔ เพื่อป้องกันมิให้พวกอสูรมารบกวน โดยมี

ท้าวธตรฐ ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา
ท้าววิรุฬหก เป็นเจ้าแห่งกุมภัณฑ์ รักษาทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักษ์ เป็นเจ้าแห่งนาคทั้งปวง รักษาทิศปัจจิมท้าวเวสวัน เป็นเจ้าแห่งยักษ์ รักษาทิศอุดร

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีจิตเลื่อมใสศรัทธา ปรารถนาจะเกื้อกูลพระพุทธศาสนา มิให้พวกอสูร หรือพวกศัตรูมาย่ำยีบีฑา แด่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระบรมสุคตเจ้า

จึงคิดจะชวนกันลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ก็ห่วงภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความสงบเรียบ ร้อยในประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ มหาราชทั้ง ๔ จึงมีบัญชาแต่งตั้งให้ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ อย่างละแสนรักษาประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งก็ให้พวกคนธรรพ์ รักษาทิศบูรพา กุมภัณฑ์รักษาทิศทักษิณ นาครักษาทิศปัจจิม ยักษ์รักษาทิศอุดร

ครั้นแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ได้ประชุมพร้อมกันที่ อาฏานาฏิยนคร ณ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พร้อมกับผูกมนต์อาฏานาฏิยปริตร ซึ่งมีเนื้อความสรรเสริญคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั ้ง ๗ พระองค์ มี

พระวิปัสสี ผู้มีสิริอันงาม
พระสิขี พุทธเจ้า ผู้มากด้วยการอนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งปวง
พระเวสสภู พุทธเจ้า ผู้ปราศจากกิเลส มีตบะ
พระกกุสันธะ พุทธเจ้า ผู้มีชัยชนะแก่พญามารและเสนามาร
โกนาคมนะ พุทธเจ้า ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วมีพรหมจรรย์อันจบแล้ว
กัสสปะ พุทธเจ้า ผู้พ้นวิเศษแล้ว จากกองกิเลสทั้งปวง
พระอังคีส พุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสแห่งหมู่ศากยราช ผู้มีศักดิ์ มีสิริ ดัง นี้เป็นต้น

ครั้นผูกมนต์พระปริตรแล้ว ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงประกาศแก่บริวารของตนว่า ธรรมอาณาจักรของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นบรมครูของเราทั้ง ๔ ถ้ามีผู้ใดสาธยายมนต์ อาฏานาฏิยปริตร นี้ขึ้น แล้วถ้าใครไม่เชื่อฟัง ไม่สดับ จะต้องถูกลงโทษอย่างสาสม รุนแรง

และแล้วมหาราชทั้ง ๔ ก็พร้อมใจกันลงมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ภูเขาคิชฌกูฏ กราบบังคมทูลว่าหมู่ยักษ์ทั้งหลาย หมู่นาคทั้งหลาย หมู่กุมภัณฑ์ทั้งหลาย และหมู่คนธรรพ์ทั้งหลาย ผู้มีเดช มีศักดา มีอานุภาพ มีจิตกระด้างหยาบช้า ละเมิดเบญจศีลเป็นอาจิณ ที่ยังไม่เลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยนั้นมีมากพวกที ่เลื่อมใสนั้นมีน้อย

เมื่อพระสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ในที่ห่างไกลจากมนุษย์สัญจร อมนุษย์ผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมจะย่ำยี หลอนหลอก กระทำให้เจ็บไข้เป็นอันตรายแก่ชีวิตและพรหมจรรย์ แต่ต่อนี้ไปจะไม่บังเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีกแล้ว ถ้าพระบรมสุคตเจ้าทรงพระกรุณาโปรดรับมนต์อาฏานาฏิยปร ิตรนี้ไว้ แล้วโปรดประทานให้พระภิกษุสาวก สาธยายอยู่เนือง ๆ อมนุษย์ทั้งปวงก็จะมิกล้าย่ำยีหลอนหลอกทำร้าย อีกทั้งยังจะช่วยปกป้องคุ้มครอง กันภัยทั้งปวงให้อีกด้วยพระเจ้าข้า

