อานุภาพอันอัศจรรย์ของคาถาพาหุง (พุทธชัยมงคลคาถา)
พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุงแปดบท)
พระ คาถาพาหุง แปดบทนี้ แม้ว่าผู้ใดได้สวดประจำสม่ำเสมอทุกวันแล้ว จะเกิดศิริมงคล และแคล้วคลาด ทั้งปวง เป็นสิ่งที่เป็นมงคลแห่งชีวิต และมีอานุภาพแยกกันไปทั้งแปดบท แต่ละบทนั้นได้ได้แตกต่างกันออกไป ดังจะสาธยาย ดังนี้>>
(๑) พาหุงสะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลังอุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินาชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ มาร ด้วยทานบารมี พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ใต้ต้นโพธิ์พระยาวัสสวดีมาราธิราช ได้ขี่ช้างคิรีเมขลังยกทัพมารที่ดุร้ายมุ่งผจญข่มขู่พระโพธิสัตว์ แต่ด้วยบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทำให้พระแม่ธรณีปรากฏกายขึ้นบิดมวยผม เกิดน้ำท่วมใหญ่พัดพากองทัพมารแตกพ่ายไป
การสวดพระคาถา พาหุงบทที่ ๑ นี้ ใช้สำหรับข่มศัตรูที่เหนือกว่าด้วยกำลังและบารมี คอยแต่กดขี่ข่มเหงเราด้วยความไม่เป็นธรรม หากเป็นเช่นนี้ ให้สวดบูชาพระทุกวัน ๆ ละ ๓ จบ แล้วแผ่เมตตาไปยังผู้ที่กดขี่ข่มเหงเรา บุคคลผู้นั้นจะพินาศไปในทันที แต่มีข้อแม้ว่า เราผู้ถูกข่มเหงจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์และไม่เป็นฝ่ายผิดที่คิดร้ายต่อเขา ก่อน หากจำเป็นจริง ๆ จึงทำ เพราะด้วยบารมีแห่งสัจจะกิริยา และพรพาหุงบทที่ ๑ จะทำให้ผู้ที่คิดร้ายมีอันเป็นไปต่าง ๆ นานา
(๒)มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินาชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ ยักษ์ ด้วยขันติธรรมพระพุทธเจ้าเสด็จไปปราบอาฬวกยักษ์ซึ่งสำแดงฤทธิ์ ถีบยอดเขาไกรลาศ แล้วร้องเรียกยักษ์บริวารมาล้อมวิมาน ยิงศาสตราวุธ๗ ประการใส่พระพุทธเจ้า อาวุธนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธองค์อาฬะวะกะยักษ์แพ้ฤทธิ์แล้ว พระองค์จึงเทศนาโปรด จนยักษ์ถึงแก่พระโสดา
การได้สวดภาวนาพระ คาถาพาหุงบทที่ ๒ ก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภูตผีปีศาจร้ายไม่ให้กล้ำกรายเขตบ้านเรือน แม้แต่ยักษ์มารทั้งหลายก็เกรงบารมี จะเดินทางเข้าป่าเข้าพง นอนในที่กันดาร แปลกที่แปลกถิ่น ให้ภาวนาก่อนนอน ๓ จบ จะป้องกันภัยได้อย่างแท้จริง อวมงคล อันเกิดจากปีศาจหลอนจะไม่มี กินน้ำกินท่า กินอาหารแปลกถิ่น กลัวจะท้องเสีย เสกอาหาร เสกน้ำนั้นด้วยการสวดคาถาพาหุงบทที่ ๒ จะป้องกันโรค ป้องกันท้องเสียและคุณไสยได้เป็นอย่างดี หากผีเข้าคน ให้เสกเจ็ดคาบ เป่าลงไปในน้ำ เอาหญ้าคา ต้นตะไคร้ ต้นข่า ใส่ลงไปในน้ำ รดแล้วฟาดด้วยหญ้าคา หรือต้นตะไคร้ ต้นข่าก็ได้ ผีหนีไปไกลแล
(๓) นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะสุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเตชะยะมังคะลานิ
