ประวัติหลวงพ่อพระทองหรือพระผุด วัดพระทอง จังหวัดภูเก็ต
ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากเด็กเอาเชือกกระบือไปผูกกับ เกศของพระพุทธรูป จึงรู้ว่า พระผุด อยู่ตรงนี้
1. กวางทั้ง 2 ตัว ทางวัดเคยเลี้ยงไว้ชื่อ ลิเปียด กวางตายเก็บเขาไว้ เลยปั้นเป็นอนุสรณ์
2. วัวทางวัดเคยเลี้ยงไว้ชื่อ อ้ายมอ ตายเก็บไว้เลยปั้นไว้ให้คนดู
3. หมีทั้ง 2 ตัว ทางวัดเคยเลี้ยง มีคนมาถวาย หมีตายเลยปั้นไว้ให้คนดู
4. ช้างเชือกนี้ เป็นช้างของเจ้าเมือง ชื่อ พลายชุมพล ช้างตกมันมาลงงาที่วัดเลยตาย ทางวัดเก็บกระดูกไว้ปั้นให้คนดู
5. ปืนใหญ่ ทั้ง 5 กระบอกนี้ เป็นปืนสมัยศึกเมืองถลางรบกับพม่า
ประวัติหลวงพ่อพระทองหรือพระผุด
วัดพระผุด วัดนาใน หรือวัดพระทอง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
นิทาน
เด็กจูงควายไปกินหญ้ากลางทุ่งนา เอาเชือกผูกล่ามไว้กับพระเกตุมาลาคิดว่าเป็นไม้ กลับถึงบ้าน เด็กตาย ควายก็ตาย พ่อของเด็กฝันถึงเหตุที่เด็กและควายตาย เพราะลูกชายเอาเชือกล่ามควายไปผูกกับพระเกตุมาลา รุ่งขึ้นไปดูจึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูป
วิเคราะห์นิทาน
บริเวณนี้เป็นทุ่งกว้างอยู่ใกล้ลำคลองใหญ่ มีช่วงใดช่วงหนึ่ง ฝนต้องตกหนัก ลำคลองก็เปลี่ยนสาย ทรายทับถมพระพุทธรูปเหลือเพียงพระเกตุมาลา กาลล่วงนานไป ผู้คนก็มาอาศัยอยู่บริเวณนี้จึงเกิดนิทานดังกล่าว
ความเชื่อ
พี่น้องชาวจีนเชื่อว่าเป็นพระผุดมาจากเมืองจีนเรียกว่าพู่ฮุก เล่าว่าธิเบตไปรุกรานจีน ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของจีนมีพระพุทธรูปทองคำ ชื่อ กิ้มมิ่นจ้อ ชาวธิเบตนำลงเรือ ถูกมรสุมพัดมาเกยตื้น พระพุทธรูปจมลง จนมีผู้คนมาพบเห็น สอดคล้องดังนิทาน
นิทานอิงประวัติศาสตร์
พม่ายกทัพมาตีเมืองถลาง เมื่อปี พ.ศ. 2352 ได้พยายามขุดเอาพระผุด ขุดลงไปเจอมดคันพิษ ตัวต่อแตนขบกัด เอาไฟเผาดินร้อนขุดไม่ได้ พอดีทหารไทยยกทัพมาช่วย พม่าจึงหนีไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จวัดพระทอง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2502 ทรงลงพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. บนแผ่นหินไว้เป็นพระอนุสรณ์ ก่อนหน้านี้ ช่วงรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2452 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชหรือรัชกาลที่ 6 ได้เสด็จนมัสการพระผุด ทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดพระทอง
วัดพระทอง
วัดพระทอง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดพระผุดหรือวัดพระหล่อ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทองคำครึ่งพระองค์ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก โดยมีตำนานเล่าว่า เดิมบริเวณวัดเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ในเช้าวันหนึ่งมีเด็กชายได้นำควายไปเลี้ยงที่ทุ่งนา หาที่ผูกเชือกควายไม่ได้ก็เลยนำไปผูกกับหลักที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน หลังจากกลับมาถึงบ้าน เด็กก็มีอาการเจ็บป่วยและตายลงในที่สุด และเมื่อไปดูควายที่ทุ่งนาก็เห็นควายนอนตายอยู่ ตอนกลางคืน พ่อของเด็กชายฝันเห็นถึงสาเหตุที่เด็กตาย เพราะได้นำเชือกไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป จึงชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันขุดขึ้นมาบูชา แต่เกิดมหัศจรรย์ มีตัวต่อแตนขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมาก อาละวาดไล่ต่อยผู้ที่มาขุด และไม่ทำร้ายคนที่ไม่ขุด เจ้าเมืองทราบเรื่องจึงให้สร้างหลังคาบังพระเกตุมาลาทองคำเอาไว้ หลายปีต่อมา มีชีปะขาวรูปหนึ่งมาพักที่เมืองถลาง ท่านกลัวจะมีคนตัดพระเกตุไปขาย จึงร่วมกับชาวบ้านช่วยกันเก็บเปลือกหอยมาเผาไฟทำปูนขาวปนกับทรายโบกปิดทับพระพุทธรูปเอาไว้
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พม่าได้เข้ามาตีภาคใต้ของไทยและยึดเมืองถลางได้ ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับพม่าแต่ไม่สำเร็จ เกิดสิ่งมหัศจรรย์มีมดคันตัวเล็กๆ ขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมาก ทหารพม่าที่ถูกกัดก็เป็นไข้และล้มตายไปหลายร้อยคน พม่าที่เหลือจึงเอาไฟมาเผามด และได้พยายามขุดไปจนถึงพระศอ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชก็ยกทัพมาตีเมืองคืนจากพม่าได้ หลังจากนั้น หลวงพ่อสิงห์เดินทางมาจากเมืองสุโขทัยมาปักกรดที่เมืองถลาง ได้ชักชวนชาวบ้านสร้างกุฏิวิหารและอุโบสถ หลวงพ่อพระผุดเป็นพระประธานในอุโบสถ แต่ได้ก่อสวมหลวงพ่อพระผุดเฉพาะหน้าเท่านั้นให้สูงกว่าเดิม เพื่อสะดวกแก่กิจกรรมสงฆ์
ที่มา วัดพระทอง