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับมนต์พระปริตรนั้นโดยดุษฏี

ท้าวเวสวัณ ก็แสดงอาฏานาฏิยปริตรนั้นถวายและแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ก็ถวายมนัสการลา

สมเด็จพระบรมศาสดา จึงทรงมีพระบัญชาให้ประชุมภิกษุทั้งหลายในที่นั้น แล้วทรงแสดงมนต์พระปริตรนั้นให้แก่ภิกษุทั้งหลายได้เ รียนสาธยาย เสร็จแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงอุตสาหะ สาธยายมนต์พระปริตรนี้ให้บริบูรณ์ในสันดาน จะพ้นจากอุปัทวันอันตรายทั้งปวงได้ อมนุษย์ทั้งหลายก็จะไม่มาย่ำยี หลอนหลอก เธอทั้งหลายจะได้ดำรงค์อยู่เป็นสุข เพื่อยังพรหมจรรย์ให้เจริญ

ภิกษุเหล่านั้นก็เปล่งสาธุการ น้อมรับด้วยเศียรเกล้า จบ

TUM

  • บุคคลทั่วไป
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 03:31:06 »
การสวดภาณยักษ์ เป็นคำที่บางคนอาจจะยังไม่เคยได้ยิน แต่สำหรับคนต่างจังหวัดจะคุ้นเคยกับการสวดภาณยักษ์ดี ปัจจุบันในกรุงเทพฯก็มีหลายวัดจัดการสวดภาณยักษ์ขึ้น และมีผู้เข้าร่วมพิธีมากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ในอดีตการสวดภาณยักษ์มีอยู่สองแบบคือ สวดภาณวาร และ
สวดภาณยักษ์ ซึ่งการสวดทั้งสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันคือ

การสวดภาณวาร เป็นการสวดแบบมีทำนองครุ ลหุ คือมีการเน้นเสียงหนักเบา ใช้น้ำเสียงสวดที่ไพเราะ ไม่กระแทกกระทั้นดุดัน เหมือนการสวดภาณยักษ์

การสวดภาณยักษ์ เป็นการสวดที่มีน้ำเสียงกระแทกกระทั้นดุดัน เกรี้ยวกราดและน่ากลัว จึงได้เรียกว่า สวดแบบภาณยักษ์นั่นเอง ใช้สวดเพื่อขับไล่ยักษ์หรือภูตผีต่างๆ

การสวดภาณยักษ์ได้เริ่มมีขึ้นในประเทศไทย เข้าใจว่าตั้งแต่ครั้งสมัยของพ่อขุนรามคำแหงทีเดียว ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระสงฆ์ทางลังกาสายเถรวาท โดยเริ่มเข้ามาทางด้านจังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อได้เสด็จเมืองนครศรีธรรมราช จึงได้นำมาจัดเป็นพิธีประจำปี สำหรับพระนคร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พระนคร และแก่พระเจ้าแผ่นดิน

ด้วยความเชื่อที่ว่า บ้านเมืองหนึ่งๆ จะมีผีที่ดีและผีที่ไม่ดีอาศัยอยู่ ผีที่ไม่ดีเรียกว่า ภูติผีปิศาจ ส่วนผีที่ดีเรียกว่า เทพยดา การที่บ้านเมืองมีเหตุเพทภัยต่างๆเกิดขึ้นนั้น ก็เป็นเพราะเกิดจากภูติผีปิศาจ กลั่นแกล้งบันดาลให้เป็นไป ซึ่งก็มักจะแยกกันออกไปว่า เทพเจ้าที่ดี เป็น เทวดา และในทางตรงกันข้าม ที่ดุร้าย คือ ยักษ์ แต่ก็ไม่มีบทสรุปลงไปแบบฟันธง เพราะเทวดาเกเรก็มีมาก ส่วนยักษ์ที่มีคุณธรรมก็มีไม่น้อย อย่างเช่น ท้าวเวสสุวัณ
ดังนั้นเมื่อสิ้นปีหนึ่งไป จึงได้ทำพิธีสวดภาณยักษ์ เพื่อเป็นการขับไล่ภูตผีกันสักครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคล และความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมือง และแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งปวง