ปราบ ช้าง ด้วยเมตตาธรรมพระพุทธองค์ทรงทรมานช้างนาฬาคีรีครั้งนั้นพระเทวทัตคิดฆ่าพระ พุทธเจ้า จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรูขอให้เอาเหล้ากรอกช้างนาฬาคีรี แล้วปล่อยไปตามถนน ที่พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตพระพุทธเจ้าทรงทรมานช้างนาฬาคีรีให้หายเมา เหล้า แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
คาถาพาหุงบทที่ ๓ มีอุปเท่ห์การใช้ดังนี้ (๑) สวดภาวนาก่อนจะเดินทางออกจากบ้าน ๓ จบ เป็นการป้องกันเขี้ยวงาจากสัตว์ร้ายทั้งปวงไม่ให้มากล้ำกรายได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์บก สัตว์น้ำและงูพิษต่าง ๆ เข้าป่าภาวนาก่อนเข้าจะปลอดภัย จะลุยข้ามน้ำ ข้ามห้วยหนองคลองบึง ภาวนา ๓ จบ วักน้ำสาดไปข้างหน้า จะป้องกันพรายน้ำและจระเข้ (๒) จะทำให้สัตว์เชื่อง เสกข้าว เสกน้ำให้สัตว์กิน ทำติดต่อกัน ๗ วัน ก็จะเชื่อง จะฝึกสัตว์ให้คล่อง ภาวนาก่อนฝึก ๓ จบ จะฝึกสัตว์ให้ง่ายขึ้น หากสัตว์ร้ายวิ่งเข้ามาจะกัด จวนตัวหนีไม่ทัน ให้ตั้งมั่นรำลึกถึงพระบารมีพระพุทธองค์ และภาวนาคาถาพาหุงบทที่ ๓ มันอ้าปากไม่ขึ้นแล (๓) สัตว์เป็นโรคระบาดให้บูชาพระด้วยดอกไม้ธูปเทียน เอาน้ำใส่ขั้น เสกน้ำให้เป็นน้ำมนต์ด้วยพระคาถาพาหุงบทที่ ๓ สามจบ เอาไปให้สัตว์กิน เอาไปประพรมคอก จะบรรเทาโรคระบาดได้ดี (๔) สัตว์เลี้ยงชอบกัดกันเป็นประจำ เบียดเบียนกัน เสกน้ำด้วยคาถาพาหุงบทที่ ๓ ให้เป็นน้ำมนต์ ๓ จบ ให้แต่ละตัวแบ่งกันกิน สัตว์จะไม่กัดกันอีกต่อไป
(๔)อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถัง คุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโนชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ มหาโจร ด้วยอิทธิฤทธิ์ พระพุทธเจ้าทรงโปรดองคุลิมาลเมื่อพระพุทธองค์กลับจากบิณฑบาตในกรุงสาวัตถีพบ องคุลิมาลองคุลิมาลเห็นเข้าจึงจับอาวุธไล่ตามพระพุทธองค์ แต่ไล่ตามไม่ทันพระพุทธองค์ตรัสให้ องคุลิมาลได้คิด ?เราหยุดแล้ว แต่ท่านสิไม่หยุด? องคุลิมาลเลื่อมใส ขอบวช และตามเสด็จกลับไปกรุงสาวัตถี พักอยู่ ณ เชตวนาราม
อุปเท่ห์การใช้คาถาพาหุงบทที่ ๔ (๑) ภาวนา ๓ จบ ก่อนออกจากบ้าน แล้วอธิษฐานให้แคล้วคลาดจากศัตรูหมู่พาล สันดานหยาบ และหมู่พวกโจรทั้งหลาย จะแคล้วคลาดจากโจรร้าย และภัยจากการประทุษร้ายจนกลับถึงบ้าน (๒) ภาวนาทำน้ำมนต์คนไข้ที่ถูกผีตายโหงสิงก็ดีนัก แต่เมื่อจะทำน้ำมนต์มาใช้ ให้รำลึกถึงองคุลีมาลจอมโจรผู้เข่นฆ่าแล้วกลับมาเป็นสงฆ์ ขอให้ทำลายภูตผีปีศาจให้กระจายไป รดไปเถิด รดจากหัวถึงเท้าผีเข้าก็ออกแล (๓) ก่อนนอนสวดระลึกถึง ๓ จบ ตั้งใจให้เป็นกำแพงคุ้มครองบ้านเรือน เมื่อโจรเข้าบ้านจะตื่นก่อนแล