นอกจากนี้ พิธีสวดภาณยักษ์ในสมัยก่อนจะมีการยิงปืนใหญ่ด้วย เป็นปืนโบราณใส่ดินปืนกระทุ้ง แต่ไม่ใส่ลูกปืน เพียงให้มีเสียงดังตูมตามน่ากลัวมากกว่า เพื่อให้ยักษ์กลัว เรียกว่าต้องทำกันทุกวิถีทางเลย เมื่อไม่มั่นใจว่าแค่สวดด้วยน้ำเสียงกระแทกกระทั้นดุ ดันเกรี้ยวกราด แล้วก็ยังไม่กลัว ก็ตามสำทับด้วยเสียงปืนใหญ่ซ้ำอีก ไม่ใช้ปืนเล็กๆ เช่นปืนสมัยปัจจุบัน
การสวดภาณยักษ์นั้น ที่จริงแล้ว ก็คือ การสวดพระอาฏานาฏิยปริตร โดยพระปริตรนี้ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคภาณพระ และ ภาคภาณยักษ์

โดยตามพระพุทธประวัติกล่าวว่า หลังจากพระมหาบุรุษตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ เจ้าแล้วนั้น ท้าวจตุโลกบาลก็มาเข้าเฝ้า พระพุทธเจ้าก็ตรัสกล่าวถึงพระพุทธวงศ์ คือพระนามพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสรู้มาแล้ว (ภาณพระ) จากนั้นท้าวจตุโลกบาลก็มีดำริว่า บริวารของตนนั้นมีมากมาย ทั้งที่เป็น ยักษ์ กุมภัณฑ์ นาค และคนธรรพ์ ซึ่งมีมากมาย ที่ไม่มีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา กลัวว่าจะมารบกวนพระสงฆ์สาวกที่ไม่มีฤทธิ์ ขณะจาริกและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้ได้ความเดือดร้ อน จึงถวายพระปริตรนามว่า อาฏานาฏิยปริตร แด่พระพุทธเจ้า เพื่อให้พระสงฆ์นำไปสวดกัน (ภาณยักษ์) โดยในพระปริตรดังกล่าวจะกล่าวถึงพระนามของท้าวจตุโลก บาล ทั้งนี้เมื่อบริวารของท้าวจตุโลกบาล เมื่อได้ยินพระนามท้าวเธอก็ย่อมจะเกรงกลัว และเร้นกายไปไม่มารบกวน


ดังนั้นความเชื่อของชาวพุทธ เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายไม่มีในบ้านเมือง ก็จะนิมนต์ให้พระสงฆ์สวดภาณยักษ์ ดังเช่นในสมัยต้นกรุงฯ ได้เกิดโรคห่า ยุคนั้นก็มีการสวดภาณยักษ์กันมากมาย แต่จริงๆแล้ว พระอาฏานาฏิยปริตร นั้น เวลาเรานิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์เย็น พระท่านก็จะสวดอยู่แล้ว เพราะพระปริตรดังกล่าวนั้นได้รวมอยู่ทั้งในจุลราชปริ ตร (สวด ๗ ตำนาน) และมหาราชปริตร (สวด ๑๒ ตำนาน) ด้วยแล้ว
การสวดภาณยักษ์นั้น ถือกันว่าเป็น "พุทธโอสถ" ที่จะช่วยขจัดปัดเป่าอัปมงคลออกไปจากร่างกาย ทำนองเดียวกับการทำบุญสวดบ้านเมื่อมีเรื่องร้าย แต่ต่างกันที่สวดภาณยักษ์ เป็นการชักชวนคนจำนวนมากมาร่วมทำในพิธีคราวเดียวกัน โดยเมื่อเริ่มพิธีกรรม จะมีพระสงฆ์ที่ยกย่องกันว่าเชี่ยวชาญเชิงอาคมและขมัง เวทย์จำนวนสี่รูป นั่งบนอาสนะประจำทิศทั้งสี่ ส่วนอีกสี่รูปรวมกันอยู่ด้านหน้าพิธี ท่องบทสวดและผสมเสียงใส่กัน ฟังคล้ายเสียงประกอบหนังสยองขวัญ ลี้ลับดุดันน่าขนลุก และออกจะน่ากลัวสำหรับคนจิตอ่อน