(๕) กัตวานะกัฎฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะโสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ หญิงแพศยา ด้วยสันติธรรมพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เชตุพนใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามากพวกเศรษฐีให้นางจิญจมาณวิกา ทำอุบาย เข้าออกในพระเชตุพนเนืองๆแล้วเอาท่อนไม้ผูกท้องเข้าในผ้านุ่ง ไปยืนแสดงตนขณะพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาร้องตู่ว่าพระองค์ทำให้นางมี ครรภ์ พระอินทร์และเทพยดา ๔ องค์นิมิตลงมาเป็นหนูกัดเชือกผูกท่อนไม้ขาดแล้วแผ่นดินก็สูบนางจิญจมาณวิกา ลงไปในนรก
คาถาบทนี้ มีอุปเท่ห์ในการใช้ดังนี้ ใช้ขับลูกที่ตายในท้อง หรือ คลอดยาก ให้ท่องคาถาบทที่ ๔ พอมาถึงท่อนที่ว่า ?อิวะคัพภินียาจิญจายะ? ให้เปลี่ยนคำว่า ?คัพ? เป็น ?ขับ? อันหมายถึงการขับ ทำน้ำมนต์สวด ๓ จบแล้ว เป่าลมปราณลงไป เอาไปให้คนไข้กิน เหลือเอาลูบหัว จะเกิดลมเบ่งช่วยให้คลอดลูกได้ ใช้แทนคาถา ?ยะโตหัง? อันเป็นคาถาองคุลีมาลได้เป็นอย่างดี
(๖) สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนังอะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ เจ้าลัทธิ ด้วยปัญญาพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในมหาวันใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นมีสัจกนิครนถ์บุตร อาศัยในเมืองเวสาลี ถือมิจฉาทิฐิตั้งตนเป็นปราชญ์ มีความรู้มาก ต้องทำแผ่นเหล็กรัดท้อง เพราะกลัววิชาจะทำลายท้องแตกวันหนึ่งพบพระอัสชิ จึงถามปัญหาแก่ท่าน ต่อมาได้ชวนพญาลิจฉวีทั้ง ๕๐๐ ไปป่ามหาวันถามปัญหาแก่พระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระอินทร์นิมิตเป็นยักษ์ถือฆ้อน ลอยอยู่บนอากาศเหนือศีรษะของสัจกนิครนถ์ สัจกนิครนถ์นั้นได้ฟังพระธรรมเทศนา จากพระพุทธเจ้าก็ละมิจฉาทิฐิ แล้วตั้งตนอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
โบราณจารย์ ได้บอกอุปเท่ห์การใช้พระคาถาพาหุงบทที่ ๖ นี้ ไว้ดังต่อไปนี้คือ แก้การใส่ไคล้โดยไม่เป็นจริง เฉพาะผู้ที่กล่าวใส่ร้ายเป็นชาย กรรมวิธีเป็นแบบเดียวกับคาถาพาหุงบทที่ ๕ ?นางจิญจามาณวิกา? ทุกประการ ใช้ในการเอาชนะทางด้านการพูด การละเล่น เมื่อจะไปโต้วาทีหรือแสดงการละเล่นประชัน ตลอดจนการแข่งขันที่ต้องใช้โวหารทั้งปวง ให้สวดคาถาพาหุงลำดับที่ ๖ สามจบ ก่อนจะออกไปกระทำการดังกล่าว ระลึกเอาพระบารมีที่ชนะสัจจะกะนิครนถ์เป็นที่ตั้ง เสกน้ำหนึ่งแก้วเป็นน้ำมนต์กินก็ยิ่งดีใหญ่ เมื่อไปถึงสถานที่ที่จะต่อสู้แล้ว ให้ภาวนาคาถานี้ ๑ จบ จะเต้น จะรำ จะโต้วาที ก็ทำเถิดจะเกิดชัยชนะทุกเมื่อแล
คาถาบทที่ ๖ นี้ ใช้ปิดปากคนนินทาว่าร้ายเราได้อีกด้วย กล่าวคือ ท่านให้เอากระป๋องหรือกล่องโลหะที่มีฝาปิดมิดชิดมาหนึ่งใบ เขียนชื่อ นามสกุล คนที่ใส่ร้ายหรือนินทาว่าร้ายเรา โดยปราศจากความจริงด้วยความเท็จทั้งปวง ให้รำลึกถึงพระบารมีที่ทรงชนะต่อนางจิญจามาณวิกา และสัจจะกะนิครนถ์ เสกด้วยคาถาทั้งสองบทคือ บทที่ ๕ และบทที่ ๖ บทละ ๓ จบ เป่าลงไปที่ชื่อ นามสกุล แล้วแผ่เมตตาซ้ำลงไป อย่าไปผูกพยาบาทจองเวรเขา อธิษฐานให้คนผู้นั้นสงบปาก จากนั้นก็ม้วนกระดาษชื่อลงไปในกระป๋องหรือกล่องผนึกปากให้แน่นหนา เอาบูชาไว้ที่หิ้งพระสัก ๓ วัน แล้วเปิดกระป๋องขึ้นทีหนึ่ง หากยังไม่สงบปากให้ปิดต่อไปจนครบเจ็ดวัน ก็เปิดอีกทีหนึ่ง เขาจะสงบเงียบไปทันที หากยังขืนปากมากเป็นฝีที่ปากหรือที่ลิ้น จะแพ้ภัยไปเอง ห้ามทำเกินเจ็ดวันจะเข้าตัวแล
(๗) นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เตชะยะมังคะลานิ
ปราบ พญานาคจอมพาลด้วยฤทธิ์สู้ฤทธิ์ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เหาะไปสู่ เทวโลกพญานัน-โทปนันทนาคเห็นเข้า ก็โกรธว่าพระสมณะเหาะข้ามศีรษะจึงบันดาลขดกายใหญ่พันเขาพระสุเมรุ แผ่พังพานยังดาวดึงส์พระพุทธองค์ส่งพระโมคคัลานะไปปราบ ต่างสำแดงฤทธิ์เดชต่างๆ เป็นโกลาหลภายหลังพญานาคแพ้ฤทธิ์ แล้วตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมณ์
อุปเท่ห์การใช้มีดังนี้ ป้องกันอสรพิษและแมลงป่องทั้งหลาย เมื่อจะต้องไปทำไร่ทำนาดายสวน ดายไร่ บุกป่าดงที่มีอันตรายจากอสรพิษ และแมลงมีพิษต่าง ๆ ให้ตั้งนะโม ๓ จบ สวดพระคาถาพาหุงบทที่ ๗ สามจบ รำลึกถึงบารมีที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงมีชัยแก่นันโทปนันทะนาคราช ขอให้มาป้องกันตนเองด้วย จากนั้นก็เป่าลมพรวดไปที่ฝ่ามือทั้งสองแล้วเอาลูบไล้ที่แขนขาและบริเวณที่ ต้องสัมผัสกับความรกและบริเวณร่างกายที่น่าจะถูกกัดต่อยจากอสรพิษ แล้วยาตราไปเถิด จะแคล้วคลาดจากการขบกัดต่อยของสัตว์ร้าย แม้ไปเหยียบมัน มันก็อ้าปากไม่ขึ้นแล
(๘) ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมังวิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสาภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ
ปราบ พกาพรหม ด้วยญาณพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นสู่พรหมโลกท้าวพกาพรหมเห็นพระพุทธองค์เสด็จมา จึงเรียกร้องด้วยคำกระด้าง แล้วกำบังกายแต่ก็มิสามารถกำบังกายได้ หมู่พรหมทั้งหลายก็หัวเราะเยาะเย้ยท้าวผกาพรหมได้รับความอับอายยิ่งนัก แล้วพระพุทธเจ้าจึงเทศนาธรรมทรมานท้าวพกาพรหมและพรหม ๑,๐๐๐ ให้สำเร็จมรรคผล
อุปเท่ห์ การใช้คาถาบทที่ ๘ มีดังนี้ คือใช้ ปราบพยศคนดื้อดึง ให้ทำน้ำมนต์ เสกด้วยคาถาบทนี้ ๓ จบ แล้วเอาไปให้กิน คนที่ดื้อดึงถือดีจะลดพยศลง เด็กดื้อให้กินน้ำมนต์ก็จะหายดื้อ จะไปเจรจาปรับความเข้าใจกับคนที่เคยโกรธเคืองมีทิฐิร้าย ก็เสกน้ำมนต์ ๓ จบกินก่อนไปเจรจาและก่อนเจรจาก็ให้ท่องคาถาพาหุงบทที่ ๘ อีกหนึ่งจบ แล้วไปเจรจาเถิดดีนักแล>>
(๙) เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเนสะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะนะโร สะปัญโญ
คำ แปลบทที่ ๙คนมีปัญญาสวดพุทธชัยมงคล คาถาทั้ง ๘ นี้เป็นประจำ โดยไม่เกียจคร้านพึงขจัดอุปัทวันตรายทั้งหลายได้ บรรลุถึงซึ่ง พระนิพพานอันเป็นสุข?