หลังการสวดดำเนินไปสักพักก็ถึงช่วงสำคัญ พระสงฆ์ที่นั่งประจำทิศทั้งสี่เริ่มประพรมน้ำมนต์ ผู้ร่วมพิธีบางคน (ที่เชื่อว่ามีสิ่งของไม่ดีอยู่ในตัว) จะออกอาการแปลกๆ บางคนร้องไห้โฮ บ้างสั่นเหมือนเจ้าเข้า และผู้หญิงบางคนก็ออกท่าทางร่ายรำ โดยคนเหล่านี้ เหมือนว่าไม่รู้สึกตัว หรือควบคุมตนเองไม่ได้ คนเหล่านี้ก็จะได้รับการช่วยเหลือจากหมู่พระสงฆ์เหล่ านั้นให้คืนสู่สภาพปกติ การที่มีคนเข้าร่วมพิธีกันมากขึ้นนั้นเพราะเชื่อกันว ่า พิธีกรรมเหล่านี้จะสลายสิ่งที่ไม่ดีงามทั้งปวงตามกาล โยค ทุกข์ โศก โรคภัยต่างๆ หรือใคร ถูกคุณไสย ต้องเสน่ห์มนต์ดำ โดนอาถรรพณ์ ฯลฯ ให้มลายสิ้นไป
ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับพิธีนี้ ก็จะมีความคิดเห็นต่างกันไป เช่นนายแพทย์ท่านหนึ่งได้ให้ สัมภาษณ์และวิจารณ์ว่า เสียงสวดที่มีความโหยหวนกระแทกกระทั้นและมีเสียงสูงต ่ำ ยิ่งมีการจุดประทัดด้วย จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้เกิดมีอาการชักได้ง่าย การสวดนี้จะเป็นการ กระตุ้นทางกายและใจ คนที่ใจอ่อนอยู่แล้ว จะชักได้ง่าย ยิ่งคนที่ชัก คิดว่ามีผีอยู่ในตัว ก็จะยิ่งมีแนวโน้มจะชักมากขึ้น ความรุนแรงของการดิ้นหรือชักจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่พนมมือและสั่น ( ไม่ได้รวมไว้กับอาการดิ้นหรือชัก) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาการรุนแรงอื่นๆได้แก่ ลุกขึ้นชัก กระตุกไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งแรงมาก โดยมีการชกต่อยเกิดขึ้น หรือทำร้ายตัวเอง และหกคะเมนตีลังกา ในทรรศนะของจิตเวชแผนปัจจุบัน อธิบายว่า ได้เกิดมีอาการแตกแยกของจิตใจไปชั่วขณะหนึ่ง ลักษณะต่างๆและพฤติกรรมที่มองเห็น เช่น การกระตุก การสั่น การชักดิ้น เช่นนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว พร้อมกับส่งเสียงร้องกรี๊ดอย่างน่ากลัว ทำให้บุคคลที่ใจอ่อนอยู่แล้ว เกิดมีอาการเอาอย่างขึ้น กับกลุ่มชนที่อยู่ร่วมกันในระหว่างพิธี จะเห็นมีข่าวบ่อยครั้งที่นักเรียนทั้งโรงเรียนมีอากา รคล้ายผีเข้าทั้งโรงเรียน เขาก็เรียกว่าเป็นอุปทานหมู่ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ในการเข้าพิธี สวดภาณยักษ์ ถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ซึ่งสิงอยู่ในร่างกายเช่น ถูกของ ผีเข้า ผีสิง ฯลฯ กำลังจะออกจากตัว แต่การชักเพราะจิตประสาทนี้ อาจจะทำให้สุขภาพจิต ดีขึ้น ไม่มีผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด

แต่เนื่องจากมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันการสวดภาณยักษ์หลายแห่ง ได้กลายเป็นพุทธพาณิชย์เชิงธุรกิจไปแล้ว โดยมีนายหน้ามาขอเช่าสถานที่ของวัด จัดพิธีสวดฯ กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีหน้าม้า ค้าวัตถุมงคล ผ้ายันต์ สารพัด ซึ่งเป็นธุรกิจที่หากินกับความศรัทธาของชาวพุทธ ที่ยังไม่เข้าใจถึงพระธรรมคำสอน ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง การเข้าร่วมพิธี จึงต้องดูให้ดีด้วย ว่าผู้จัดเป็นใคร เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน


ที่สำคัญคือ เมื่อสวดประจำย่อมสามารถขับไล่ "ยักษ์ภายใน"
คือโลภ โกรธ หลง ออกจากใจได้แน่นอน

อาจจะยาวไปหน่อยนนะครับ ข้อมูลได้มาหลายที่ครับ ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ ชลาพุชะ

  • เราอาจไม่รู้มากนัก แต่เรารู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร
  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 1526
  • เพศ: ชาย
  • ที่นี่คือเว็บวัดบางพระ เราก็ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 03:44:26 »
แน่นมากๆหามาได้เยี่ยมเลยครับ หากลง ที่มาของข้อมูล นี่จะไร้ที่ติเลยครับ ขอบคุณนะครับที่นำข้อมูลดีๆมาให้อ่านกัน

ออฟไลน์ เอก นนทบุรี

  • ทุกสิ่งอย่างเพื่อชาติเเละราชบัลลังค์
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 263
  • เพศ: ชาย
  • LONG LIVE THE KING
    • MSN Messenger - aek.anuwat_@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 05:08:03 »
ดีจังครับได้ความรู้อีกเเล้ว
อมมะปลุกลุกลุกมิมิ อมมะปลุกลุกลุกมิมิ อมมะปลุกลุกลุกมิมิ นะในปิด โมร่วมมิตร พุธปิดเบื้องบน ทาปิดซ้ายขวา ยะอุดเป็นมะหาอุด อุดด้วยนะโมพุทธายะ นะอุดโมอัด ยะปัด โมปิด พระเจ้าแผลงฤทธิ์ปิดทวารทั้งเก้า ปิดทั้งข้างนอก ปิดทั้งข้างใน ปิดทั้งไม้

ออฟไลน์ ۞เณรน้อยเส้าหลิน۞

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1560
  • เพศ: ชาย
  • ไม่สู้ ไม่หนี ทําดีเรื่อยไป
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 04 เม.ย. 2552, 08:19:29 »
บทนี้บรรดายักษ์บก  ยักษ์น้ำ   ยักษ์อากาศที่ได้ยินต่างก็พากันกลัว ไม่กล้าอยู่ใกล้ครับ 
ครูผู้บริสุทธิ์ ครูผู้หมดกิเลสเครื่องเศร้าหมอง
ครูผู้มี"พระปัญญาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ" อย่างประมาณมิได้
บรมครูผู้นั้นคือ "สมเด็จพระพุทธเจ้า"
ขอนอบน้อมกราบกรานพระบรมศาสดา

ออฟไลน์ เด็กด้อยความรู้

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 42
  • เพศ: ชาย
  • อดอย่างเสือ ดีกว่าอิ่มอย่างหมา
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 27 เม.ย. 2552, 10:46:10 »
ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่นำมาเสนอครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 เม.ย. 2552, 10:46:56 โดย เด็กด้อยความรู้ »
ใหญ่มาจากไหน ก็เล็กกว่าโลง

ออฟไลน์ N!c

  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 582
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 27 เม.ย. 2552, 10:50:43 »
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ

ออฟไลน์ เด็กด้อยความรู้

  • ตติยะ
  • ***
  • กระทู้: 42
  • เพศ: ชาย
  • อดอย่างเสือ ดีกว่าอิ่มอย่างหมา
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 27 เม.ย. 2552, 11:00:05 »
รบกวนขอเป็นเสียงบทสวดด้วยจะได้ไหมครับท่าน



ขอบคุณล่วงหน้าครับผม



ออฟไลน์ porpar

  • ......... ขอคุณพระคุ้มครอง ........
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1274
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 28 เม.ย. 2552, 12:19:40 »
ไร้ที่ติเลยนะครับท่าน...........  :015:

ออฟไลน์ ~เสน่ห์ack01~

  • ผู้คุมกฎ
  • *****
  • กระทู้: 5330
  • เพศ: ชาย
  • " ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมารัก"
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 28 เม.ย. 2552, 12:32:18 »
ละเอียดมากเลยครับท่าน :016:

ทำบุญ วันคล้ายวันเกิด หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
วันอาทิตย์ ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ 

ออฟไลน์ tuytan

  • ปัญจมะ
  • *****
  • กระทู้: 159
  • เพศ: ชาย
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 28 เม.ย. 2552, 06:42:31 »
ขอบคุณมากๆเลยครับท่านสุดยอดเลยครับ :054: :054:

ออฟไลน์ ณ.อยุธยา

  • "รักแม่มากครับ"
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 1374
  • เพศ: ชาย
  • "ชาติหน้า-ไม่ขอ-มาเกิด"
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 03:39:16 »
ขอบคุนสำหรับข้อมูลดีดี ครับผม

ออฟไลน์ umpawan

  • ก้นบาตร
  • *****
  • กระทู้: 3112
  • เพศ: ชาย
  • ศิษย์วัดบางพระ
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 03:49:42 »
เคยไปร่วมพิธีแค่ 1 ครั้งเองครับ


สวดได้น่ากลัวมากเลย

และเป่ายันต์เกาะเพชร



 :089:



ออฟไลน์ นายเกษตร

  • ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง
  • สัตตมะ
  • **
  • กระทู้: 210
  • เพศ: ชาย
  • สุดสายทางแห่งสัตวบาล
    • MSN Messenger - naikaset119@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 05:25:30 »
 :016: ไม่เคยทราบมาก่อน ขอบคุณมากครับ :015:
อาจารย์ ดร.ณรกมล เลาห์รอดพันธ์

ออฟไลน์ motana2008

  • จตุตถะ
  • ****
  • กระทู้: 70
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 06:43:42 »
เคยไปร่วมงานมาโดนไม่ได้ตั้งใจ
ไม่เคยสัก แต่ของขึ้นครับ คุมไม่อยู่

ออฟไลน์ ทีครับผม

  • ฉัฏฐะ
  • *
  • กระทู้: 431
  • เพศ: ชาย
  • จะเป็นลูกศิษย์ที่ดีตลอดไป
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 06:49:03 »
เนื้อหาแน่นจริงๆเลยครับเก่งจังเลยครับที่หามาได้ :015:

ออฟไลน์ อชิตะ

  • อัฏฐมะ
  • ***
  • กระทู้: 3218
  • เพศ: ชาย
    • MSN Messenger - aston_25@hotmail.com
    • ดูรายละเอียด
ตอบ: สวดภานยักษ์ + ประวัติ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 21 มิ.ย. 2552, 07:23:23 »
บทของพระปริตร เข้มขลังดีครับ นมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตมากมาย  ย่นย่อได้ ๒๘ พระองค์ นิยมสาธยายเวลทำบุญบ้าน

ด้วพุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าทีสาธยายในบทนี้ ทำให้สิ่งชั่วร้าย ยักษ์ ปิศาจ มิอาจทนอยู่ได้ ต้องหนีพ่ายไป 

ถ้าถอดแต่หัวข้อหรือพระนามของพระพุทธเจ้า นิยมเรียกว่า คาถาพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์

ตัง เม สะ ที โก 

มัง สุ เร โส อะ

ปะ นา ปะ สุ สุ ปิ

อะ ธะ สิ ติ ปุ วิ

สิ เว กุ โก กะ โค นะมามิหังฯ

ใช้ภาวนาปลุกเสกพระเครื่องและเครื่องรางให้อานุภาพปรากฏ 

ภาวนาทุกค่ำคืนกันศาตราวุธจากผู้คิดร้าย (ทำมีดบาดมือตัวเองไม่เกี่ยวนะครับ)  :095: :095:

เหมาะสำหรับผู้ที่นิยมสวดบทสั้นๆ ครับผม 

อนุโมทนาบุญด้วยครับ   :054: :054: